แนวทางการพัฒนาการจัดซื้อจัดจ้างในหน่วยงานภาครัฐเพื่อป้องกันการทุจริต
Issued Date
2567
Copyright Date
2561
Resource Type
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
ก-ฌ, 209 แผ่น : ภาพประกอบ
Access Rights
open access
Rights
ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
Rights Holder(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
วิทยานิพนธ์ (รป.ม. (นโยบายสาธารณะและการจัดการภาครัฐ))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2561
Suggested Citation
สิรินทรา เสียบไธสง แนวทางการพัฒนาการจัดซื้อจัดจ้างในหน่วยงานภาครัฐเพื่อป้องกันการทุจริต . วิทยานิพนธ์ (รป.ม. (นโยบายสาธารณะและการจัดการภาครัฐ))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2561 . สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/91851
Title
แนวทางการพัฒนาการจัดซื้อจัดจ้างในหน่วยงานภาครัฐเพื่อป้องกันการทุจริต
Alternative Title(s)
The development of procurement in government agencies preventing corruption
Author(s)
Abstract
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษากระบวนการจัดซื้อจัดจ้างที่มีประสิทธิภาพ 2) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาของการจัดซื้อจัดจ้างในหน่วยงานภาครัฐที่ก่อให้เกิดปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่นในการจัดซื้อจัดจ้าง 3) ศึกษาแนวทางการพัฒนาการจัดซื้อจัดจ้างในหน่วยงานภาครัฐให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นและสามารถป้องกันการทุจริตได้อย่างมีประสิทธิผล ในการศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ทรงคุณวุฒิ สำนักงานการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในหน่วยงานภาครัฐ สำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ที่ปรึกษาโครงการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดาเนินงานในหน่วยงานภาครัฐ และมูลนิธิต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น จำนวน 15 คน และหน่วยงานที่เข้าร่วมโครงการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐประจำปี พ.ศ. 2558-2559 ได้รับรางวัล 2 ปีซ้อน คือสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขและสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา จำนวน 7 คน โดยใช้วิธีการเก็บข้อมูลคือการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) และวิเคราะห์ข้อมูลพร้อมทั้งสรุปผลการศึกษาอธิบายแบบวิจัยเชิงคุณภาพ ผลการศึกษา พบว่า หน่วยงานสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขและสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาเป็นหน่วยงานที่มีกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างที่มีประสิทธิภาพ (Best Practices) โดยหน่วยงานได้นาแนวคิดการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ (New Public Management: NPM) มาปรับใช้ ซึ่งวิธีการจะมุ่งเน้นสร้างและพัฒนากลไกการบริหารงานบุคคลที่ได้มาตรฐาน สร้างวัฒนธรรมและบรรยากาศในการทำงานแบบมีส่วนร่วม มุ่งเน้นการบริหารงานที่มีความโปร่งใสมีความรับผิดชอบและตรวจสอบได้ มีคุณภาพและมีประสิทธิภาพในการบริหาร องค์กรสามารถปรับตัวได้อย่างรวดเร็วต่อการเปลี่ยนแปลงพัฒนาระบบการให้บริการที่ทันสมัย โดยนำเทคโนโลยีมาใช้บริหารมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ของงาน ส่วนในเชิงนโยบายด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานภาครัฐมีแนวคิดว่าควรมุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาการทุจริตการจัดซื้อจัดจ้างในหน่วยงานภาครัฐแบบบูรณาการ โดยควรมีมาตรการและกลไกในการบริหารจัดการแบบครบวงจรทั้งในด้านการตรวจสอบการทุจริตและการบริหารจัดการข้อร้องเรียน รวมทั้งแผนการดำเนินการที่ชัดเจนโดยให้ภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการตรวจสอบและบริหารจัดการแบบร่วมมือกัน
This research aims: 1) to study the efficient procurement (Best Practices), 2) to study the problems of procurement procedures in governmental agencies that corrupt during procurement, and 3) to study the development of the procurement processes in governmental agencies to be more efficient in order to prevent corruption effectively. This study is a qualitative research. Data were collected, using in-depth interviews with 15 experts composing of personnel from Office of Public Sector Anti-Corruption Commission, Office of The National Anti-Corruption Commission, Anti-Corruption Foundation, and advisor of the Public Integrity and Transparency Assessment Project. Best practices of procurement procedures were learnt from two agencies, the Permanent Secretary, Ministry of Public Health, and Office of the Higher Education Commission which joined Public Integrity and Transparency Assessment 2015-2016 Project and received awards, in two consecutive years. The study found that the Permanent Secretary, Ministry of Public Health, and Office of the Higher Education Commission operated efficient procurement process (Best Practice) by New Public Management (NPM) application, focusing on promoting and developing the mechanism of standardized personnel management, creating culture and atmosphere of participatory work, emphasizing on monitored and responsible transparency management, and possessing in management quality and efficiency moreover, organization themselves improved rapidly in term of modern management system development change by applying technology to achieve work. Regarding political means. On anti-corruption and corruption suppression, public officials suggested to focus on resolving the problem of procurement corruption in integrated governmental agencies by setting measures and mechanisms with full management of both corrupted audit. And complaint management including a clear action plan through public participation in inspection and collective governance.
This research aims: 1) to study the efficient procurement (Best Practices), 2) to study the problems of procurement procedures in governmental agencies that corrupt during procurement, and 3) to study the development of the procurement processes in governmental agencies to be more efficient in order to prevent corruption effectively. This study is a qualitative research. Data were collected, using in-depth interviews with 15 experts composing of personnel from Office of Public Sector Anti-Corruption Commission, Office of The National Anti-Corruption Commission, Anti-Corruption Foundation, and advisor of the Public Integrity and Transparency Assessment Project. Best practices of procurement procedures were learnt from two agencies, the Permanent Secretary, Ministry of Public Health, and Office of the Higher Education Commission which joined Public Integrity and Transparency Assessment 2015-2016 Project and received awards, in two consecutive years. The study found that the Permanent Secretary, Ministry of Public Health, and Office of the Higher Education Commission operated efficient procurement process (Best Practice) by New Public Management (NPM) application, focusing on promoting and developing the mechanism of standardized personnel management, creating culture and atmosphere of participatory work, emphasizing on monitored and responsible transparency management, and possessing in management quality and efficiency moreover, organization themselves improved rapidly in term of modern management system development change by applying technology to achieve work. Regarding political means. On anti-corruption and corruption suppression, public officials suggested to focus on resolving the problem of procurement corruption in integrated governmental agencies by setting measures and mechanisms with full management of both corrupted audit. And complaint management including a clear action plan through public participation in inspection and collective governance.
Description
นโยบายสาธารณะและการจัดการภาครัฐ (มหาวิทยาลัยมหิดล 2561)
Degree Name
รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Department
คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
Degree Discipline
นโยบายสาธารณะและการจัดการภาครัฐ
Degree Grantor(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล