Effects of dietary counseling on the nutritional status of chronic renal failure patients undergoing chronic hemodialysis
Issued Date
2023
Copyright Date
1996
Language
eng
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
xviii, 221 leaves : ill.
Access Rights
restricted access
Rights Holder(s)
Mahidol University
Bibliographic Citation
Thesis (M.Sc. (Nutrition))--Mahidol University, 1996
Suggested Citation
Jarunee Thirawitayakom Effects of dietary counseling on the nutritional status of chronic renal failure patients undergoing chronic hemodialysis. Thesis (M.Sc. (Nutrition))--Mahidol University, 1996. Retrieved from: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/90788
Title
Effects of dietary counseling on the nutritional status of chronic renal failure patients undergoing chronic hemodialysis
Alternative Title(s)
ผลของการให้คำแนะนำอาหารต่อภาวะโภชนาการของผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่ได้รับการรักษาโดยการฟอกเลือด
Author(s)
Advisor(s)
Abstract
Although nutritional support is important for Chronic Renal Failure (CRF) patients, it has been neglected in most patients undergoing hemodialysis (HD). Dietary intake in these patients is often inadequate and leads to malnutrition. Impaired nutritional status is usually associated with increased morbidity and mortality. Therefore, this study was performed to evaluate the base-line nutritional status and the effects of dietary counseling on the nutritional status in chronic HD patients. The study was divided into 2 parts. Part I (the base-line study) was aimed to study the prevalence of malnutrition in the chronic hemodialysis patients. Part 11 was a prospective study to evaluate the effectiveness of dietary counseling on the nutritional status of chronic HD patients. The base-line nutritional status was evaluated in 27 seven patients undergoing chronic hemodialysis at Ramathibodi Hospital. The effects of dietary counseling were studied in 21 HD patients. From 8th week to 16th week individual dietary counseling was regularly given. Patients were advised on a dietary intake of 35-40 kcal and 1.0-1.2 g protein per kg ideal body weight (IBW) /day. Nutritional status was reassess before (wk 8) and two months after counseling (wk 16). Base-line dietary assessment revealed the average daily intake of men and women to be 23+5 and 29+8 kcal, and 0.7+0.2 and 0.8+0.3 9 protein/kglBW/d respectively (mean+SD). The frequency of inadequate calorie and/or protein intake was 85% in both groups. The average daily thiamin, riboflavin ascorbic acid and retinol intake covered 76-93% of the requirement. Zinc intake was also low in both male and female (3.9(+,-)0.7 and 3.3+0.9 mg/d). Anthropometric data showed that 74%, 70%, 52% and 37% of these patients had %std triceps skinfold (TSF), %std mid-upper arm circumference (MUAC), %std IBW and body mass index (BMI) less than the minimal cut-off levels. These data confirm the high frequency of energy depletion in these patients. Visceral proteins and lipid profile were normal. However, half of the patients suffered from low albumin levels. Whereas thiamin pyrophosphate effect (TPPE), erythrocyte glutathione reductase activity coeffcient (EGRAC), serum ascorbate and (...)-tocopherol were normal, toxic levels of serum retinol were seen in most patients. Most patients had normal serum copper level. On the other hand, mean serum zinc was low (65(+,-)19 (...)g/dL) and depleted serum zinc levels were found in 78% of patients. After 8 weeks of dietary counseling, the protein and energy intake were significantly increased (protein: 0.7 (+,-) 0.2 vs. 0.9 + 0.2 g/kg IBW/day, and energy: 24(+,-)4 vs. 27 (+,-)4 kcal/kg IBW/day, p<0.05). However, they were still lower than the recommendations while vitamin intake was slightly improved but mineral intake was not changed. Whereas % ideal body weight and %Std triceps skinfold thickness were unchanged, %Std mid-upper arm circumference and, %Std mid-upper arm muscle circumference were increased (86(+,-)12 vs. 88(+,-)12, and 100(+,-)14 vs. 102(+,-)14, p<0.05) after dietary counseling. Visceral proteins and lipid profile were normal in both periods. After dietary counseling, erythrocyte transketorase (ETKA), erythrocyte glutathione reductase activity (EGRA) and TPPE and EGRAC were improved while hypervitaminosis A was unchanged. While serum copper was normal during both periods, serum zinc level remained low after diet counseling whereas vitamin A supplementation in these patients should be discouraged, zinc supplementation must be considered. This study disclosed a wide spectrum of nutritional problems usually overlooked in CRF patients undergoing chronic hemodialysis. Regular programmed of dietary counseling and continuous evaluation are necessary and useful for HD patients to maintain a good nutritional status.
แม้ว่าการให้โภชนบำบัดจะเป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่าง หนึ่งในผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังที่ได้รับการรักษาโดยการฟอก เลือด แต่ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะละเลยถึงความสำคัญนี้ การ รับประทานอาหารในผู้ป่วยเหล่านี้มักจะไม่เพียงพอจึงทำให้ เกิดภาวะทุโภชนาการ ซึ่งมีผลทำให้อัตราการตายในผู้ป่วย เหล่านี้เพิ่มขึ้น ดังนั้นการศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ ประเมินภาวะโภชนาการในผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาโดยการ ฟอกเลือด และผลของการให้คำแนะนำอาหารที่ถูกต้องต่อ ภาวะโภชนาการของผู้ป่วยเหล่านี้ การศึกษานี้แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกเป็นการศึกษาถึงความชุกของการเกิดปัญหา ทางโภชนาการในผู้ป่วยที่ได้รับการฟอกเลือดอย่างเรื้อรัง และส่วนที่สองเป็นการศึกษาถึงผลการให้คำแนะนำอาหาร ต่อการเปลี่ยนแปลงของภาวะโภชนาการในผู้ป่วยเหล่านี้ ส่วนแรกประกอบด้วยผู้ป่วย 27 คนที่มาฟอกเลือดที่โรงพยาบาล รามาธิบดีได้รับการประเมินภาวะโภชนาการในวันแรกที่เริ่ม ทำการศึกษา (สัปดาห์ที่ 0) ส่วนผลของการให้คำแนะนำ อาหารที่ถูกต้องได้ทำการศึกษาในผู้ป่วยจำนวน 21 คน เริ่ม จากสัปดาห์ที่ 8 (ก่อนให้คำแนะนำอาหาร) จนถึงสัปดาห์ที่ 16 (หลังให้คำแนะนำอาหาร) ผู้ป่วยทั้ง 21 คนจะได้รับคำแนะนำ อาหารเป็นรายบุคคลอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง ผู้ป่วยทุกคน จะได้รับคำแนะนำให้รับประทานอาหารที่ให้พลังงาน 35-40 กิโลแคลอรี และโปรตีน 1.0-1.2 กรัม ต่อทุก 1 กิโลกรัม ของน้ำหนักตัวที่ควรจะเป็น ต่อวัน ผู้ป่วยจะได้รับการประเมิน ภาวะโภชนาการก่อนให้คำแนะนำอาหาร (สัปดาห์ที่ 8) และ หลังจากให้คำแนะนำอาหารแล้วเป็นเวลา 8 สัปดาห์ (สัปดาห์ ที่ 16) ผลจากการประเมินอาหารในสัปดาห์ที่ 0 พบว่า ผู้ป่วย ชายและหญิงรับประทานอาหารที่ให้พลังงานโดยเฉลี่ย 23(+,-)5 และ 29(+,-)8 กิโลแคลอรี (mean(+,-)SC), และโปรตีน 0.7(+,-)0. 2 และ 0.8(+,-)0.3 กรัม ต่อทุก 1 กิโลกรัม ของน้ำหนักตัวที่ควรจะเป็นต่อวันตามลำดับ ร้อยละ 85 ของ ผู้ป่วยรับประทานอาหารที่ให้พลังงานและ/หรือโปรตีนไม่ เพียงพอ ค่าเฉลี่ยของการบริโภควิตามินบีหนึ่ง, บีสอง, ซี และ เอ คิดเป็นร้อยละ 76-93 ของความต้องการวิตามิน ในแต่ละวัน ร้อยละ 56-78 ของผู้ป่วยได้รับอาหารที่มี วิตามินไม่เพียงพอ ผู้ป่วยกลุ่มนี้มีการบริโภคธาตุสังกะสี ในปริมาณที่ต่ำมากทั้งในผู้ป่วยหญิงและชาย (หญิง : 3.9(+,-)0.7 และชาย : 3.3(+,-)0.9 มก./วัน) ข้อมูลจากการวัดสัดส่วน ของร่างกายบ่งชี้ว่า ร้อยละ 74, 70, 52 และ 37 ของผู้ป่วย 27 คน มีความหนาของไขมันใต้ผิวหนังบริเวณกึ่งกลางต้นแขน ด้านหลัง (TSF), เส้นรอบวงกึ่งกลางต้นแขน (MUAC), น้ำหนักตัวที่เป็นสัดส่วนของน้ำหนักที่ควรจะเป็น (%lBW) และ ดัชนีความหนาของร่างกาย (BMl) น้อยกว่าร้อยละ 90 ของ มาตราฐาน (%Std) ข้อมูลนี้ยืนยันถึงการรับประทานอาหารที่ ไม่เพียงพอของผู้ป่วยเหล่านี้ ความเข้มข้นโดยเฉลี่ยของโปรตีน และไขมันในเลือดอยู่ในระดับปกติ แต่อย่างไรก็ตามครึ่งหนึ่ง ของผู้ป่วยมีระดับของ albumin ในเลือดต่ำ ในขณะที่ดัชนี บ่งชี้การขาดวิตามินบีหนึ่ง และบีสอง (TPPE, EGRAC), วิตามินซี และวิตามินอีอยู่ในระดับปกติ ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีระดับ วิตามินเอในเลือดสูงจนถึงระดับที่เป็นพิษ ค่าเฉลี่ยของระดับ ธาตุทองแดงของผู้ป่วยส่วนใหญ่ปกติ ในทางตรงข้ามค่าเฉลี่ย ของธาตุสังกะสีในซีรัมต่ำกว่าปกติ (65(+,-)19 มคก./ดล.) และพบผู้ป่วยที่มีระดับของธาตุสังกะสีต่ำกว่าเกณฑ์ร้อยละ 78 หลังให้คำแนะนำนอาหารแล้วเป็นเวลา 8 อาทิตย์ พบว่าผู้ป่วย รับประทานอาหารที่ให้พลังงานและโปรตีนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัย สำคัญทางสถิติ (พลังงาน : wk 8 = 24(+,-)4; wk 16 = 27(+,-)4 กิโลแคลอรีต่อทุก 1 กิโลกรัมของน้ำหนักตัวที่ควร จะเป็นต่อวัน, และโปรตีน : wk 8 = 0.7(+,-)0.2 ; wk 16 = 0.9(+,-)0.2 กรัม/น้ำหนักตัวที่ควรจะเป็น 1 กิโลกรัม/วัน, p<0.05). อย่างไรก็ตามผู้ป่วยเหล่านี้ยังคงรับประทานอาหาร น้อยกว่าที่ได้รับคำแนะนำ ในขณะที่ปริมาณวิตามินที่ได้รับจาก อาหารดีขึ้นบ้างหลังจากได้รับคำแนะนำ แต่ปริมาณแร่ธาตุที่ ได้รับยังคงไม่เปลี่ยนแปลง ผลจากการวัดสัดส่วนของร่างกาย พบว่าในขณะที่ %std TSF, %lBW และ BMl ไม่เปลี่ยนแปลง MUAC และเส้นรอบวงกึ่งกลางกล้ามเนื้อต้นแขน (MUAMC) เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (86(+,-)12 เทียบกับ 88(+,-)12 %std และ 100(+,-)14 เทียบกับ 102(+,-)14 % std, ตามลำดับ p<0.05) โปรตีนและไขมันในเลือดอยู่ในระดับปกติ และไม่เปลี่ยนแปลงหลังให้คำแนะนำอาหารในขณะที่ระดับเอนไซม์ ETK กับ EGRA และ TPPE และ EGRAC ดีขึ้น ระดับของวิตามินเอ ในเลือดยังคงไม่เปลี่ยนแปลง ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีระดับของธาตุ ทองแดงในเลือดปกติ ในขณะที่ระดับของสังกะสีในเลือดยังคง ต่ำอยู่แม้ว่าจะได้รับคำแนะนำอาหารไปแล้ว ดังนั้นผู้ป่วยที่ ฟอกเลือดควรได้รับการเสริมธาตุสังกะสี แต่ควรหลีกเลี่ยง การเสริมวิตามินเอ ผลของการศึกษานี้แสดงให้เห็นถึงปัญหา ทางโภชนาการในผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่ได้รับการรักษาโดย การฟอกเลือด การให้คำแนะนำอาหารอย่างสม่ำเสมอร่วมกับ การประเมินภาวะทางโภชนาการอย่างต่อเนื่อง เป็นสิ่งที่มี ประโยชน์และจำเป็นสำหรับการช่วยแก้ปัญหาในผู้ป่วยเหล่านี้ เพื่อให้ผู้ป่วยมีภาวะโภชนาการและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
แม้ว่าการให้โภชนบำบัดจะเป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่าง หนึ่งในผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังที่ได้รับการรักษาโดยการฟอก เลือด แต่ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะละเลยถึงความสำคัญนี้ การ รับประทานอาหารในผู้ป่วยเหล่านี้มักจะไม่เพียงพอจึงทำให้ เกิดภาวะทุโภชนาการ ซึ่งมีผลทำให้อัตราการตายในผู้ป่วย เหล่านี้เพิ่มขึ้น ดังนั้นการศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ ประเมินภาวะโภชนาการในผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาโดยการ ฟอกเลือด และผลของการให้คำแนะนำอาหารที่ถูกต้องต่อ ภาวะโภชนาการของผู้ป่วยเหล่านี้ การศึกษานี้แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกเป็นการศึกษาถึงความชุกของการเกิดปัญหา ทางโภชนาการในผู้ป่วยที่ได้รับการฟอกเลือดอย่างเรื้อรัง และส่วนที่สองเป็นการศึกษาถึงผลการให้คำแนะนำอาหาร ต่อการเปลี่ยนแปลงของภาวะโภชนาการในผู้ป่วยเหล่านี้ ส่วนแรกประกอบด้วยผู้ป่วย 27 คนที่มาฟอกเลือดที่โรงพยาบาล รามาธิบดีได้รับการประเมินภาวะโภชนาการในวันแรกที่เริ่ม ทำการศึกษา (สัปดาห์ที่ 0) ส่วนผลของการให้คำแนะนำ อาหารที่ถูกต้องได้ทำการศึกษาในผู้ป่วยจำนวน 21 คน เริ่ม จากสัปดาห์ที่ 8 (ก่อนให้คำแนะนำอาหาร) จนถึงสัปดาห์ที่ 16 (หลังให้คำแนะนำอาหาร) ผู้ป่วยทั้ง 21 คนจะได้รับคำแนะนำ อาหารเป็นรายบุคคลอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง ผู้ป่วยทุกคน จะได้รับคำแนะนำให้รับประทานอาหารที่ให้พลังงาน 35-40 กิโลแคลอรี และโปรตีน 1.0-1.2 กรัม ต่อทุก 1 กิโลกรัม ของน้ำหนักตัวที่ควรจะเป็น ต่อวัน ผู้ป่วยจะได้รับการประเมิน ภาวะโภชนาการก่อนให้คำแนะนำอาหาร (สัปดาห์ที่ 8) และ หลังจากให้คำแนะนำอาหารแล้วเป็นเวลา 8 สัปดาห์ (สัปดาห์ ที่ 16) ผลจากการประเมินอาหารในสัปดาห์ที่ 0 พบว่า ผู้ป่วย ชายและหญิงรับประทานอาหารที่ให้พลังงานโดยเฉลี่ย 23(+,-)5 และ 29(+,-)8 กิโลแคลอรี (mean(+,-)SC), และโปรตีน 0.7(+,-)0. 2 และ 0.8(+,-)0.3 กรัม ต่อทุก 1 กิโลกรัม ของน้ำหนักตัวที่ควรจะเป็นต่อวันตามลำดับ ร้อยละ 85 ของ ผู้ป่วยรับประทานอาหารที่ให้พลังงานและ/หรือโปรตีนไม่ เพียงพอ ค่าเฉลี่ยของการบริโภควิตามินบีหนึ่ง, บีสอง, ซี และ เอ คิดเป็นร้อยละ 76-93 ของความต้องการวิตามิน ในแต่ละวัน ร้อยละ 56-78 ของผู้ป่วยได้รับอาหารที่มี วิตามินไม่เพียงพอ ผู้ป่วยกลุ่มนี้มีการบริโภคธาตุสังกะสี ในปริมาณที่ต่ำมากทั้งในผู้ป่วยหญิงและชาย (หญิง : 3.9(+,-)0.7 และชาย : 3.3(+,-)0.9 มก./วัน) ข้อมูลจากการวัดสัดส่วน ของร่างกายบ่งชี้ว่า ร้อยละ 74, 70, 52 และ 37 ของผู้ป่วย 27 คน มีความหนาของไขมันใต้ผิวหนังบริเวณกึ่งกลางต้นแขน ด้านหลัง (TSF), เส้นรอบวงกึ่งกลางต้นแขน (MUAC), น้ำหนักตัวที่เป็นสัดส่วนของน้ำหนักที่ควรจะเป็น (%lBW) และ ดัชนีความหนาของร่างกาย (BMl) น้อยกว่าร้อยละ 90 ของ มาตราฐาน (%Std) ข้อมูลนี้ยืนยันถึงการรับประทานอาหารที่ ไม่เพียงพอของผู้ป่วยเหล่านี้ ความเข้มข้นโดยเฉลี่ยของโปรตีน และไขมันในเลือดอยู่ในระดับปกติ แต่อย่างไรก็ตามครึ่งหนึ่ง ของผู้ป่วยมีระดับของ albumin ในเลือดต่ำ ในขณะที่ดัชนี บ่งชี้การขาดวิตามินบีหนึ่ง และบีสอง (TPPE, EGRAC), วิตามินซี และวิตามินอีอยู่ในระดับปกติ ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีระดับ วิตามินเอในเลือดสูงจนถึงระดับที่เป็นพิษ ค่าเฉลี่ยของระดับ ธาตุทองแดงของผู้ป่วยส่วนใหญ่ปกติ ในทางตรงข้ามค่าเฉลี่ย ของธาตุสังกะสีในซีรัมต่ำกว่าปกติ (65(+,-)19 มคก./ดล.) และพบผู้ป่วยที่มีระดับของธาตุสังกะสีต่ำกว่าเกณฑ์ร้อยละ 78 หลังให้คำแนะนำนอาหารแล้วเป็นเวลา 8 อาทิตย์ พบว่าผู้ป่วย รับประทานอาหารที่ให้พลังงานและโปรตีนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัย สำคัญทางสถิติ (พลังงาน : wk 8 = 24(+,-)4; wk 16 = 27(+,-)4 กิโลแคลอรีต่อทุก 1 กิโลกรัมของน้ำหนักตัวที่ควร จะเป็นต่อวัน, และโปรตีน : wk 8 = 0.7(+,-)0.2 ; wk 16 = 0.9(+,-)0.2 กรัม/น้ำหนักตัวที่ควรจะเป็น 1 กิโลกรัม/วัน, p<0.05). อย่างไรก็ตามผู้ป่วยเหล่านี้ยังคงรับประทานอาหาร น้อยกว่าที่ได้รับคำแนะนำ ในขณะที่ปริมาณวิตามินที่ได้รับจาก อาหารดีขึ้นบ้างหลังจากได้รับคำแนะนำ แต่ปริมาณแร่ธาตุที่ ได้รับยังคงไม่เปลี่ยนแปลง ผลจากการวัดสัดส่วนของร่างกาย พบว่าในขณะที่ %std TSF, %lBW และ BMl ไม่เปลี่ยนแปลง MUAC และเส้นรอบวงกึ่งกลางกล้ามเนื้อต้นแขน (MUAMC) เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (86(+,-)12 เทียบกับ 88(+,-)12 %std และ 100(+,-)14 เทียบกับ 102(+,-)14 % std, ตามลำดับ p<0.05) โปรตีนและไขมันในเลือดอยู่ในระดับปกติ และไม่เปลี่ยนแปลงหลังให้คำแนะนำอาหารในขณะที่ระดับเอนไซม์ ETK กับ EGRA และ TPPE และ EGRAC ดีขึ้น ระดับของวิตามินเอ ในเลือดยังคงไม่เปลี่ยนแปลง ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีระดับของธาตุ ทองแดงในเลือดปกติ ในขณะที่ระดับของสังกะสีในเลือดยังคง ต่ำอยู่แม้ว่าจะได้รับคำแนะนำอาหารไปแล้ว ดังนั้นผู้ป่วยที่ ฟอกเลือดควรได้รับการเสริมธาตุสังกะสี แต่ควรหลีกเลี่ยง การเสริมวิตามินเอ ผลของการศึกษานี้แสดงให้เห็นถึงปัญหา ทางโภชนาการในผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่ได้รับการรักษาโดย การฟอกเลือด การให้คำแนะนำอาหารอย่างสม่ำเสมอร่วมกับ การประเมินภาวะทางโภชนาการอย่างต่อเนื่อง เป็นสิ่งที่มี ประโยชน์และจำเป็นสำหรับการช่วยแก้ปัญหาในผู้ป่วยเหล่านี้ เพื่อให้ผู้ป่วยมีภาวะโภชนาการและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
Degree Name
Master of Science
Degree Level
Master's degree
Degree Department
Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital
Degree Discipline
Nutrition
Degree Grantor(s)
Mahidol University