ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของบุคลากรโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยของรัฐแห่งหนึ่ง เขตกรุงเทพมหานคร

dc.contributor.advisorจารุวรรณ ธาดาเดช
dc.contributor.advisorปิยธิดา ตรีเดช
dc.contributor.advisorปรารถนา สถิตย์วิภาวี
dc.contributor.authorบุญนาค บุญโพธิ์
dc.date.accessioned2024-01-13T05:17:11Z
dc.date.available2024-01-13T05:17:11Z
dc.date.copyright2558
dc.date.created2567
dc.date.issued2558
dc.descriptionสาธารณสุขศาสตร์ (มหาวิทยาลัยมหิดล 2558)
dc.description.abstractแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของบุคลากรเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญต่อความสำเร็จของโรงพยาบาล เพราะ เป็นองค์การที่กำลังเปลี่ยนแปลง บุคลากรต้องเผชิญหน้ากับความเปลี่ยนแปลงและต้องคงผลการปฏิบัติงานให้อยู่ในระดับดี หากการบริหารจัดการไม่ดีอาจส่งผลกระทบด้านลบต่อแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของบุคลากรและส่งผลกระทบต่อผลการปฏิบัติงานของโรงพยาบาลได้ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์ด้วยการสำรวจแบบภาคตัดขวาง เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของบุคลากรโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยของรัฐแห่งหนึ่ง เขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 303 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ซึ่งประกอบด้วย คุณลักษณะส่วนบุคคล แบบสอบถามการรับรู้ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง และแบบสอบถามแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ใช้สถิตทดสอบไคสแควร์ (Chi-square) และ Logistic Regression Analysis ผลการวิจัยพบว่า การรับรู้ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของบุคลากรอยู่ในระดับสูง (x = 3.75) และมีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์อยู่ในระดับสูง (x = 3.96) เช่นเดียวกัน คุณลักษณะส่วนบุคคลไม่มีความสัมพันธ์กับแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.05) คือ การรับรู้ ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ การสร้างบารมี การสร้างแรงบันดาลใจ การกระตุ้นการใช้ปัญญา และ การคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล เมื่อทดสอบด้วยสถิติวิเคราะห์ถดถอยลอจิสติก โดยควบคุมปัจจัยอื่นอีก 3 ปัจจัยให้คงที่ พบว่า บุคลากรที่มีการรับรู้ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงด้านการกระตุ้นการใช้ปัญญาในระดับสูงมีโอกาสมีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ดีเป็น 3.65 เท่า เมื่อเทียบกับบุคลากรที่มีการรับรู้ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงด้านการกระตุ้นการใช้ปัญญาในระดับต่ำ-ปานกลาง (OR : 3.65, 95% CI : 1.54-8.62) งานวิจัยมีข้อเสนอแนะในการวางแผนพัฒนาบุคลากร เช่น การได้รับการฝึกอบรมภาวะผู้นำ และ สร้างเสริมแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์โดยการให้การยอมรับและชื่นชมบุคลากรเพื่อเป็นขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานต่อไป
dc.description.abstractAchievement motivation of the personnel is essential factor for the success of the hospital, which is now in the transformational period. The personnel also have to encounter the change and have to maintain their performance in satisfactorily level as well. The absence of efficient management may have negative impact upon achievement motivation of the personnel and may also affect the performance of the hospital. This study was a cross-sectional analytical survey research with the objective of studying factors relating to achievement motivation of personnel in a university hospital, Bangkok metropolitan. The studied samples were 303 personnel of the hospital. The research tool were questionnaires comprising with questions about personnel characteristics, perception of transformational leadership and achievement motivation of personnel. Statistics used for data analysis were percentage, mean, standard deviation, Chi-square and Logistic Regression Analysis. The study found that the perception of transformational leadership of the personnel was in high-level (x = 3.75) as well as the achievement motivation of the personnel (x = 3.96). The study found no association between personal characteristics of the personnel and their achievement motivation, but the study found that all four aspects of perception of transformational leadership which were Charisma Leadership, Inspiration Motivation, Intellectual Stimulation and Individual Consideration had relationship with achievement motivation with statistical significance (p-value < 0.05). The data analyzed by Logistic Regression Analysis found that personnel who had high-level of perception of transformational leadership had 3.65 times more achievement motivation than their colleague who had low-medium level of perception of transformation leadership (OR : 3.65, 95% CI : 1.54-8.62). Research recommendations: There should be the formulation of personnel development plan. The strengthening of achievement motivation for the personnel should be integrated in the plan. The appreciation and praising technique should be used by the leader to strengthen motivation and morale of the personnel.
dc.format.extentก-ฌ, 122 แผ่น : ภาพประกอบ
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.identifier.citationวิทยานิพนธ์ (วท.ม. (สาธารณสุขศาสตร์))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2558
dc.identifier.urihttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/92634
dc.language.isotha
dc.publisherมหาวิทยาลัยมหิดล. หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล
dc.rightsผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
dc.rights.holderมหาวิทยาลัยมหิดล
dc.subjectบุคลากรทางการแพทย์ -- ไทย -- กรุงเทพฯ
dc.subjectภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง
dc.subjectแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์
dc.titleปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของบุคลากรโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยของรัฐแห่งหนึ่ง เขตกรุงเทพมหานคร
dc.title.alternativeFactors related to achievement motivation of personnel in a university hospital, Bangkok metropolitant
dc.typeMaster Thesis
dcterms.accessRightsopen access
mods.location.urlhttp://mulinet11.li.mahidol.ac.th/e-thesis/2558/505/5537542.pdf
thesis.degree.departmentคณะสาธารณสุขศาสตร์
thesis.degree.disciplineสาธารณสุขศาสตร์
thesis.degree.grantorมหาวิทยาลัยมหิดล
thesis.degree.levelปริญญาโท
thesis.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

Files