ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคเท้าช้างในผู้อพยพชาวเมียนมาร์ จังหวัดสมุทรสาคร
dc.contributor.author | ธนพร ตู้ทอง | en_US |
dc.contributor.author | มธุรส ทิพยมงคลกุล | en_US |
dc.contributor.author | นวรัตน์ สุวรรณผ่อง | en_US |
dc.contributor.author | สราวุธ สุวัณณทัพพะ | en_US |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสาธารณสุขศาสตร์. ภาควิชาบริหารงานสาธารณสุข. | en_US |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสาธารณสุขศาสตร์. ภาควิชาระบาดวิทยา | en_US |
dc.date.accessioned | 2015-10-19T02:41:31Z | |
dc.date.accessioned | 2021-09-15T16:06:19Z | |
dc.date.available | 2015-10-19T02:41:31Z | |
dc.date.available | 2021-09-15T16:06:19Z | |
dc.date.created | 2558-10-09 | |
dc.date.issued | 2558 | |
dc.description | การประชุมวิชาการสาธารณสุขแห่งชาติ ครั้งที่ 15 คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล การสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมในศตวรรษที่ 21: มุมมองอนาคต และการจัดการเชิงระบบ: Public health and environment in the 21st Century: evidence-based global health, วันที่ 20-21 สิงหาคม 2558 ณ โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ กรุงเทพฯ. กรุงเทพฯ: คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล; 2558. หน้า 37. | en |
dc.description.abstract | ภูมิหลัง: โรคเท้าช้างเป็นโรคที่เกิดจากพยาธิตัวกลม มียุงเป็นพาหะนำโรค จากการสำรวจโรคเท้าช้างในแรงงานต่างชาติ พบว่าแรงงานเมียนมาร์ มีการติดเชื้อโรคเท้าช้างสูงสุด โดยผู้ติดเชื้อโรคเท้าช้างร้อยละ 88.0 จะไม่แสดงอาการ ทำให้มีโอกาสนำเชื้อโรคเท้าช้างสายพันธุ์เมียนมาร์เข้ามาแพร่สู่คนในชุมชน หากไม่มีการป้องกัน ดังนั้นพฤติกรรมการป้องกันตนเองของผู้อพยพชาวเมียนมาร์จึงมีความสำคัญที่จะป้องกันการแพร่กระจายโรคเท้าช้างอาจกลับมาเป็นปัญหาทางสาธารณสุขของประเทศอีก วัตถุประสงค์: เพื่อวัดระดับพฤติกรรมการป้องกันและค้นหาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคเท้าช้างในผู้อพยพชาวเมียนมาร์ จังหวัดสมุทรสาคร วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาภาคตัดขวางที่ใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างสัมภาษณ์ผู้อพยพชาวเมียนมาร์อายุ 18 ปีขึ้นไป ที่อาศัยอยู่ในอำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาครโดยสุ่มตัวอย่างแบบ two-stage stratified cluster sampling และ probability proportion to size (PPS) ได้กลุ่มตัวอย่าง ทั้งหมด 939 ราย ผลการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ร้อยละ 96.9 มีพฤติกรรมการป้องกันอยู่ในระดับที่ควรปรับปรุง ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกัน ได้แก่ อายุโดยพบว่าอายุ < 20 ปี มีคะแนนพฤติกรรมป้องกันต่ำที่สุด (B = -2.227, p<0.001) ลักษณะงาน โดยพบว่าผู้ที่มีงานรายวันมีคะแนนพฤติกรรมสูงกว่าผู้ที่ว่างงาน (B = 1.596, p<0.001) และการรับรู้ประโยชน์ที่จะได้รับมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับพฤติกรรมการป้องกันด้วย (B = 0.216, p = 0.010) สรุปผลการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความรู้เรื่องการติดต่อและการป้องกันโรค ฉะนั้นควรเพิ่มการรับรู้ประโยชน์ในการป้องกันตนเองให้ผู้อพยพชาวเมียนมาร์ เพื่อให้เกิดพฤติกรรมการป้องกันยุงและการทำลายแหล่งพันธุ์ยุงโดยเฉพาะในกลุ่มว่างงาน | en_US |
dc.identifier.uri | https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/63561 | |
dc.language.iso | tha | en_US |
dc.rights | มหาวิทยาลัยมหิดล | en_US |
dc.subject | ผู้อพยพชาวเมียนมาร์ | en_US |
dc.subject | พฤติกรรมการป้องกัน | en_US |
dc.subject | โรคเท้าช้าง | en_US |
dc.title | ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคเท้าช้างในผู้อพยพชาวเมียนมาร์ จังหวัดสมุทรสาคร | en_US |
dc.type | Proceeding Poster | en_US |
Files
License bundle
1 - 1 of 1