พฤติกรรมในการแสวงหาบริการรักษาพยาบาลของชาวชนบทในประเทศไทย
Issued Date
2534
Resource Type
Language
tha
Rights
มหาวิทยาลัยมหิดล
Suggested Citation
ปิยธิดา ตรีเดช, พีระ ครึกครื้นจิตร, ศักดิ์สิทธิ์ ตรีเดช (2534). พฤติกรรมในการแสวงหาบริการรักษาพยาบาลของชาวชนบทในประเทศไทย. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/63619
Title
พฤติกรรมในการแสวงหาบริการรักษาพยาบาลของชาวชนบทในประเทศไทย
Other Contributor(s)
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงพฤติกรรมอนามยัในการแสวงหาบริการรักษาพยาบาลของชาวชนบทในประเทศไทย หลังจากมีการดำเนินงานสาธารณสุขมูลฐานมาแล้วประมาณ 8 ปี ทำการวิจัยโดยสัมภาษณ์ (ตามแบบสอบถามที่สร้างขึ้น) หัวหน้าครัวเรือนหรือผู้แทน จำนวน 2,400 คน จาก 24 หมู่บ้าน ใน 8 จังหวัด 4 ภาคของประเทศไทย โดยใช้การสุ่มตัวอย่าง อย่างเป็นขั้นตอน และเป็นหมู่บ้านที่มีการดำเนินงานกองทุนยาและเวชภัณฑ์ประจำหมู่บ้าน มี อสม.และ ผสส. ในหมู่บ้านไม่น้อยกว่า 1 ปี โดยมีเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเป็นผู้ช่วยนักวิจัย จากจำนวนแบบสอบถามที่มีความสมบูรณ์และนำมาวิเคราะห์ผลได้จำนวน 2,280 ฉบับ (ร้อยละ 95) ผลวิจัยพบว่า เมื่อเจ็บป่วย ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ (ร้อยละ46) จะไปโรงพยาบาลชุมชน ยาที่นิยมใช้คือ ยาแผนปัจจุบัน และร้อยละ 87 พอใจในบริการที่ได้รับ โดยให้เหตุผลว่า เจ้าหน้าที่ให้คำแนะนำดี เป็นกันเอง บริการรวดเร็ว สะดวก ยามีคุณภาพ และราคาไม่แพง ปัญหาและอุปสรรคของผู้ถูกสัมภาษณ์ในการดูแลสุขภาพ 2 อันดับคือ ไม่มีเงิน และขาดยานพาหนะ เนื่องจากบ้านอยู่ห่างจากสถานให้บริการ สำหรับความรู้เกี่ยวกับการมีกองทุนยาฯ อสม. และ ผสส. ในหมู่บ้าน ผู้ตอบมากกว่าร้อยละ 75 ทราบว่าในหมู่บ้านมีทั้ง 3 สิ่งดังกล่าว และมีประโยชน์ เมื่อวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะทางประชากรกับพฤติกรรมในการแสวงหาบริการรักษาพยาบาล พบว่า อายุ สถานภาพสมรส การศึกษา อาชีพ รายได้ และจำนวนบุคคลในอุปการะมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมในการแสวงหาบริการรักษาพยาบาล
Description
เอกสารประกอบการประชุม การประชุมวิชาการสาธารณสุขแห่งชาติ ครั้งที่ 5 คุณภาพชีวิตไทยที่พึงปรารถนา: แนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน, วันที่ 18-20 ธันวาคม 2534 ณ โรงแรมเอเซีย กรุงเทพฯ. กรุงเทพฯ: คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล; 2534. หน้า 239.