Tack reduction by surfactants and development of acrylate polymer films for pharmaceutical coatings
Issued Date
2023
Copyright Date
2005
Language
eng
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
xix, 200 leaves : ill.
ISBN
9740461484
Access Rights
restricted access
Rights Holder(s)
Mahidol University
Bibliographic Citation
Thesis (Ph.D. (Polymer Science and Technology))--Mahidol University, 2005
Suggested Citation
Sathaporn Nimkulrat Tack reduction by surfactants and development of acrylate polymer films for pharmaceutical coatings. Thesis (Ph.D. (Polymer Science and Technology))--Mahidol University, 2005. Retrieved from: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/88696
Title
Tack reduction by surfactants and development of acrylate polymer films for pharmaceutical coatings
Alternative Title(s)
การลดการแตะติดด้วยสารลดแรงตึงผิวและการพัฒนาฟิล์มอะคริเลทพอลิเมอร์เพื่อการเคลือบทางเภสัชกรรม
Author(s)
Advisor(s)
Abstract
This study is divided into two main sections. The objective of the first section was to investigate the ability of certain nonionic surfactants in a group of sorbitan ester in reducing the tackiness of films obtained from aqueous acrylic polymer dispersions (Eudragit®). The results from the peel tests demonstrated that glyceryl monostearate (GMS), Span 60 and Span 40 could reduce the tackiness of both Eudragit NE30D and Eudragit RS30D films. The components and mechanical properties of the films were investigated and the results indicated that these surfactants reduced the film tackiness by decreasing the polymer contents at the film surfaces, resulting in a notable reduction in the contact area of the polymers between the surfaces. The use of only 5% w/w of either GMS, Span 60 or Span 40 in the coating formulations is enough to prevent pellet agglomeration without adverse effects on film flexibility. The pellets coated with Eudragit RS30D/RL30D (9:1 w/w) did not exhibit any difference in the drug release profiles when either 100% w/w talc or 5% w/w GMS was used, whereas the formulations containing Span 60 or Span 40 gave a slightly faster release rate. The objective of the second section was to find new copolymers, which can form enteric films in the aqueous coating process without the use of an external plasticizer. A variety of copolymer latices comprising of methacrylic acid (MA) and ethyl acrylate (EA) were synthesized by emulsion polymerization. The synthesized latices were characterized and the films from the latices were determined for their thermal properties, mechanical properties and dissolution. The results indicated that the minimum film-forming temperature (MFT) was lowered as the ratio of MA to EA decreased. The MA-EA (2:3) copolymer could form a film at the coating temperature and the film started to dissolve at pH 6.0. With the polymer coating level of 6 mg/cm2, the coated tablets were very resistant to gastric fluid and the drug release in pH 6.8 buffer conformed to the requirement of the pharmacopeia. The results indicated that the MA-EA (2:3) copolymer could be used in the coating process for the design of oral delayed-release dosage forms without plasticizer required.
