อำนาจระหว่างหญิงชายและการละเมิดสิทธิการคุมกำเนิด : กรณีศึกษาแรงงานหญิงในโรงงานอุตสาหกรรมแห่งหนึ่งในจังหวัดสมุทรสาคร

dc.contributor.advisorนาถฤดี เด่นดวง
dc.contributor.advisorสุพจน์ เด่นดวง
dc.contributor.advisorมัลลิกา มัติโก
dc.contributor.authorภควดี มหาวงศ์ตระกูล
dc.date.accessioned2024-01-16T00:52:55Z
dc.date.available2024-01-16T00:52:55Z
dc.date.copyright2558
dc.date.created2567
dc.date.issued2558
dc.descriptionสังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข (มหาวิทยาลัยมหิดล 2558)
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาการถูกละเมิดสิทธิการคุมกำเนิดและศึกษาความสัมพันธ์ เชิงอำนาจหญิงชายกับการถูกละเมิดสิทธิการคุมกำเนิดของแรงงานหญิงในโรงงานอุตสาหกรรมรูปแบบการวิจัย เป็นการศึกษาเชิงสำรวจภาคตัดขวาง (Cross Sectional Study) ประชากรที่ศึกษาในครั้งนี้เป็นกลุ่มแรงงานหญิงในโรงงานอุตสาหกรรมแห่งหนึ่งในจังหวัดสมุทรสาคร จำนวน 400 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบไม่เจาะจง เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลเป็นสอบถามปลายปิดประกอบด้วยข้อมูล ทั่วไปของแรงงานหญิง ประสบการณ์ด้านการคุมกำเนิด การละเมิดสิทธิการคุมกำเนิด และอำนาจความสัมพันธ์หญิง ชายระหว่างสามีภรรยา ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและการทดสอบค่าไคสแควร์ ผลการวิจัยพบว่าแรงงานหญิงเผชิญการละเมิดสิทธิในระดับปานกลาง (ร้อยละ 43.5) และด้านที่ถูก ละเมิดสิทธิในระดับมากที่สุดคือด้านการไม่ได้รับบริการอย่างมีคุณภาพ นอกจากนั้นยังพบว่าแรงงานหญิงต้อง เผชิญกับอำนาจความสัมพันธ์ระหว่างหญิงชายในระดับปานกลางเช่นกัน (ร้อยละ45.8) โดยด้านที่ต้องเผชิญมาก ที่สุดคือด้านการเข้าถึงและควบคุมทรัพยากร สำหรับความสัมพันธ์ระหว่างการละเมิดสิทธิการคุมกำเนิดกับอำนาจ ความสัมพันธ์หญิงชายนั้นพบว่าพบว่าอำนาจของความเป็นชายมีผลต่อการถูกละเมิดสิทธิการคุมกำเนิดระดับปาน กลาง (c=0.235) และเป็นความสัมพันธ์ที่มีนัยสำคัญทั้งนี้เนื่องจากอำนาจของความเป็นชายที่เข้าครอบงำกดทับเชิง โครงสร้างทางสังคมที่ทำให้แรงงานหญิงขาดอำนาจในการต่อรองกับผู้ให้บริการด้านการคุมกำเนิด และใน ขณะเดียวกันอำนาจความเป็นชายก็ทำให้อำนาจของแรงงานชายซึ่งในที่นี้หมายถึงคู่ครองหรือสามีของแรงงาน หญิงสามารถเข้าครอบครองทรัพยากรของครอบครัวและแรงงานหญิงต้องถูกกีดกันออกไปไม่สามรถเข้าถึง ทรัพยากรที่ตนเองก็มีส่วนในการหามาได้ ดังนั้นจึงควรมีการเพิ่มศักยภาพของแรงงานหญิงอย่างเป็นระบบทั้งในด้านการศึกษา การเพิ่มทักษะ การทำงานเพื่อสร้างอำนาจในการต่อรอง และควรมีการส่งเสริมพัฒนาบทบาทของผู้ชายให้มีส่วนร่วมในการ คุมกำเนิดมากขึ้น รวมถึงมีการพัฒนาระบบการให้บริการด้านการคุมกำเนิดโดยให้ผู้ให้บริการมีความตระหนักถึง สิทธิด้านการคุมกำเนิดของผู้หญิงให้มากกว่านี้
dc.description.abstractThis research was to investigate the violation of contraceptive rights and to investigate the gender relations and the violation of contraceptive rights among the female labors in a factory. Cross sectional study has been applied in this research. The population was 400 female labors of a factory located in Samutsakorn province by non-purposive sampling. Close-ended questions were used in the questionnaire. It contained their general information, their contraceptive experience, the violation of contraceptive rights and gender relation between the husband and the wife. Descriptive statistics and Chi-square test were applied in this study. The results revealed that the female labors met violation of their contraceptive rights at moderate level (43.5%). Most violation was poor quality service. It was further found that they also had to face gender relations at moderate level (45.8%). Most met was inaccessibility and resource control. As of the relationship between the violation of their contraceptive rights and their gender relations it was found that patriarchy affected the violation of their contraceptive at moderate level (c = 0.235) and with statistical significance relationship. I was possible that dominated patriarchy pressure their social structure which eliminated the female's bargaining power with the authority of contraceptive service. At the same time the patriarchal power empowered the male labors - the spouses or the husbands to dominate the family resources and the female labors were barred and inaccessible on their shared resources. It is therefore necessary to systematically increase capacity of the female labors on education, work- skills enhancement to create bargaining power. There should be promotion to develop the male roles to participate in contraception. This includes developing the system in servicing for contraception demanding the service personnel become more aware of the female contraceptive rights.
dc.format.extentก-ฐ, 101 แผ่น : ภาพประกอบ
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.identifier.citationวิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (สังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2558
dc.identifier.urihttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/92909
dc.language.isotha
dc.publisherมหาวิทยาลัยมหิดล. หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล
dc.rightsผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
dc.rights.holderมหาวิทยาลัยมหิดล
dc.subjectสิทธิสตรี
dc.subjectแรงงานสตรี -- ไทย -- สมุทรสาคร
dc.subjectคุมกำเนิด -- ไทย -- สมุทรสาคร
dc.titleอำนาจระหว่างหญิงชายและการละเมิดสิทธิการคุมกำเนิด : กรณีศึกษาแรงงานหญิงในโรงงานอุตสาหกรรมแห่งหนึ่งในจังหวัดสมุทรสาคร
dc.title.alternativeGender relations and a violation of contraceptive rights : a case study of female labour in a factory in Samutsakorn province
dc.typeMaster Thesis
dcterms.accessRightsopen access
mods.location.urlhttp://mulinet11.li.mahidol.ac.th/e-thesis/2557/cd498/5237911.pdf
thesis.degree.departmentคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
thesis.degree.disciplineสังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข
thesis.degree.grantorมหาวิทยาลัยมหิดล
thesis.degree.levelปริญญาโท
thesis.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

Files