อิทธิพลของปัจจัยคัดสรรต่อพฤติกรรมการออกกำลังกายของมารดาหลังคลอดชาวไทยมุสลิม

dc.contributor.advisorศรีสมร ภูมนสกุล
dc.contributor.advisorจันทิมา ขนบดี
dc.contributor.authorสารินี สาวัน
dc.date.accessioned2024-01-22T01:42:34Z
dc.date.available2024-01-22T01:42:34Z
dc.date.copyright2559
dc.date.created2567
dc.date.issued2559
dc.descriptionการผดุงครรภ์ (มหาวิทยาลัยมหิดล 2559)
dc.description.abstractวัตถุประสงค์ในการศึกษาครั้งนี้ เพื่อศึกษาความสามารถในการร่วมกันทำนายของ ปัจจัยคัดสรร ได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคล (อายุ ดัชนีมวลกาย ระดับการศึกษา รายได้ครอบครัว จำนวนบุตร และ ลักษณะครอบครัว) การรับรู้ประโยชน์ การรับรู้อุปสรรค การรับรู้สมรรถนะแห่งตน และการสนับสนุนทางสังคมต่อพฤติกรรมการออกกำลังกายของมารดาหลังคลอดชาวไทยมุสลิม โดยใช้กรอบแนวคิดการส่งเสริมสุขภาพของเพนเดอร์ (Pender, 1996) เป็นแนวทางในการศึกษา กลุ่มตัวอย่างเป็นมารดาหลังคลอดชาวไทยมุสลิม ระยะ 6 สัปดาห์ ถึง 6 เดือนหลังคลอด ที่กลับไปพักฟื้นที่บ้านซึ่งอาศัยอยู่ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเมืองจังหวัดนราธิวาส ปัตตานี และยะลา หรือเป็นมารดาหลังคลอดที่ตรวจตามนัดหลังคลอดที่โรงพยาบาลปัตตานี และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพจังหวัดยะลา ระหว่างวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 ถึงวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 จำนวน 170 ราย คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนด เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามการรับรู้ประโยชน์และการรับรู้อุปสรรค แบบสอบถามการรับรู้สมรรถนะแห่งตนแบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม และแบบสอบถามพฤติกรรมการออกกำลังกายหลังคลอด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย และวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า มารดาหลังคลอดชาวไทยมุสลิมมีพฤติกรรมการออกกำลังกายน้อย โดยพบว่า การสนับสนุนทางสังคม การรับรู้อุปสรรค จำนวนบุตร รายได้ครอบครัว และการรับรู้ประโยชน์สามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมการออกกำลังกายของมารดาหลังคลอดชาวไทยมุสลิมได้ โดยร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของพฤติกรรมการออกกำลังกายของมารดาหลังคลอดชาวไทยมุสลิมได้ร้อยละ 25.4 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05)
dc.description.abstractThis study was aimed at studying the predictive capacity of selected factors such as personal factors (age, body mass index, level of education, family income, number of children and family characteristics), perceived benefits, perceived barriers, perceived self-efficacy and social support toward exercise behavior among postpartum Thai Muslim women by using Pender's Health Promotion Model (Pender, 1996) as the conceptual framework and guideline for the study. The samples were composed of 170 postpartum Thai Muslim women from 6 weeks to 6 months postpartum who returned to recover at home and lived under care of the jurisdiction of Muang district Public Health Centers, Narathiwat, Pattani and Yala or postpartum mothers who came to receive postpartum examinations by appointment at Pattani Hospital and Yala Provincial Health Promotion Hospital on 5 February, 2016 to 31 May, 2016. The study sample was purposive sampled based on set qualifications. Instrumentation was composed of the personal data, the perceived benefits and perceived barriers questionnaire, the perceived self-efficacy questionnaire, the social support questionnaire and the postpartum exercise behavior questionnaire. Data were analyzed by using descriptive statistics and stepwise multiple regression analysis. According to the findings, postpartum Thai Muslim women were found to have little exercise behavior. Social support, perceived barriers, the number of children, family income and perceived benefits were able to jointly predict exercise behavior of postpartum Thai Muslim women and could explain 25.4 percent of the variance of exercise behavior of postpartum Thai Muslim women with statistical significance (p < 0.05).
dc.format.extentก-ญ, 195 แผ่น: ภาพประกอบ
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.identifier.citationวิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การผดุงครรภ์))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2559
dc.identifier.urihttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/93336
dc.language.isotha
dc.publisherมหาวิทยาลัยมหิดล. หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล
dc.rightsผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
dc.rights.holderมหาวิทยาลัยมหิดล
dc.subjectการดูแลหลังคลอด
dc.subjectการออกกำลังกาย
dc.titleอิทธิพลของปัจจัยคัดสรรต่อพฤติกรรมการออกกำลังกายของมารดาหลังคลอดชาวไทยมุสลิม
dc.title.alternativeThe influence of selected factors on exercise behavior in Thai-Muslim postpartum women
dc.typeMaster Thesis
dcterms.accessRightsopen access
mods.location.urlhttp://mulinet11.li.mahidol.ac.th/e-thesis/2559/cd514/5736227.pdf
thesis.degree.departmentคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
thesis.degree.disciplineการผดุงครรภ์
thesis.degree.grantorมหาวิทยาลัยมหิดล
thesis.degree.levelปริญญาโท
thesis.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต

Files