การมีส่วนร่วมในการปฏิบัติตามนโยบายการจัดการมูลฝอยติดเชื้อของโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข พื้นที่เขตสุขภาพที่ 5
dc.contributor.advisor | ภัทร์ พลอยแหวน | |
dc.contributor.advisor | สมบูรณ์ ศิริสรรหิรัญ | |
dc.contributor.advisor | สมศักดิ์ อมรสิริพงศ์ | |
dc.contributor.author | รัฐศักดิ์ เสือหนู | |
dc.date.accessioned | 2024-01-05T02:02:42Z | |
dc.date.available | 2024-01-05T02:02:42Z | |
dc.date.copyright | 2562 | |
dc.date.created | 2562 | |
dc.date.issued | 2567 | |
dc.description | นโยบายสาธารณะและการจัดการภาครัฐ (มหาวิทยาลัยมหิดล 2562) | |
dc.description.abstract | การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติตามนโยบายการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ รวมทั้งปัญหาและอุปสรรคของการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติตามนโยบายการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ เพื่อนำไปสู่ข้อเสนอแนะและแนวทางทั้งในเชิงนโยบายและเชิงปฏิบัติ ในการจะนำไปสู่การพัฒนาประสิทธิภาพการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ โดยศึกษากับบุคลากรในโรงพยาบาลของรัฐสังกัดกระทรวงสาธารณสุขเขตสุขภาพที่ 5 จำนวน 201 คนโดยใช้แบบสอบถาม และสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญซึ่งเป็นตัวแทนผู้บริหารโรงพยาบาลของรัฐสังกัดกระทรวงสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 5 จำนวน 3 คน สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเนื้อหา จากผลการศึกษาพบว่า ระดับการมีส่วนร่วมในการทำงานของบุคลากรในโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 5 โดยรวมทุกด้านอยู่ในระดับการมีส่วนร่วมมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านทั้ง 4 ด้านโดยเรียงลำดับค่าคะแนนเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ การวางแผนตัดสินใจมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมาคือการติดตามและประเมินผล การดำเนินงาน และการรับผลประโยชน์ ตามลำดับ ปัญหาและอุปสรรคจะพบว่า การจัดการมูลฝอยติดเชื้อใช้งบประมาณที่สูง ในการบริหารจัดการจะต้องเฝ้าระวังให้มีการดำเนินงานที่ถูกต้องตามแนวทาง และเจ้าหน้าที่แต่ละคนก็มีหน้าที่รับผิดชอบในงานประจำ จึงทำให้ขาดความตระหนักในการปฏิบัติตามขั้นตอนและกระบวนการ ส่วนผลประโยชน์ที่ได้จากการจัดการมูลฝอยติดเชื้อนั้นนอกจากจะ ส่งผลต่อโรงพยาบาลแล้ว การฝึกอบรมพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่องจะส่งผลประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อมและบุคลากรในโรงพยาบาลด้วย นอกจากนี้โรงพยาบาลยังต้องมีการติดตามผลและการประเมินผลการดำเนินงานจัดการมูลฝอยติดเชื้อของหน่วยงาน และประเมินความรู้และทักษะบุคลากรในทุกระดับและให้ความรู้อย่างต่อเนื่องและมีการเฝ้าระวังติดตามให้มีการดำเนินงานที่ถูกต้องตามแนวทางและนโยบายที่กำหนด | |
dc.description.abstract | The objective of this mix method research has to study the levels of policy compliance participation including problems and obstacles in infectious waste management in order to propose the guidelines for developing effectiveness of the infectious waste management. Both the questionnaire and the interview were the instruments employed for the study. The target population of quantitative analysis was 201 staff from the public hospitals. For qualitative analysis, there were 3 key persons selected who are the administrators of public hospitals. Statistical methods used for the data analysis were percentages, average, and standard deviations. The research results showed that the level of policy compliance participation in every sector was at a high level and the highest level of participation was decision making sector (0.948) followed by monitoring and evaluation sector (0.931), implementation sector (0.878), and benefit sector (0.769), respectively. The problems and obstacles of the infectious waste management was the high budget in management, thus strict monitoring of the operation according to the guidelines. However, each of the staff has he/she own routine task so that he/she should not strictly follow the guideline. An appropriate infectious management and constant staff training not only benefit to the hospital, but also benefit the environment and the hospital staff. Moreover, the hospital should monitor and evaluate the infectious waste management, as well as assess its staff skills. Organizing a workshop regularly for the personnel, and monitoring the operation to adhere to the guideline and policy are also necessary. | |
dc.format.extent | ก-ฌ, 118 แผ่น : ภาพประกอบ | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.identifier.citation | วิทยานิพนธ์ (รป.ม. (นโยบายสาธารณะและการจัดการภาครัฐ))--มหาวิทยาลัยมหิดล 2562 | |
dc.identifier.uri | https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/91939 | |
dc.language.iso | tha | |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยมหิดล. หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล | |
dc.rights | ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า | |
dc.rights.holder | มหาวิทยาลัยมหิดล | |
dc.subject | ขยะติดเชื้อ -- การจัดการ | |
dc.title | การมีส่วนร่วมในการปฏิบัติตามนโยบายการจัดการมูลฝอยติดเชื้อของโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข พื้นที่เขตสุขภาพที่ 5 | |
dc.title.alternative | The participation of public hospitals under the Ministry of Public Health, health region 5 in infectious waste management | |
dc.type | Master Thesis | |
dcterms.accessRights | open access | |
mods.location.url | http://mulinet11.li.mahidol.ac.th/e-thesis/2561/546/5838517.pdf | |
thesis.degree.department | คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ | |
thesis.degree.discipline | นโยบายสาธารณะและการจัดการภาครัฐ | |
thesis.degree.grantor | มหาวิทยาลัยมหิดล | |
thesis.degree.level | ปริญญาโท | |
thesis.degree.name | รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต |