An assessment on land use change and coastal erosion in Hua Hin district, Prachuab Kiri Khan province, Thailand
Issued Date
2017
Copyright Date
2017
Resource Type
Language
eng
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
xi, 76 leaves : ill.
Access Rights
open access
Rights
ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
Rights Holder(s)
Mahidol University
Bibliographic Citation
Thesis (M.Sc. (Technology of Environmental Management))--Mahidol University, 2017
Suggested Citation
Anchisa Tongtavesirikul An assessment on land use change and coastal erosion in Hua Hin district, Prachuab Kiri Khan province, Thailand. Thesis (M.Sc. (Technology of Environmental Management))--Mahidol University, 2017. Retrieved from: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/92372
Title
An assessment on land use change and coastal erosion in Hua Hin district, Prachuab Kiri Khan province, Thailand
Alternative Title(s)
การประเมินการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินและการกัดเซาะชายฝั่ง อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ประเทศไทย
Author(s)
Abstract
For this study, the remote sensing and geographic information systems were applied to classify and predict land use and land use change including coastal erosion in Hua Hin District, Prachuab Khiri Khan province. It was found that the land use change between the year 2000 and 2014 was mostly located in urban and built-up land, and it increased from 20.62 % to 36.58 % of total study area. Meanwhile, the agricultural area decreased from 31.30 % to 12.61 % of total study area. The prediction of the land use pattern in 2024 found that urban and built-up area would increase to 29.76 square kilometers or 40.37 % of total study area. The coastal erosion along Hua Hin beach (22 kilometers) between the year 2003 and 2014 was identified as stable situation (coastal change not more than 5 kilometers per year). However, the coastal erosion seriously occurred between kilometer's 8 to 9 of the beach. Most of the land use patterns within this area included airport, hotels, resorts, and jetty where a short beach was located. Thus, if trend of the land use change remains within those patterns, especially the rapid increasing of urban and built-up area without any better management, the coastal erosion might be worse. Therefore, the impact on tourist resource and activities might also be tremendously lost in the next future.
ในการศึกษาครั้งนี้ได้ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการสำรวจระยะไกลร่วมกับระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ เพื่อจำแนกและคาดการณ์การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน การกัดเซาะชายฝั่ง และประเมินผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินและการกัดเซาะชายฝั่งของ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ผลจากการศึกษาการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินระหว่างปี พ.ศ. 2543 ถึง พ.ศ. 2557 พบว่า พื้นที่ที่มีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นมากที่สุด คือ พื้นที่ชุมชนและสิ่งปลูกสร้าง โดยเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 20.62 เป็นร้อยละ 36.58 ของพื้นที่ทั้งหมด และพื้นที่ที่มีการเปลี่ยนแปลงลดลงมากที่สุด คือ พื้นที่เกษตรกรรม โดยลดลงจากร้อยละ 31.30 เป็นร้อยละ 12.61 ของพื้นที่ทั้งหมด และผลจากการคาดการณ์แนวโน้มการใช้ที่ดิน พบว่า ในปี พ.ศ. 2567 พื้นที่ที่อยู่อาศัยและสิ่งปลูกสร้างจะมีพื้นที่ประมาณ 29.76 ตารางกิโลเมตรหรือร้อยละ 40.37 ของพื้นที่ทั้งหมด จากการวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงชายฝั่งระหว่างปี พ.ศ. 2546 ถึง พ.ศ. 2557 พบว่า บริเวณชายหาดหัวหิน (ประมาณ 22 กม.) ส่วนใหญ่เป็นชายหาดที่มีเสถียรภาพ (การเปลี่ยนแปลงชายฝั่งไม่เกิน 5 เมตรต่อปี) มีการกัดเซาะสูงสุดเกิดขึ้นระหว่างกิโลเมตรที่ 7 ถึง 8 ของ พื้นที่ศึกษา โดยลักษณะและรูปแบบการใช้ที่ดินในพื้นที่ดังกล่าว ได้แก่ สนามบิน โรงแรม รีสอร์ท และ สะพานปลา บริเวณนี้ มีหาดทรายสั้น ๆ และมีการก่อสร้างกำแพงป้องกันคลื่น/ป้องกันตลิ่งพัง โดยเฉพาะบริเวณสนามบินหัวหิน ดังนั้น หากปล่อยให้การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินโดยเฉพาะพื้นที่ชุมชนและสิ่งปลูกสร้างซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยขาดการจัดการที่เหมาะสมแล้ว การกัดเซาะชายฝั่งก็จะทวีความรุนแรงมากขึ้น อันจะส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยวอันเป็นกิจกรรมหลักที่สำคัญของอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ได้ในอนาคต
ในการศึกษาครั้งนี้ได้ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการสำรวจระยะไกลร่วมกับระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ เพื่อจำแนกและคาดการณ์การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน การกัดเซาะชายฝั่ง และประเมินผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินและการกัดเซาะชายฝั่งของ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ผลจากการศึกษาการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินระหว่างปี พ.ศ. 2543 ถึง พ.ศ. 2557 พบว่า พื้นที่ที่มีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นมากที่สุด คือ พื้นที่ชุมชนและสิ่งปลูกสร้าง โดยเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 20.62 เป็นร้อยละ 36.58 ของพื้นที่ทั้งหมด และพื้นที่ที่มีการเปลี่ยนแปลงลดลงมากที่สุด คือ พื้นที่เกษตรกรรม โดยลดลงจากร้อยละ 31.30 เป็นร้อยละ 12.61 ของพื้นที่ทั้งหมด และผลจากการคาดการณ์แนวโน้มการใช้ที่ดิน พบว่า ในปี พ.ศ. 2567 พื้นที่ที่อยู่อาศัยและสิ่งปลูกสร้างจะมีพื้นที่ประมาณ 29.76 ตารางกิโลเมตรหรือร้อยละ 40.37 ของพื้นที่ทั้งหมด จากการวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงชายฝั่งระหว่างปี พ.ศ. 2546 ถึง พ.ศ. 2557 พบว่า บริเวณชายหาดหัวหิน (ประมาณ 22 กม.) ส่วนใหญ่เป็นชายหาดที่มีเสถียรภาพ (การเปลี่ยนแปลงชายฝั่งไม่เกิน 5 เมตรต่อปี) มีการกัดเซาะสูงสุดเกิดขึ้นระหว่างกิโลเมตรที่ 7 ถึง 8 ของ พื้นที่ศึกษา โดยลักษณะและรูปแบบการใช้ที่ดินในพื้นที่ดังกล่าว ได้แก่ สนามบิน โรงแรม รีสอร์ท และ สะพานปลา บริเวณนี้ มีหาดทรายสั้น ๆ และมีการก่อสร้างกำแพงป้องกันคลื่น/ป้องกันตลิ่งพัง โดยเฉพาะบริเวณสนามบินหัวหิน ดังนั้น หากปล่อยให้การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินโดยเฉพาะพื้นที่ชุมชนและสิ่งปลูกสร้างซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยขาดการจัดการที่เหมาะสมแล้ว การกัดเซาะชายฝั่งก็จะทวีความรุนแรงมากขึ้น อันจะส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยวอันเป็นกิจกรรมหลักที่สำคัญของอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ได้ในอนาคต
Description
Technology of Environmental Management (Mahidol University 2017)
Degree Name
Master of Science
Degree Level
Master's degree
Degree Department
Faculty of Environment and Resource Studies
Degree Discipline
Technology of Environmental Management
Degree Grantor(s)
Mahidol University