ความพึงพอใจต่อระบบการจัดเก็บและรับส่งข้อมูลภาพทางการแพทย์แบบดิจิตอล ของผู้ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง
Issued Date
2567
Copyright Date
2561
Resource Type
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
ก-ฎ, 143 แผ่น : ภาพประกอบ
Access Rights
open access
Rights
ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
Rights Holder(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (สาธารณสุขศาสตร์))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2561
Suggested Citation
เกียรติศักดิ์ พรมภักดิ์ ความพึงพอใจต่อระบบการจัดเก็บและรับส่งข้อมูลภาพทางการแพทย์แบบดิจิตอล ของผู้ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง . วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (สาธารณสุขศาสตร์))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2561 . สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/91908
Title
ความพึงพอใจต่อระบบการจัดเก็บและรับส่งข้อมูลภาพทางการแพทย์แบบดิจิตอล ของผู้ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง
Alternative Title(s)
Satisfaction towards picture archiving and communication system of personnel in a university hospital
Author(s)
Advisor(s)
Abstract
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของผู้ปฏิบัติงาน ในการใช้ระบบการจัดเก็บและรับส่งข้อมูลภาพทางการแพทย์แบบดิจิตอล (Picture Archiving and Communication System) หรือ PACS ในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง ใช้แบบสอบถามรวบรวมข้อมูลจากผู้ปฏิบัติงานทุกตำแหน่งที่ทำงานเกี่ยวข้องกับการใช้งานระบบ PACS จำนวน 158 คน ในเดือนกุมภาพันธ์ 2561 ได้รับแบบสอบถาม ตอบกลับที่มีความสมบูรณ์ 150 ฉบับ (ร้อยละ 94.9) การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน t-test One-Way ANOVA และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์สเปียร์แมน ผลการวิจัย พบว่าผู้ปฏิบัติงานมีระดับความพึงพอใจต่อระบบ PACS โดยรวมอยู่ในระดับมาก (x = 4.11) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า มีความพึงพอใจต่อระบบ PACS ในระดับมากทุกด้าน ได้แก่ ด้านการเข้าถึงง่าย ด้านความเชื่อมั่น ด้านความทันเวลา ด้านความปลอดภัย และมีความรู้ ทักษะคอมพิวเตอร์พื้นฐานและความรู้ ทักษะการใช้ระบบ PACS อยู่ในระดับสูง และมีทัศนคติเป็นไปในทางบวก ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจต่อระบบ PACS ของผู้ปฏิบัติงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ได้แก่ ความรู้คอมพิวเตอร์พื้นฐาน ความรู้และทักษะการใช้ระบบ PACS และทัศนคติต่อการใช้คอมพิวเตอร์ มีความสัมพันธ์ทางบวกระดับปานกลางกับความพึงพอใจ (r = 0.433, r = 0.405, r = 0.543, r = 0.416 ตามลำดับ) โดยทักษะคอมพิวเตอร์พื้นฐานมีความสัมพันธ์ทางบวกระดับต่ำกับความพึงพอใจ (r = 0.281) ข้อเสนอแนะจากการวิจัย ผู้บริหารควรมีนโยบายการส่งเสริมพัฒนาศักยภาพของผู้ปฏิบัติงานใน ด้านความรู้และทักษะการใช้คอมพิวเตอร์พื้นฐาน และการใช้ระบบ PACS โดยสนับสนุนให้มีการอบรมอย่างต่อเนื่อง เพื่อพัฒนาทักษะเพิ่มพูนความรู้และยกระดับคุณภาพการให้บริการ เป็นไปตามมาตรฐานและมีการพัฒนาเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
This was a descriptive research with the objectives of studying the satisfaction level in used PACS of personnel in a University Hospital. A questionnaire was used to collect data from a sample of 158 personnel involved in used PACS in a University Hospital in February 2561 B.E, There were 150 returned questionnaires (94.9 %) Statistics used for data analysis were percentage, mean, standard deviation t-test, One-Way ANOVA and Spearman Rank Correlation Coefficient. The study found that the personnel in a University Hospital had satisfaction towards PACS the overall at a high level (x = 4.11). And had satisfaction aspects as follows; Accessibility, Reliability, Timely, Security at a high level. Basic Computer knowledge and skills are high level (x = 7.94) (x = 24.07). Knowledge and skills of used PACS are high level (x = 15.97) (x = 46.49) and had the attitude of the personnel are positive (x = 3.60). The factors that association the satisfaction towards PACS of personnel, with statistically significant result at 0.01, are as follows; Basic computer knowledge (r= 0.433), basic computer skills correlated positively in a low level (r = 0.281), knowledge of PACS (r = 0.405), skills of using PACS (r= 0.543) and attitude towards computer use (r = 0.416). The research recommendation was: The administrators should have a policy to promote the potential of the personnel in the knowledge and skills of basic computer. And the use of PACS systems. Should continuous support training. To develop skills, increase knowledge and improve service quality. Compliance with standards and continuous improvement.
This was a descriptive research with the objectives of studying the satisfaction level in used PACS of personnel in a University Hospital. A questionnaire was used to collect data from a sample of 158 personnel involved in used PACS in a University Hospital in February 2561 B.E, There were 150 returned questionnaires (94.9 %) Statistics used for data analysis were percentage, mean, standard deviation t-test, One-Way ANOVA and Spearman Rank Correlation Coefficient. The study found that the personnel in a University Hospital had satisfaction towards PACS the overall at a high level (x = 4.11). And had satisfaction aspects as follows; Accessibility, Reliability, Timely, Security at a high level. Basic Computer knowledge and skills are high level (x = 7.94) (x = 24.07). Knowledge and skills of used PACS are high level (x = 15.97) (x = 46.49) and had the attitude of the personnel are positive (x = 3.60). The factors that association the satisfaction towards PACS of personnel, with statistically significant result at 0.01, are as follows; Basic computer knowledge (r= 0.433), basic computer skills correlated positively in a low level (r = 0.281), knowledge of PACS (r = 0.405), skills of using PACS (r= 0.543) and attitude towards computer use (r = 0.416). The research recommendation was: The administrators should have a policy to promote the potential of the personnel in the knowledge and skills of basic computer. And the use of PACS systems. Should continuous support training. To develop skills, increase knowledge and improve service quality. Compliance with standards and continuous improvement.
Description
สาธารณสุขศาสตร์ (มหาวิทยาลัยมหิดล 2561)
Degree Name
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Department
คณะสาธารณสุขศาสตร์
Degree Discipline
สาธารณสุขศาสตร์
Degree Grantor(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล