Traditional ecological knowledge and utilization of medicinal plants in agriculture : a case study of Pluk Mai Lai community, Nakhon Pathom, Thailand
Issued Date
2024
Copyright Date
2017
Language
eng
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
x, 128 leaves : ill.
Access Rights
open access
Rights
ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
Rights Holder(s)
Mahidol University
Bibliographic Citation
Thesis (M.Sc. (Technology of Environmental Management))--Mahidol University, 2017
Suggested Citation
Jirasupa Tangtitawong Traditional ecological knowledge and utilization of medicinal plants in agriculture : a case study of Pluk Mai Lai community, Nakhon Pathom, Thailand. Thesis (M.Sc. (Technology of Environmental Management))--Mahidol University, 2017. Retrieved from: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/91814
Title
Traditional ecological knowledge and utilization of medicinal plants in agriculture : a case study of Pluk Mai Lai community, Nakhon Pathom, Thailand
Alternative Title(s)
ภูมิปัญญานิเวศท้องถิ่นและการใช้ประโยชน์ด้านพืชสมุนไพรในการเกษตร กรณีศึกษาชุมชนปลักไม้ลาย จังหวัดนครปฐม
Author(s)
Abstract
This research aimed to study the utilization of medicinal plants in agriculture and the factors affecting the use of medicinal plants in agriculture in farmers' household-level and Traditional Ecological knowledge of medicinal plants in agriculture. The study employed a survey of 125 households and in-depth interview of 3 local wisdom people who are using medicinal plants in agriculture. Data were statistically analyzed by SPSS program using Logistic Regression Analysis. This study also collected the reasons why the farmers used and did not use medicinal plants in agriculture. The results found that Pluk Mai Lai community has long settled for more than 100 years, and most of the lands are used in agriculture. There is irrigation system in this area, so most of the plants planted are farm and horticulture plants. There are some agricultural learning centers and a conservation of 600 medicinal plants collected in the herb garden. There were only 24 households ( 19. 2% ) that used medicinal plants in agriculture. The local wisdoms used 62 plants which can be grown or collected in this area, and 9 plants that all of them used the same such as Neem, Siam weed, Mangosteen, Citronella grass, Custard apple, Greater galangal, Chilli, Bergamot, and Eucalyptus. These plants were used as herbicide to control pests, plants diseases, and weeds. The types of agriculture and income from agricultural factors were found to be statistically significant which affect the use of medicinal plants in agriculture at 0.05 significance level. The reasons the farmers used medicinal plants in agriculture because of the health of their family, customers, and community. Using medicinal plants could help farmers to reduce the costs of farming, and local wisdoms, members or groups in the community and government staff could support the use of medicinal plants in agriculture. Utilization of medicinal plants in agriculture will help the way of farming to be more environmentally friendly and could lead to a Sustainable Agricultural System. Related officers should promote and support by providing knowledge and learning experiences about the use of medicinal plants through agricultural learning centers. Knowledge sharing by the local wisdoms must be the first priority to transfer Traditional Ecological knowledge of medicinal plants in Agriculture to the farmers in the community.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์การใช้ประโยชน์พืชสมุนไพรในการเกษตรของชุมชนปลักไม้ลาย ปัจจัยที่ส่งผลต่อการใช้พืชสมุนไพรในการเกษตร และภูมิปัญญานิเวศท้องถิ่นเรื่องการใช้ประโยชน์พืชสมุนไพรในด้านการเกษตร ใช้วิธีการวิจัยผสมผสาน เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณด้วยแบบสอบถามจากกลุ่มเกษตรกรตัวอย่าง จำนวน 125 ครัวเรือน ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพ ศึกษาจากข้อมูลทุติยภูมิและการสัมภาษณ์เชิงลึก จากภูมิปัญญาด้านการใช้ประโยชน์พืชสมุนไพรด้านการเกษตรของชุมชน จำนวน 3 คน วิเคราะห์ผลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ SPSS สำหรับการวิเคราะห์สถิติพื้นฐาน และ Logistic Regression Analysis รวมทั้งยังได้เก็บข้อมูลเรื่องเหตุผลของการเลือกใช้หรือไม่เลือกใช้สมุนไพรด้านการเกษตรจากเกษตรกรกลุ่มตัวอย่างนี้ด้วย และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า ชุมชนปลักไม้ลายมีประวัติการตั้งถิ่นฐานมานานกว่า 100 ปี การใช้ประโยชน์ที่ดินส่วนใหญ่ใช้ในการทำเกษตร และมีระบบชลประทานอย่างทั่วถึง พืชที่ปลูกมีทั้งพืชไร่และพืชสวน จึงมีแหล่งเรียนรู้ด้านการเกษตร สวนป่าสมุนไพรที่มีสมุนไพรมากกว่า 600 ชนิด สำหรับสถานการณ์การใช้ประโยชน์พืชสมุนไพรในการเกษตรพบว่า มีเพียง 24 ครัวเรือน หรือคิดเป็นร้อยละ 19.2 ที่มีการใช้ประโยชน์พืชสมุนไพรในการเกษตร ส่วนภูมิปัญญามีการใช้พืชสมุนไพรที่มีอยู่ในชุมชนจำนวน 62 ชนิด และสมุนไพร 9 ชนิดที่ภูมิปัญญาทุกคนใช้เหมือนกัน ได้แก่ สะเดา สาบเสือ มังคุด ตะไคร้หอม น้อยหน่า ข่า พริก มะกรูด และยูคาลิปตัส โดยนำไปใช้ในการกำจัดแมลงศัตรูพืช การป้องกันรักษาโรคพืช และการกำจัดวัชพืช จากการวิเคราะห์สมการถดถอยแบบพหุคูณของปัจจัยครัวเรือน สังคมและเศรษฐกิจที่มีผลต่อการใช้ประโยชน์พืชสมุนไพรด้านการเกษตรพบว่ามี 2 ปัจจัย ได้แก่ รูปแบบการทำการเกษตรของครัวเรือน และรายได้ของครัวเรือน ซึ่งมีความสัมพันธ์ต่อปัจจัยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนสาเหตุที่เกษตรกรที่เลือกใช้สมุนไพรในการเกษตร คือ เรื่องความปลอดภัยต่อครอบครัวของเกษตรกร ต่อผู้บริโภค และชุมชน ช่วยลดต้นทุนในการผลิตประกอบกับในพื้นที่ชุมชนปลักไม้ลายมีปราชญ์ชุมชน/สมาชิกในชุมชน/กลุ่มในชุมชนและเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานรัฐ/เอกชน เข้ามาส่งเสริมและสนับสนุนการใช้สมุนไพรในการเกษตร การใช้สมุนไพรในการเกษตรนั้นจะช่วยให้วิถีการเกษตรของเกษตรกรเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้นก่อให้เกิดรูปแบบของเกษตรกรรมยั่งยืน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงควรส่งเสริมด้านความรู้ และสร้างประสบการณ์การใช้สมุนไพรจากแหล่งเรียนรู้ในชุมชนแก่กลุ่มเกษตรกรให้ขยายเป็นวงกว้างขึ้น รวมทั้งสนับสนุนการถ่ายทอดความรู้จากภูมิปัญญาที่มีอยู่ในท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชนต่อไป
