PT-Proceeding Document

Permanent URI for this collection

Browse

Recent Submissions

Now showing 1 - 10 of 78
  • Thumbnail Image
    Item
    ผลทันทีของการฝึกถ่ายน้ำหนักโดยใช้อุปกรณ์ฝึกการทรงตัวที่มีการป้อนข้อมูลแบบย้อนกลับในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง
    (2564) ภาพวิจิตร เสียงเสนาะ; พรพิรณุ ฝึกศิลป์; นัฐพร อินทวชิรารัตน์; Phapvijid Seangsanor; Pornpiroon Phuegsilp; Nattapporn Intawachirarat; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะกายภาพบำบัด
    ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองส่วนใหญ่มีความสามารถในการยืนทรง ตัวลดลง ทำให้มีความเสี่ยงที่จะล้มได้ง่ายการรักษาทางกายภาพบาบัดจะใช้ การฝึกการทรงตัวโดยให้ผู้ป่วยถ่ายน้ำหนักไปในทิศทางต่าง ๆ อย่างไรก็ตาม นักกายภาพบำบัดอาจเลือกระดับความยากในการถ่ายน้ำหนักไม่เพียงพอที่จะ ทำให้เกิดการพัฒนาความสามารถในการยืนทรงตัว การใช้อุปกรณ์ฝึกการทรง ตัวที่มีการป้อนข้อมูลแบบย้อนกลับที่สามารถช่วยให้ผู้ป่วยถ่ายน้ำหนักไป ได้มากที่สุดโดยที่ไม่ล้ม น่าจะช่วยเพิ่มความสามารถในการทรงตัวได้มากขึ้น การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลทันทีของฝึกการทรงตัวที่มีการป้อน ข้อมูลแบบย้อนกลับต่อความสามารถในการถ่ายน้ำหนัก มีผู้เข้าร่วมงานวิจัยนี้ จำนวน 4 คน ผู้ป่วยยืนบนอุปกรณ์ฝึกการทรงตัวที่วัดความสามารถในการถ่าย น้ำหนักไปในทิศทางต่าง ๆ ได้แก่ หน้า หลัง ซ้ายและขวา โดยใช้ข้อเท้า จำนวน 2 รอบ จากนั้นนำค่าที่ได้มาคำนวณหาพื้นที่ต่อมาให้ผู้ป่วยฝึกถ่าย น้ำหนัก โดยฝึกถ่ายน้ำหนัก 5 ครั้ง และมีเวลาพัก 1 นาทีระหว่างการฝึกแต่ละ ครั้ง ผู้วิจัยเก็บข้อมูลความสามารถในการถ่ายน้ำหนักก่อนและหลังการฝึก ผลการวิจัยพบว่าผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองมีความสามารถในการถ่าย น้ำหนักเพิ่มขึ้นทุกคน โดยคิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 97.5 (ต่ำสุดคิดเป็นร้อยละ 47.8 และสูงสุดคิดเป็นร้อยละ 143.2)
  • Thumbnail Image
    Item
    ผลการรักษาทางกายภาพบำบัดร่วมกับการกระตุ้นสมองด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้า
    (2564) ขนิษฐา จิตรอารี; ศุภลักษณ์ พรมศร; สุธางค์ ตัณทนาวิวัฒน์; สกาวรัตน์ เตชทวีทรัพย์; ภาพวิจิตร เสียงเสนาะ; สุธิดา สกุลกรุณา; อรรณพัฑฒ์ บุญจันทร์; จารุกูล ตรีไตรลักษณะ; Khanitha Jitaree; Supaluk Promsorn; Sutang Tantanavivat; Sakaowrat Techataweesub; Phapvijid Seangsanor; Sutida Mingsoongnern; Annapat Boonchan; Jarugool Tretriluxana; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะกายภาพบำบัด
    ในปัจจุบันมีการพัฒนาเทคโนโลยีสมัยใหม่ เช่น Transcranial magnetic stimulation (TMS) นำมาใช้ร่วมกับการรักษามาตรฐานเพื่อการ รักษาผู้ป่วยที่ได้รับผลกระทบจากโรคหลอดเลือดสมอง จากการศึกษาที่ผ่าน มาพบว่า การใช้เครื่องกระตุ้นสมองด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้าแบบความถี่ต่ำ ร่วมกับเทคนิคการรักษาทางกายภาพบำบัดแบบเฉพาะเจาะจงในผู้ป่วยโรค หลอดเลือดนั้น มีส่วนช่วยพัฒนาความสามารถในการใช้งานแขนด้านที่อ่อน แรงและช่วยให้ความสามารถคงค้างไว้ได้มากกว่าการฝึกทางกายภาพบำบัด เพียงอย่างเดียว7-9 ทางศูนย์กายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล ได้เปิด ให้บริการคลินิกการรักษาทางกายภาพบำบัดร่วมกับการกระตุ้นสมองด้วย TMS มากกว่า 6 เดือน เพื่อศึกษาผลลัพธ์การให้บริการที่ผ่านมาส่งผลต่อการ ฟื้นฟูผู้ป่วยได้มากน้อยเพียงใดและนำไปสู่การปรับปรุงการดำเนินงานและการ ฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองของทางคลินิกในอนาคต โดยศึกษาผลการ ฟื้นฟูสมรรถภาพของการใช้งานรยางค์แขนของผู้ป่วยที่มารับบริการ ณ คลินิก การรักษาทางกายภาพบำบัดร่วมกับการกระตุ้นสมองด้วย TMS ศูนย์ กายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล
  • Thumbnail Image
    Item
    การพัฒนาชุดโปรแกรมการออกกำลังกายที่บ้านสำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเรื้อรัง
    (2564) พรพิรุณ ฝึกศิลป์; สุธางค์ ตัณทนาวิวัฒน์; กาญจนา เนียมรุ่งเรือง; ภาพวิจิตร เสียงเสนาะ; Pornpiroon Phuegsilp; Sutang Tantanavivat; Kanjana Niemrungruang; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะกายภาพบาบัด. ศูนย์กายภาพบำบัด
    ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองมีอัตราการฟื้นตัวที่ลดลงหลัง 6 เดือน และคงยังต้องการพัฒนาความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันเพื่อให้ กลับไปใช้ชีวิตในสังคมได้ใกล้เคียงปกติที่สุด การให้โปรแกรมออกกำลังกาย กลับไปทำเองที่บ้านเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการฟื้นฟูอย่างต่อเนื่อง พัฒนาระดับความสามารถทั้งการเดินและการทรงตัว ทั้งยังเป็นการช่วย ประหยัดค่าใช้จ่าย การวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อพัฒนาชุดท่าออกกำลังกายที่ บ้านสำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเรื้อรัง ซึ่งประกอบท่าออกกำลัง กายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัวซึ่งเป็นกล้ามเนื้อที่ ช่วยเพิ่มความมั่นคงของกระดูกสันหลังและเชิงกล้าม และกล้ามเนื้อขา 7 ท่า และท่าออกกำลังกายแบบจำเพาะเจาะจง ซึ่งเป็นการออกกำลังกายโดยการ ทำกิจกรรมที่ตรงกับเป้าหมายที่ต้องการฝึก 7 ท่า และมีการตรวจสอบความ เที่ยงตรงของเนื้อหา หาค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างจุดประสงค์กับท่าออก กำลังกาย ในการส่งเสริมความสามารถในการเดินและการทรงตัว และมีความ ปลอดภัยที่จะนาไปใช้ออกกำลังกายที่บ้าน โดยผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ใน การรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองจำนวน 5 ท่าน ผลการศึกษาพบว่าท่า ออกกาลังกายเพื่อเพิ่มกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัวและขา มีความสอดคล้องกับ จุดประสงค์ ท่าออกกำลังกายแบบจำเพาะเจาะจง มีการส่งเสริมความสามารถ ในการเดินและการทรงตัวทุกท่า อีกทั้งมีความปลอดภัยที่จะออกกำลังกาย ด้วยตนเอง 6 ท่า แต่ยังไม่ปลอดภัย 1 ท่า
  • Thumbnail Image
    Item
    ผลกระทบของความปกติใหม่ (New Normal) จากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)ที่มีต่อคุณภาพชีวิตนักศึกษาในหลักสูตรนานาชาติ คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล
    (2564) รุ่งทิพย์ พงษ์อัคคศิรา; เอกนรินทร์ โชคนาคะวโร; ภครตี ชัยวัฒน์; Rungtip Pongakasira; Akenarin Chocknakawaro; Pakaratee Chaiyawat; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะกายภาพบำบัด
    การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบของความปกติใหม่ ที่ มีต่อคุณภาพชีวิตนักศึกษาในหลักสูตรนานาชาติ คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล กลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษาหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต และหลักสูตรวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต จำนวน 32 คน เก็บข้อมูลโดยใช้ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ประกอบด้วย สถิติเชิงพรรณนาและสถิติอนุมาน ทดสอบสมมุติฐานความแตกต่างและความสัมพันธ์ ผลการวิจัยพบว่า ความ คิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยภายในองค์กรในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ความ คิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยภายนอกในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และความ คิดเห็นเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ผลการวิเคราะห์ความ แตกต่าง พบว่า ปัจจัยภายนอกด้านกายภาพและสิ่งแวดล้อม สังคมและ เศรษฐกิจ และเทคโนโลยี ให้ระดับความคิดเห็นต่อคุณภาพชีวิตนักศึกษาโดย ภาพรวมแตกต่างกัน ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์พบว่า ปัจจัยภายในองค์กร ด้านการเรียนการสอน ด้านอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อมมีความสัมพันธ์กับ คุณภาพชีวิตนักศึกษาด้านกายภาพและสิ่งแวดล้อม ปัจจัยภายในองค์กรด้าน สังคม ด้านอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อม มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิต นักศึกษาด้านสังคม ปัจจัยภายนอกด้านสังคมและเศรษฐกิจ ด้านเทคโนโลยี มี ความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตนักศึกษาด้านกายภาพและสิ่งแวดล้อม และ ปัจจัยภายนอกด้านสังคมและเศรษฐกิจ มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิต นักศึกษาด้านสังคม
  • Thumbnail Image
    Item
    การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจศึกษาต่อระดับปริญญาโทหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชากายภาพบำบัดคลินิก คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล ของนักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 4
    (2564) สุทธิวรรณ เหมือนโพธิ์; วนิดา แก้วชะอุ่ม; อารีรัตน์ งามขำ; Sutiwan Muenpo; Wanida Kaewchaaum; Areerat Ngamkhum; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะกายภาพบำบัด
    การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจศึกษาต่อระดับปริญญาโท หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชากายภาพบำบัดคลินิก คณะ กายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล ของนักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 4 จำนวน 2 สถาบัน 46 คน การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผล ต่อการตัดสินใจศึกษาต่อระดับปริญญาโทหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต โดยใช้แบบสอบถามทางออนไลน์ ได้ผลการศึกษาดังนี้ ความต้องการศึกษาต่อระดับหลังปริญญาของผู้ตอบแบบสอบถาม มี ความไม่แน่ใจ ในการเข้าศึกษาต่อ มีแนวโน้มหรือต้องการที่จะตัดสินใจศึกษา ต่อระยะเวลามากกว่า 2 ปีหลังจบปริญญาตรี สาเหตุของการศึกษาต่อใน อนาคตคือการได้รับความรู้เพิ่มขึ้น การตัดสินใจศึกษาต่อระดับปริญญาโทด้วย ตนเอง มีความสนใจเข้าศึกษาต่อหลักสูตรภาษาไทย โดยมุ่งเน้นทางด้านการ ฝึกปฏิบัติงานทางคลินิก เรียนวันเสาร์-วันอาทิตย์ (เวลา: 9.00-16.00 น.) มี ความสนใจเรียนแบบออนไลน์ ซึ่งเป็นการเรียนสะสมในบางรายวิชาหรือบาง หัวข้อ ค่าธรรมเนียมตลอดหลักสูตรมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจศึกษาต่อ ต่ำกว่า 50,000 บาท
  • Thumbnail Image
    Item
    การศึกษาความพึงพอใจและองค์ประกอบสำคัญในการให้ทุนจากลูกค้าพันธกิจวิจัย
    (2561) วนิดา แก้วชะอุ่ม; จารุกูล ตรีไตรลักษณะ; Wanida Kaewchaaum; Jarugool Tretrluxana; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะกายภาพบำบัด
    เนื่องด้วยด้านวิจัยเป็นยุทธศาสตร์หลักของมหาวิทยาลัยมหิดลและ คณะกายภาพบำบัด ฝ่ายวิจัยเห็นถึงความสำคัญของความต่อเนื่องยั่งยืนของ งานวิจัย และการตอบโจทย์เกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็น เลิศจึงต้องการประเมินความพึงพอใจและความผูกพันของลูกค้าฝ่ายวิจัย หนึ่ง ในนั้นคือแหล่งทุนวิจัยภายนอกซึ่งจะเป็นตัวกลางในการส่งมอบนวัตกรรมหรือ ชิ้นงานให้กับภาคเอกชนและหรือชุมชนหรือเป็นเจ้าของชิ้นงานผู้วิจัยจึงจัดทำ แบบสอบถามความพึงพอใจของแหล่งทุน (Funding Agency Satisfaction Survey) ซึ่งมีการนำแบบสอบถามความพึงพอใจของแหล่งทุนฉบับกลางของ มหาวิทยาลัยมหิดล ฉบับภาษาไทยและภาษาอังกฤษ มาปรับปรุงเพิ่มเติมข้อ คำถามที่เหมาะสม กับสภาพแวดล้อมของคณะกายภาพบำบัด โดยนำเข้าที่ ประชุมคณะกรรมการฝ่ายวิจัย เพื่อปรับปรุงข้อคำถาม ให้ข้อคำถามให้เป็นเชิง บวก ข้อคำถามไม่ชี้นำการตอบคำถามและไม่เปิดเผยข้อมูลของนักวิจัย ความพึงพอใจในภาพรวมของแหล่งทุนวิจัยภายนอกที่มีต่อนักวิจัยและ นโยบายของคณะกายภาพบำบัด อยู่ในระดับมาก แหล่งทุนวิจัยภายนอก เห็นสมควรสนับสนุนนักวิจัย/ทีมงานของคณะกายภาพบำบัด อยู่ในระดับมาก หน่วยงานมีการสร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านการวิจัยและหน่วยงานมี การบูรณาการการวิจัยกับการเรียนการสอนและการบริการวิชาการเพื่อความ ยั่งยืน อยู่ในระดับมาก
  • Thumbnail Image
    Item
    ผลการเปรียบเทียบทัศนคติของผู้เข้ารับบริการต่อการได้รับการรักษาโดยนักศึกษากายภาพบำบัดชั้นปีที่ 3 และชั้นปี 4 ในปีการศึกษา 2560
    (2561) ศิริวรรณ ยศสูงเนิน; ปทิตตา มีหนุน; พีร์มงคล วัฒนานนท์; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะกายภาพบำบัด
    การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลด้าน เพศ อายุ ระดับการศึกษา และสิทธิการรักษา กับทัศนคติของผู้เข้ารับบริการต่อการได้รับการรักษาโดยนักศึกษากายภาพบำบัดชั้นปีที่ 3 และชั้นปีที่ 4 โดยใช้แบบสอบถาม ซึ่งสามารถเก็บข้อมูลได้ทั้งสิ้น จำนวน 106 ชุด ผลของการหาความสัมพันธ์ของปัจจัยส่วนบุคคลกับทัศนคติของผู้เข้ารับบริการต่อการได้รับการรักษาโดยนักศึกษากายภาพบำบัดพบว่าไม่มีความสัมพันธ์กันผลการเปรียบเทียบข้อมูลด้านทัศนคติของผู้เข้ารับบริการต่อการได้รับการรักษาโดยนักศึกษากายภาพบำบัด พบว่าทัศนคติของผู้เข้ารับบริการเกี่ยวกับนักศึกษาในเรื่องด้านความสามารถในการอธิบายข้อมูลเกี่ยวกับโรค อาการ และวิธีการรักษาทางกายภาพบำบัดจากการตรวจร่างกาย และ ความสามารถในการตรวจประเมินทั้งก่อนและหลังการรักษาอย่างเป็นขั้นตอนเพื่อประเมินผลการรักษา ระหว่างนักศึกษาชั้นปีที่ 3 และ 4 มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ( p 0.003 ,=p 0.001) โดยนักศึกษาชั้นปีที่ 4 จะ ได้รับคะแนนด้านทัศนคติที่ดีมากกว่าชั้นปีที่ 3
  • Thumbnail Image
    Item
    ความสัมพันธ์ของท่าทางกระดูกสันหลังระดับคอ-อกและมุมการเคลื่อนไหวของคอในผู้ป่วยปวดคอ
    (2561) ลดาวรรณ เติมวรกุล; วรรณเพ็ญ จันทร์ศิรินุเคราะห์; เยาวภา ใจรักดี; ภิมุกข์ สิงห์พิทักษ์; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะกายภาพบำบัด
    งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของท่าทางของ กระดูกสันหลังระดับคอ-อกและมุมการเคลื่อนไหวของคอในผู้ป่วยปวดคอ งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาย้อนหลัง ข้อมูลที่ศึกษาได้จากแบบบันทึกการตรวจ ร่างกายบริเวณคอ ของศูนย์กายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล ในช่วง พ.ศ. 2557-2559 การตรวจร่างกายและบันทึกผลการตรวจร่างกายผู้ป่วยกระทำ โดยนักกายภาพบำบัด ข้อมูลที่วิเคราะห์ ได้แก่ ท่าทางของกระดูกสันหลัง ระดับคอ-อก (หมายถึง ท่าทางที่ศีรษะยื่นด้านหน้า กระดูกสันหลังระดับอกที่ โก่งกว่าปกติ และลักษณะไหล่ห่อ) และมุมการเคลื่อนไหวในทิศก้มคอ เงยคอ เอียงคอ และหมุนคอ ข้อมูลในการวิเคราะห์รวบรวมจากผู้ป่วยใหม่ที่ปวดคอ จำนวน 165 คน อายุ 19-66 ปี ผู้วิจัยนำข้อมูลดังกล่าวมาวิเคราะห์ทางสถิติ โดยใช้การทดสอบไคสแควร์ ผลของงานวิจัยพบว่า ท่าทางที่ศีรษะยื่นด้านหน้า มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับกระดูกสันหลังระดับอกที่โก่งกว่า ปกติ (p=0.00) ลักษณะไหล่ห่อ (p=0.037) และมุมการเคลื่อนไหวของคอใน ทิศเงยคอ (p=0.042) ผลที่ได้จากงานวิจัยนี้สอดคล้องกับแนวคิดและงานวิจัย ก่อนหน้านี้
  • Thumbnail Image
    Item
    การพัฒนาการใช้แบบบันทึกการตรวจร่างกายทางกายภาพบำบัดทางระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ
    (2561) เดชวิน หลายศิริเรืองไร; นุชจรี ศิริ; ปรรณกร สังข์นาค; ภัทรจรี จันทร์ศิริ; ภิมุกข์ สิงห์พิทักษ์; ศิริวรรณ ยศสูงเนิน; ชมพูนุท สุวรรณศรี; วรรณเพ็ญ จันทร์ศิรินุเคราะห์; ประเสริฐ สกุลศรีประเสริฐ; พีร์มงคล วัฒนานนท์; มัณพนา วงศ์ศิรินวรัตน์; นพกฤษฎิ์ วัชรเลิศฐิติกุล; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะกายภาพบำบัด
    การให้บริการทางกายภาพบำบัดนั้น การตรวจประเมินร่างกายเป็น ขั้นตอนแรกและสำคัญที่จะนำไปสู่การวินิจฉัยและรักษาที่ถูกต้อง ดังนั้นแบบ บันทึกการตรวจร่างกายทางกายภาพบำบัดจึงได้รับการพัฒนาขึ้น ขั้นตอนเริ่มจากการทบทวนข้อมูลทางเวชสถิติ ซึ่งสามารถแบ่งกลุ่ม แบบบันทึกได้ 5 แบบ คือ 1) คอ 2) ข้อไหล่ 3) หลังส่วนล่าง 4) ข้อสะโพกและ เชิงกราน 5) ข้อเข่า ทบทวนวรรณกรรมพัฒนาแบบบันทึก นำเสนอรูปแบบ การใช้ และนำมาใช้กับคนไข้ เพื่อเก็บข้อมูลและพัฒนาต่อเนื่อง ผลลัพธ์ที่ได้ แบบบันทึกการตรวจร่างกายมีการปรับปรุงและพัฒนา มาหลายขั้นตอนซึ่งสอดคล้องกับมาตรฐานการบริการทางกายภาพบำบัดและ การใช้ได้จริง จนได้แบบบันทึกฉบับล่าสุดที่รอดำเนินการจดลิขสิทธิ์ และมีการ ใช้แบบบันทึกมากกว่าร้อยละ 70 ในปี 2559 และ 2560 เกิดงานวิจัย 4 เรื่อง และมีการจัดทำแนวทางการรักษาผู้ป่วยในโรคข้อเข่าเสื่อม แนวทางการพัฒนาต่อไป โดยการพัฒนาแบบบันทึกการตรวจ ร่างกายทางกายภาพบำบัดในสาขาอื่น ๆ และการต่อยอดเป็นงานวิจัย R2R ทางคลินิก ซึ่งสามารถพัฒนาต่อยอดเป็นแนวทางการปฏิบัติงานที่ดีได้
  • Thumbnail Image
    Item
    การพัฒนาแบบสอบถามเพื่อประเมินทัศนคติของผู้เข้ารับบริการที่ได้รับการบริการโดยนักศึกษากายภาพบำบัด
    (2561) ปทิตตา มีหนุน; ศิริวรรณ ยศสูงเนิน; พีร์มงคล วัฒนานนท์; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะกายภาพบำบัด
    การพัฒนาแบบสอบถามนี้ทำไปเพื่อตอบคำถามงานวิจัยที่ต้องการ ศึกษาทัศนคติของผู้เข้ารับบริการที่ได้รับการบริการโดยนักศึกษา กายภาพบำบัด โดยทำการปรับปรุงแบบสอบถามระหว่างเดือนเมษายน 2559 – มีนาคม 2561 รวมทั้งสิ้น 3 ชุด มีส่วนประกอบทั้งสิ้น 3 ส่วน คือ ข้อมูล ทั่วไปของผู้เข้ารับบริการ พฤติกรรมการรับรู้ และทัศนคติของผู้เข้ารับบริการที่ มีต่อนักศึกษา แบบสอบถามชุดแรกจะใช้การเก็บข้อมูลโดยการใช้ Likert scale (LS) ชนิด 5 scale ทดสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากความเห็นของนัก กายภาพบำบัดที่มีประสบการณ์ในการควบคุมการฝึกปฏิบัติงานของนักศึกษา ไม่ต่ำกว่า 5 ปี จำนวน 10 ท่าน และทดสอบค่าความเชื่อมันของแบบสอบถาม ได้ 0.86 แบบสอบถามชุดที่สองพัฒนาขึ้นโดยการปรับการเก็บข้อมูลที่เป็น LS ชนิด 5 scale มาเป็นแบบ 2 scale เพื่อลดความสับสน ตัดข้อคำถามที่ไม่ เกี่ยวข้องกับวัตถุประสงค์ของการศึกษาออก แบบสอบถามชุดที่สาม มีการ ปรับปรุงการเก็บข้อมูลจาก LS มาเป็นแบบ Visual analog scale เพื่อให้ สามารถทราบแนวโน้มของข้อมูลได้ มีการปรับเปลี่ยนข้อคำถามให้สอดคล้อง กับมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาของนักศึกษากายภาพบำบัด