ความมีอิสระในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ในสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
dc.contributor.advisor | สมบูรณ์ ศิริสรรหิรัญ | |
dc.contributor.author | กฤติน กฤตานุกูลย์ | |
dc.date.accessioned | 2024-01-25T01:24:23Z | |
dc.date.available | 2024-01-25T01:24:23Z | |
dc.date.copyright | 2550 | |
dc.date.created | 2567 | |
dc.date.issued | 2550 | |
dc.description | รัฐประศาสนศาสตร์ (มหาวิทยาลัยมหิดล 2550) | |
dc.description.abstract | ศึกษาเกี่ยวกับความมีอิสระในการปฎิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ในสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1. เพื่อศึกษาระดับความมีอิสระในการปฎิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ ปปช. ในส่วนของสำนักตรวจสอบทรัพย์สินและหนี้สิน 2. เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความมีอิสระในการปฎิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ ปปช. ในส่วนของสำนักตรวจสอบทรัพย์สินและหนี้สิน และ 3. ศึกษาแนวทางเพื่อพัฒนาให้เจ้าหน้าที่ ปปช. ในส่วนของสำนักตรวจสอบทรัพย์สินและหนี้สินมีอิสระในการปฎิบัติหน้าที่ และเป็นองค์กรอิสระที่ปลอดพ้นจากการถูกแทรกแซงตามวัตถุประสงค์ของกฎหมายรัฐธรรมนูญ 2540 งานวิจัยชิ้นนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ประชากรที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ เจ้าหน้าที่ในคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติในส่วนของสำนักงานตรวจสอบทรัพย์สินและหนี้สิน รวมทั้งสิ้น 125 คนสำหรับตอบแบบสอบถาม และผู้อำนวยการสำนักตรวจสอบทรัพย์สินและหนี้สิน รวมทั้งสิ้น 5 ท่าน เป็นผู้ให้ข้อมูลในแบบสัมภาษณ์ ผลการศึกษาพบว่า 1. ระดับความมีอิสระในการปฎิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ อยู่ในระดับปานกลาง 2. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความมีอิสระในการปฎิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ ได้แก่ ปัจจัยด้านภาวะผู้นำ ปัจจัยด้านขั้นตอนการปฎิบัติงาน ปัจจัยด้านโครงสร้างสายบังคับบัญชา และปัจจัยด้านลักษณะการปฎิบัติงาน ซึ่งเป็นปัจจัยที่เจ้าหน้าที่ ปปช. ในสำนักตรวจสอบทรัพย์สินและหนี้สินเล็งเห็นว่า จะส่งผลกระทบต่อความมีอิสระในการปฎิบัติหน้าที่จากการวิจัยมีข้อเสนอแนะคือ 1. ให้ผู้อำนวยการสำนักตรวจสอบทรัพย์สินและหนี้สินเปิดโอกาสให้กับเจ้าหน้าที่ในการปฎิบัติงานมากขึ้น 2. ควรมีการลดขั้นตอนการปฎิบัติงานให้น้อยลง 3. ควรมีการสร้างมาตรฐานที่ชัดเจนในการปฎิบัติงานของเจ้าหน้าที่ให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน และ 4. ควรจัดให้มีการอบรมปลูกจิตใต้สำนึกให้กับเจ้าหน้าที่ไม่ว่าจะเป็นเจ้าหน้าที่ระดับสูงหรือเจ้าหน้าที่ปฎิบัติงานให้เกิดอุดมการณ์ในการปฎิบัติงาน ทำงานเพื่อประเทศชาติ และยึดหลักความซื่อสัตย์สุจริต | |
dc.description.abstract | This research about the independence of the National Counter Corruption Commission Bureau of Asset Inspection has 3 major objectives. 1. To learn about the degree of job autonomy of personnel 2. To find out if there are any other factors which might affect the independence of the organization 3. To find ways to prevent personnel from being influenced in a negative way Questionnaires were given to 125 officials and 5 high ranking officers were interviewed. The conclusions were that: 1. Job autonomy is in the medium level in terms of independence in decision making. This is due to the fact that these personnel have not been granted full autonomy by their superiors. In addition, the process has too many steps to follow and there is a heavy load of complaints. Moreover, many complaints demand quick results which affects autonomy in some senses. 2. Regarding leadership issues, there are too many steps to follow in operations, authority delegation structure, and the nature of the work flow within the organization. My recommendations are that: 1. High ranking officers should give more job autonomy to their subordinates. 2. Job process should be short and simple; the steps used during an operation should be reduced. 3. A standardized work process should be set up that every member of staff can easily follow, thus reducing confusion. 4. The National Counter Corruption Commission (NCCC) must encourage all levels of personnel to have commitment in their job responsibilities toward the nation as well as having the highest code of ethics. | |
dc.format.extent | ก-ฌ, 122 แผ่น | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.identifier.citation | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (รัฐประศาสนศาสตร์))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2550 | |
dc.identifier.uri | https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/93930 | |
dc.language.iso | tha | |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยมหิดล. หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล | |
dc.rights | ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า | |
dc.rights.holder | มหาวิทยาลัยมหิดล | |
dc.subject | การวิเคราะห์งาน | |
dc.subject | การตรวจสอบการจัดการ | |
dc.subject | อำนาจบริหาร | |
dc.title | ความมีอิสระในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ในสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ | |
dc.title.alternative | Job autonomy of officials in the office of the national counter corruption commission | |
dc.type | Master Thesis | |
dcterms.accessRights | open access | |
mods.location.url | http://mulinet11.li.mahidol.ac.th/e-thesis/4837887.pdf | |
thesis.degree.department | คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ | |
thesis.degree.discipline | รัฐประศาสนศาสตร์ | |
thesis.degree.grantor | มหาวิทยาลัยมหิดล | |
thesis.degree.level | ปริญญาโท | |
thesis.degree.name | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |