วัด : พื้นที่แห่งการเรียนรู้สุขภาวะของผู้สูงอายุไทย กรณีศึกษา วัดแห่งหนึ่งในภาคอีสาน
Issued Date
2559
Copyright Date
2559
Resource Type
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
ก-ซ, 120 แผ่น : ภาพประกอบ
Access Rights
open access
Rights
ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
Rights Holder(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (วัฒนธรรมและการพัฒนา))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2559
Suggested Citation
ณัฐรัตน์ คูสกุลรัตน์ วัด : พื้นที่แห่งการเรียนรู้สุขภาวะของผู้สูงอายุไทย กรณีศึกษา วัดแห่งหนึ่งในภาคอีสาน. วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (วัฒนธรรมและการพัฒนา))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2559. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/92796
Title
วัด : พื้นที่แห่งการเรียนรู้สุขภาวะของผู้สูงอายุไทย กรณีศึกษา วัดแห่งหนึ่งในภาคอีสาน
Alternative Title(s)
The Buddhist temple : the well-being learning space for the Thai elderly. a case study of a temple in the Northeastern Thailand
Author(s)
Advisor(s)
Abstract
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวัดในฐานะที่เป็นพื้นที่เรียนรู้ด้าน สุขภาวะในวิถีชีวิตของผู้สูงอายุในชุมชนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวมทั้งความเชื่อมโยงระหว่างความรู้ด้านสุขภาวะที่มาจากการทำกิจกรรมที่วัดของผู้สูงอายุ ผู้ให้ข้อมูลหลักได้แก่ คือ ผู้สูงอายุที่มาร่วมกิจกรรมที่จัดขึ้นที่วัดและพระภิกษุภายในวัด เก็บข้อมูลช่วงเดือนกันยายน-พฤศจิกายน 2557 โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก และการสังเกตแบบมีส่วนร่วม ผลการศึกษาพบว่า วัดเป็นพื้นที่ทางสังคมที่เปิ ดโอกาสให้ผู้สูงอายุในชุมชนได้มาพบปะและ ปฏิสัมพันธ์กันผ่านการร่วมกิจกรรมทางศาสนาที่วัด นำมาสู่การแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารอันเป็นช่องทางไปสู่การรับรู้ข้อมูลข่าวสารของผู้สูงอายุ เป็นการชดเชยการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของผู้สูงอายุ ข่าวสารด้านสุขภาพเป็นข่าวสารที่ผู้สูงอายุสนใจมากที่สุด เนื่องจากผู้สูงอายุที่มาวัดส่วนใหญ่มีปัญหาสุขภาพ การมาทำกิจกรรมร่วมกันที่วัดทำให้ผู้สูงอายุได้พบปะกับผู้ที่มีประสบการณ์ด้านสุขภาพ นำมาสู่การเรียนรู้ในด้านการส่งเสริมสุขภาพนับตั้งแต่การสังเกตความผิดปกติของร่างกายไปจนถึงการวินิจฉัยและแนะนำวิธีการรักษาหรือการป้ องกัน ซึ่งมี อิทธิพลต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุและการเข้าสู่กระบวนการรักษาต่อไป ข้อมูลสุขภาพที่มาจากการแลกเปลี่ยนที่วัดแสดงให้เห็นถึงมุมมองทางด้านสุขภาพของผู้สูงอายุที่มีความซับซ้อนเกินกว่าจะอธิบายด้วยมุมมองทางการแพทย์แผนปัจจุบัน การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเรื่องดังกล่าวผ่านการปฏิสัมพันธ์พูดคุยในเรื่องราวที่มาจากประสบการณ์จริง บนพื้นฐานทางสังคมวัฒนธรรมเดียวกันไม่ว่าจะเป็นภาษา คล้ายคลึงกัน เป็นการสื่อสารด้วยภาษาท้องถิ่น ซึ่งสื่อสารใกล้ชิดระหว่างคนที่อยู่ในระดับเดียวกัน ความสัมพันธ์ที่มีความคุ้นเคย ระหว่างคนในชุมชนเดียวกัน เป็นการสื่อสารที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุบทบาทของวัดนอกเหนือจากการเป็นพื้นที่ทางศาสนาแล้วยังเป็นพื้นที่ทางสังคมที่ผู้สูงอายุเข้ามาเรียนรู้ด้านสุขภาวะ วัดในแต่ละท้องถิ่นจึงถือว่าเป็นทุนทางสังคมที่สามารถเข้ามามีบทบาทในการส่งเสริมสุขภาวะของผู้สูงอายุ สอดคล้องกับสถานการณ์ของประเทศไทยที่เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุแล้ว จึงควรสนับสนุนให้วัดเป็นพื้นที่ส่งเสริมสุขภาพประจำชุมชนและบูรณาการกิจกรรมทางศาสนาเข้ากับกิจกรรมการส่งเสริมสุขภาพ
This was a qualitative research whose objective was to study the Buddhist temple as an area for learning on well-being of the Thai elderly and the association between knowledge of well-being and the elderly activities. Data was mined from the elderly people who attended activities at the temple and from the monks between September and November 2014 by in-depth interview and participatory observation. The findings revealed that the temple was the central area that allowed the elderly people to interact through religious activities which led to information and knowledge sharing. The activities provided health information which the participants were most interested in and since most of them were in poor health conditions, participating together at the temple gave them opportunities to meet people who had experience about health. This helped them learn about health promotion: starting with observation of unusual condition, diagnosing, protecting and healing. Data manifested that the elderly's perspective of health was too intricate to interpret from a perspective of modern medicine. Thus according to the information and knowledge sharing through interlocution experience based on the similarity of society and culture, the temple was the appropriate place for the elderly to interact and learn. The Buddhist temple's role was not only serving as a religious space but also as a social area where the elderly could learn about health care. As a result each local Buddhist temple should be a social network that promotes the elderly's well-being because it supported and integrated religious activities with health, this was consistent with the fact that Thai population is growing older and into an elderly society.
This was a qualitative research whose objective was to study the Buddhist temple as an area for learning on well-being of the Thai elderly and the association between knowledge of well-being and the elderly activities. Data was mined from the elderly people who attended activities at the temple and from the monks between September and November 2014 by in-depth interview and participatory observation. The findings revealed that the temple was the central area that allowed the elderly people to interact through religious activities which led to information and knowledge sharing. The activities provided health information which the participants were most interested in and since most of them were in poor health conditions, participating together at the temple gave them opportunities to meet people who had experience about health. This helped them learn about health promotion: starting with observation of unusual condition, diagnosing, protecting and healing. Data manifested that the elderly's perspective of health was too intricate to interpret from a perspective of modern medicine. Thus according to the information and knowledge sharing through interlocution experience based on the similarity of society and culture, the temple was the appropriate place for the elderly to interact and learn. The Buddhist temple's role was not only serving as a religious space but also as a social area where the elderly could learn about health care. As a result each local Buddhist temple should be a social network that promotes the elderly's well-being because it supported and integrated religious activities with health, this was consistent with the fact that Thai population is growing older and into an elderly society.
Description
วัฒนธรรมและการพัฒนา (มหาวิทยาลัยมหิดล 2559)
Degree Name
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Department
สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย
Degree Discipline
วัฒนธรรมและการพัฒนา
Degree Grantor(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล