การศึกษาความเที่ยงตรงของแบบคัดกรองโรคสมาธิสั้นในเด็กและวัยรุ่นไทยในการคัดแยกผู้ป่วยโรคสมาธิสั้นที่มีโรคร่วม : การศึกษาแบบเก็บข้อมูลย้อนหลัง

dc.contributor.advisorชาญวิทย์ พรนภดล
dc.contributor.advisorวัลลภ อัจสริยะสิงห์
dc.contributor.advisorฑิฆัมพร หอสิริ
dc.contributor.authorศิรินดา จันทร์เพ็ญ
dc.date.accessioned2024-01-12T02:03:55Z
dc.date.available2024-01-12T02:03:55Z
dc.date.copyright2560
dc.date.created2567
dc.date.issued2560
dc.descriptionจิตวิทยาเด็ก วัยรุ่น และครอบครัว (มหาวิทยาลัยมหิดล 2560)
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาแบบเก็บข้อมูลย้อนหลัง เพื่อศึกษาความเที่ยงตรงของแบบคัดกรองโรคสมาธิสั้นในเด็กและวัยรุ่นไทย ในการคัดแยกผู้ป่วยโรคสมาธิสั้นที่มีโรคร่วม จากผู้ป่วยใหม่ที่เข้ามารับบริการตรวจรักษาตั้งแต่เดือนมกราคม 2558 ถึงธันวาคม 2559 ที่มีผลการตอบแบบคัดกรองโรคสมาธิสั้นฯ และได้รับการวินิจฉัยโรคจากจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น จำนวน 207 ราย ใช้วิธีการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และทดสอบความเที่ยงตรงตามเกณฑ์โดยการหาค่าความไวและความจำเพาะผลการวิจัยพบว่าแบบคัดกรองโรคสมาธิสั้นฯ ฉบับผู้ปกครองและฉบับครูมีความสัมพันธ์กับการวินิจฉัยของจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 การใช้แบบคัดกรองโรคสมาธิสั้นฯ ร่วมกันทั้งฉบับตนเอง ฉบับผู้ปกครอง และฉบับครู จะมีค่าความไว 0.82 และค่าความจำเพาะ 0.93 แสดงว่า แบบคัดกรองโรคสมาธิสั้นฯ สามารถตรวจพบโรคสมาธิสั้นได้ถึงแม้ว่าจะมีโรคร่วมด้วยหรือก็ตาม โดยมีค่าความไวและความจำเพาะอยู่ในเกณฑ์ดีมาก
dc.description.abstractThis research is a retrospective study to analyze validity of Thai ADHD Screening Scales (THASS) to screen ADHD patients with comorbid disorders. The authors reviewed medical records of 207 new patients who had visited the Child and Adolescent Psychiatry out-patients unit at Siriraj Hospital during January 2015 - December 2016. Data were analyzed by using frequency distribution, percentage, mean, standard deviation (SD), correlation coefficient, sensitivity and specificity to determine the criterion validity. The result revealed that THASS - parent's report and teacher's report of ADHD patients with comorbid disorders were correlated with the final diagnosis provided by child and adolescent psychiatrists (p-value < 0.05). When combined self-report, parent's report and teacher's report altogether, THASS showed a good sensitivity (0.82) and specificity (0.93) which confirmed that THASS is reliable and valid screening questionnaire for ADHD with or without comorbid disorders
dc.format.extentก-ญ, 118 แผ่น : ภาพประกอบ
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.identifier.citationวิทยานิพนธ์ (วท.ม. (จิตวิทยาเด็ก วัยรุ่น และครอบครัว))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2560
dc.identifier.urihttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/92521
dc.language.isotha
dc.publisherมหาวิทยาลัยมหิดล. หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล
dc.rightsผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
dc.rights.holderมหาวิทยาลัยมหิดล
dc.subjectเด็กสมาธิสั้น
dc.subjectการตรวจคัดโรค
dc.subjectกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม
dc.titleการศึกษาความเที่ยงตรงของแบบคัดกรองโรคสมาธิสั้นในเด็กและวัยรุ่นไทยในการคัดแยกผู้ป่วยโรคสมาธิสั้นที่มีโรคร่วม : การศึกษาแบบเก็บข้อมูลย้อนหลัง
dc.title.alternativeValidity study of thai ADHD screening scales to screen ADHD patients with comorbid disorders : retrospective study
dc.typeMaster Thesis
dcterms.accessRightsopen access
mods.location.urlhttp://mulinet11.li.mahidol.ac.th/e-thesis/2560/cd523/5837286.pdf
thesis.degree.departmentสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว
thesis.degree.disciplineจิตวิทยาเด็ก วัยรุ่น และครอบครัว
thesis.degree.grantorมหาวิทยาลัยมหิดล
thesis.degree.levelปริญญาโท
thesis.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

Files