การศึกษานี้ได้แบ่งงานเป็นสองส่วนหลัก วัตถุประสงค์ของงานส่วนแรกคือเพื่อศึกษาถึงความสามารถของ สารลดแรงตึงผิวชนิดไม่มีประจุในกลุ่ม sorbitan ester ในการลดการแตะติดของฟิล์มที่ได้จากสารกระจายตัวของ พอลิเมอร์อะคริลิกในนํ้า (Eudragit®) ผลจากการทดสอบการลอกฟิล์มแสดงให้เห็นว่า glyceryl monostearate (GMS), Span 60 และ Span 40 สามารถลดการแตะติดของทั้งฟิล์ม Eudragit NE 30D และฟิล์ม Eudragit RS 30D ได้ มีการศึกษาองค์ประกอบและสมบัติเชิงกลของฟิล์มและผลที่ได้ชี้ให้เห็นว่าสารลดแรงตึงผิวเหล่านี้ลดการแตะ ติดของฟิล์มได้โดยการไปลดปริมาณของพอลิเมอร์ที่ผิวฟิล์มส่งผลให้พื้นที่สัมผัสของพอลิเมอร์ระหว่างผิวลดลง อย่างมาก การใส่ GMS, Span 60 หรือ Span 40 เพียง 5% โดยนํ้าหนักในสูตรนํ้ายาเคลือบก็เพียงพอที่จะป้องกัน การเกาะกลุ่มกันของเพลเลตโดยไม่ส่งผลเสียต่อความสามารถในการบิดงอของฟิล์ม การใช้ talc 100% หรือ GMS 5% ในสูตรตำ รับไม่มีผลให้เค้าโครงการปลดปล่อยยาของเพลเลตที่เคลือบด้วย Eudragit RS30D/RL30D (9:1 โดยนํ้าหนัก) แตกต่างกัน ขณะที่อัตราการปลดปล่อยยาของสูตรที่ใส่ Span 60 หรือ Span 40 จะเร็วกว่าเล็ก น้อย วัตถุประสงค์ของงานส่วนที่สองคือเพื่อค้นหาโคพอลิเมอร์ตัวใหม่ที่สามารถก่อฟิล์มเอนเทอริกได้ใน กระบวนการเคลือบระบบนํ้าโดยไม่ต้องอาศัยพลาสติไซเซอร์ภายนอกช่วย เลเทกซ์โคพอลิเมอร์ชนิดต่างๆที่ ประกอบด้วย methacrylic acid (MA) และ ethyl acrylate (EA) ได้รับการสังเคราะห์ขึ้นโดยวิธี emulsion polymerization มีการตรวจสอบลักษณะเฉพาะของเลเทกซ์ที่สังเคราะห์ขึ้นรวมทั้งทดสอบสมบัติเชิงความร้อน สมบัติเชิงกล และการละลายของฟิล์มที่ได้จากเลเทกซ์ ผลการทดสอบชี้ให้เห็นว่าค่า minimum film-forming temperature (MFT) ตํ่าลงเมื่ออัตราส่วนของ MA ต่อ EA ลดลง โคพอลิเมอร์ MA-EA (2:3) สามารถก่อฟิล์มได้ที่ อุณหภูมิการเคลือบและฟิล์มที่ได้เริ่มต้นละลายที่พีเอช 6.0 ที่ระดับการเคลือบ 6 มก./ซม.2 เม็ดยาที่เคลือบสามารถ ทนต่อนํ้าย่อยในกระเพาะได้อย่างดีและการปลดปล่อยยาในบัฟเฟอร์ที่พีเอช 6.8 ก็เป็นไปตามข้อกำ หนดของ เภสัชตำ รับ ผลที่ได้จากการทดลองชี้ให้เห็นว่าโคพอลิเมอร์ MA-EA (2:3) สามารถนำ มาใช้ในกระบวนการ เคลือบเพื่อสร้างรูปแบบยาชนิด delayed-release ได้โดยไม่จำ เป็นต้องใส่พลาสติไซเซอร์
การศึกษานี้ได้แบ่งงานเป็นสองส่วนหลัก วัตถุประสงค์ของงานส่วนแรกคือเพื่อศึกษาถึงความสามารถของ สารลดแรงตึงผิวชนิดไม่มีประจุในกลุ่ม sorbitan ester ในการลดการแตะติดของฟิล์มที่ได้จากสารกระจายตัวของ พอลิเมอร์อะคริลิกในนํ้า (Eudragit®) ผลจากการทดสอบการลอกฟิล์มแสดงให้เห็นว่า glyceryl monostearate (GMS), Span 60 และ Span 40 สามารถลดการแตะติดของทั้งฟิล์ม Eudragit NE 30D และฟิล์ม Eudragit RS 30D ได้ มีการศึกษาองค์ประกอบและสมบัติเชิงกลของฟิล์มและผลที่ได้ชี้ให้เห็นว่าสารลดแรงตึงผิวเหล่านี้ลดการแตะ ติดของฟิล์มได้โดยการไปลดปริมาณของพอลิเมอร์ที่ผิวฟิล์มส่งผลให้พื้นที่สัมผัสของพอลิเมอร์ระหว่างผิวลดลง อย่างมาก การใส่ GMS, Span 60 หรือ Span 40 เพียง 5% โดยนํ้าหนักในสูตรนํ้ายาเคลือบก็เพียงพอที่จะป้องกัน การเกาะกลุ่มกันของเพลเลตโดยไม่ส่งผลเสียต่อความสามารถในการบิดงอของฟิล์ม การใช้ talc 100% หรือ GMS 5% ในสูตรตำ รับไม่มีผลให้เค้าโครงการปลดปล่อยยาของเพลเลตที่เคลือบด้วย Eudragit RS30D/RL30D (9:1 โดยนํ้าหนัก) แตกต่างกัน ขณะที่อัตราการปลดปล่อยยาของสูตรที่ใส่ Span 60 หรือ Span 40 จะเร็วกว่าเล็ก น้อย วัตถุประสงค์ของงานส่วนที่สองคือเพื่อค้นหาโคพอลิเมอร์ตัวใหม่ที่สามารถก่อฟิล์มเอนเทอริกได้ใน กระบวนการเคลือบระบบนํ้าโดยไม่ต้องอาศัยพลาสติไซเซอร์ภายนอกช่วย เลเทกซ์โคพอลิเมอร์ชนิดต่างๆที่ ประกอบด้วย methacrylic acid (MA) และ ethyl acrylate (EA) ได้รับการสังเคราะห์ขึ้นโดยวิธี emulsion polymerization มีการตรวจสอบลักษณะเฉพาะของเลเทกซ์ที่สังเคราะห์ขึ้นรวมทั้งทดสอบสมบัติเชิงความร้อน สมบัติเชิงกล และการละลายของฟิล์มที่ได้จากเลเทกซ์ ผลการทดสอบชี้ให้เห็นว่าค่า minimum film-forming temperature (MFT) ตํ่าลงเมื่ออัตราส่วนของ MA ต่อ EA ลดลง โคพอลิเมอร์ MA-EA (2:3) สามารถก่อฟิล์มได้ที่ อุณหภูมิการเคลือบและฟิล์มที่ได้เริ่มต้นละลายที่พีเอช 6.0 ที่ระดับการเคลือบ 6 มก./ซม.2 เม็ดยาที่เคลือบสามารถ ทนต่อนํ้าย่อยในกระเพาะได้อย่างดีและการปลดปล่อยยาในบัฟเฟอร์ที่พีเอช 6.8 ก็เป็นไปตามข้อกำ หนดของ เภสัชตำ รับ ผลที่ได้จากการทดลองชี้ให้เห็นว่าโคพอลิเมอร์ MA-EA (2:3) สามารถนำ มาใช้ในกระบวนการ เคลือบเพื่อสร้างรูปแบบยาชนิด delayed-release ได้โดยไม่จำ เป็นต้องใส่พลาสติไซเซอร์
Degree Name
Doctor of Philosophy
Degree Level
Doctoral Degree
Degree Department
Faculty of Science
Degree Discipline
Polymer Science and Technology
Degree Grantor(s)
Mahidol University