ความสัมพันธ์ระหว่างการทดสอบการเดินต่อเท้ากับความเสี่ยงต่อการล้มวัดโดย Tinetti balance gait score และ Timed up and go test ในผู้สูงอายุ
Issued Date
2554
Resource Type
Language
tha
Rights
มหาวิทยาลัยมหิดล
Rights Holder(s)
สมาคมกายภาพบำบัดแห่งประเทศไทย
Suggested Citation
โสภา พิชัยยงค์วงศ์ดี, Sopa Pichaiyongwongdee, ขวัญฤทัย ปานฟัก, Kwanruethai Panfug, ศิรินภา ภูด่านวัว, Sirinapa Pudanngua, จิราพร หวานใจ, Jiraporn Wanjai (2554). ความสัมพันธ์ระหว่างการทดสอบการเดินต่อเท้ากับความเสี่ยงต่อการล้มวัดโดย Tinetti balance gait score และ Timed up and go test ในผู้สูงอายุ. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/30724
Title
ความสัมพันธ์ระหว่างการทดสอบการเดินต่อเท้ากับความเสี่ยงต่อการล้มวัดโดย Tinetti balance gait score และ Timed up and go test ในผู้สูงอายุ
Alternative Title(s)
Relationship between tandem walk test and the risk of falls measured by Tinetti balance gait score and Timed up and go test in the elderly
Other Contributor(s)
Abstract
วัตถุประสงค์: การศึกษานี้ทำเพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถในการเดินต่อเท้า(วัดโดยการนับจำนวนครั้งของความผิดพลาดและ เวลาในการเดินต่อเท้า) กับความเสี่ยงต่อการล้มของผู้สูงอายุที่ไม่มีประวัติการล้ม (วัดโดย Tinetti balance gait score และ Timed up and go test) ผู้เข้าร่วมการวิจัย: ผู้สูงอายุไทยเพศหญิง อายุเฉลี่ย 69.61±4.55 ปี จำนวน 26 คนเข้าร่วมการศึกษาครั้งนี้ วิธีการวิจัย: ทำการสุ่มลำดับการทดสอบ ความสามารถในการเดินต่อเท้า, Timed up and go test และ Tinetti balance and gait score วิเคราะห์ผล: หาค่าสหสัมพัธ์ Pearson จากโปรแกรม SPSS release 14, โดยใช้ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ค่า p & 0.005 ผลการวิจัย: พบความสัมพันธ์ระหว่าง เวลาที่ใช้ในการเดินต่อเท้าและ Tinetti balance and gait score อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ, r = 0.42 (p 0.05) และไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถในการเดินต่อเท้าและ เวลาจาก Timed up and go test สรุปผลการวิจัย: ระยะเวลาในการเดินต่อเท้ามีความสัมพันธ์กับการประเมินการทรงตัวและเดินจาก Tinetti balance and gait score การประยุกต์ใช้: Tinetti balance and gait score เป็นตัวแปรที่มีการศึกษาแนะนำว่าสามารถใช้ทำนายความเสี่ยงต่อการล้มได้ ดังนั้นการทดสอบด้วยการเดินต่อเท้าจึงเป็นวิธีที่สามารถนำมาใช้ตรวจประเมินความสามารถในการทรงตัวทางคลินิกเบื้องต้นได้ เพื่อป้องกันการล้มและส่งเสริมสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ
Description
การประชุมวิชาการกายภาพบำบัดแห่งชาติ ครั้งที่ 3 เรื่อง กายภาพบำบัดเพื่อส่งเสริมชีวิต. โรงแรมมิราเคลิล แกรนด์ คอนเวนชั่น, กรุงเทพฯ. 2-4 พฤษภาคม 2554