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์การใช้ประโยชน์พืชสมุนไพรในการเกษตรของชุมชนปลักไม้ลาย ปัจจัยที่ส่งผลต่อการใช้พืชสมุนไพรในการเกษตร และภูมิปัญญานิเวศท้องถิ่นเรื่องการใช้ประโยชน์พืชสมุนไพรในด้านการเกษตร ใช้วิธีการวิจัยผสมผสาน เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณด้วยแบบสอบถามจากกลุ่มเกษตรกรตัวอย่าง จำนวน 125 ครัวเรือน ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพ ศึกษาจากข้อมูลทุติยภูมิและการสัมภาษณ์เชิงลึก จากภูมิปัญญาด้านการใช้ประโยชน์พืชสมุนไพรด้านการเกษตรของชุมชน จำนวน 3 คน วิเคราะห์ผลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ SPSS สำหรับการวิเคราะห์สถิติพื้นฐาน และ Logistic Regression Analysis รวมทั้งยังได้เก็บข้อมูลเรื่องเหตุผลของการเลือกใช้หรือไม่เลือกใช้สมุนไพรด้านการเกษตรจากเกษตรกรกลุ่มตัวอย่างนี้ด้วย และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า ชุมชนปลักไม้ลายมีประวัติการตั้งถิ่นฐานมานานกว่า 100 ปี การใช้ประโยชน์ที่ดินส่วนใหญ่ใช้ในการทำเกษตร และมีระบบชลประทานอย่างทั่วถึง พืชที่ปลูกมีทั้งพืชไร่และพืชสวน จึงมีแหล่งเรียนรู้ด้านการเกษตร สวนป่าสมุนไพรที่มีสมุนไพรมากกว่า 600 ชนิด สำหรับสถานการณ์การใช้ประโยชน์พืชสมุนไพรในการเกษตรพบว่า มีเพียง 24 ครัวเรือน หรือคิดเป็นร้อยละ 19.2 ที่มีการใช้ประโยชน์พืชสมุนไพรในการเกษตร ส่วนภูมิปัญญามีการใช้พืชสมุนไพรที่มีอยู่ในชุมชนจำนวน 62 ชนิด และสมุนไพร 9 ชนิดที่ภูมิปัญญาทุกคนใช้เหมือนกัน ได้แก่ สะเดา สาบเสือ มังคุด ตะไคร้หอม น้อยหน่า ข่า พริก มะกรูด และยูคาลิปตัส โดยนำไปใช้ในการกำจัดแมลงศัตรูพืช การป้องกันรักษาโรคพืช และการกำจัดวัชพืช จากการวิเคราะห์สมการถดถอยแบบพหุคูณของปัจจัยครัวเรือน สังคมและเศรษฐกิจที่มีผลต่อการใช้ประโยชน์พืชสมุนไพรด้านการเกษตรพบว่ามี 2 ปัจจัย ได้แก่ รูปแบบการทำการเกษตรของครัวเรือน และรายได้ของครัวเรือน ซึ่งมีความสัมพันธ์ต่อปัจจัยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนสาเหตุที่เกษตรกรที่เลือกใช้สมุนไพรในการเกษตร คือ เรื่องความปลอดภัยต่อครอบครัวของเกษตรกร ต่อผู้บริโภค และชุมชน ช่วยลดต้นทุนในการผลิตประกอบกับในพื้นที่ชุมชนปลักไม้ลายมีปราชญ์ชุมชน/สมาชิกในชุมชน/กลุ่มในชุมชนและเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานรัฐ/เอกชน เข้ามาส่งเสริมและสนับสนุนการใช้สมุนไพรในการเกษตร การใช้สมุนไพรในการเกษตรนั้นจะช่วยให้วิถีการเกษตรของเกษตรกรเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้นก่อให้เกิดรูปแบบของเกษตรกรรมยั่งยืน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงควรส่งเสริมด้านความรู้ และสร้างประสบการณ์การใช้สมุนไพรจากแหล่งเรียนรู้ในชุมชนแก่กลุ่มเกษตรกรให้ขยายเป็นวงกว้างขึ้น รวมทั้งสนับสนุนการถ่ายทอดความรู้จากภูมิปัญญาที่มีอยู่ในท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชนต่อไป
Description
Technology of Environmental Management (Mahidol University 2017)
Degree Name
Master of Science
Degree Level
Master's degree
Degree Department
Faculty of Environment and Resource Studies
Degree Discipline
Technology of Environmental Management
Degree Grantor(s)
Mahidol University