เครือข่ายชุมชนเพื่อป้องกันปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งด้วยวิธีภูมิปัญญาท้องถิ่น : กรณีศึกษาการปักไม้ไผ่ชะลอคลื่นของเครือข่ายรักษ์อ่าวไทยตอนบน

dc.contributor.advisorกุลวดี แก่นสันติสุขมงคล
dc.contributor.advisorจำลอง อรุณเลิศอารีย์
dc.contributor.advisorจงดี โตอิ้ม
dc.contributor.authorยุทธพล ผ่องพลีศาล
dc.date.accessioned2024-01-16T03:51:47Z
dc.date.available2024-01-16T03:51:47Z
dc.date.copyright2556
dc.date.created2567
dc.date.issued2556
dc.descriptionเทคโนโลยีการบริหารสิ่งแวดล้อม (มหาวิทยาลัยมหิดล 2556)
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยความเข้มแข็ง ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมในเครือข่าย และกลยุทธ์การปรับตัวต่อปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งด้วยการผสมผสานวิธีการทั้งเชิงคุณภาพ ได้แก่ การสัมภาษณ์เชิงลึกและ สังเกตการณ์จากกลุ่มเป้าหมายซึ่งเป็นแกนนำกลุ่มอนุรักษ์ ผู้นำชุมชน ผู้แทนภาคส่วนที่ เกี่ยวข้องในพื้นที่โครงการปักไม้ไผ่ชะลอคลื่นของจังหวัดกรุงเทพฯ สมุทรสาคร และสมุทรสงคราม เกี่ยวกับการจัดการเครือข่ายและกลยุทธ์การปรับตัวระดับชุมชนจากปัญหาดังกล่าว ใช้การถอดบทเรียนตามแนวคิดวงจรชีวิตและการจัดการเครือข่ายและวิธีอุปนัยเพื่อค้นหาปัจจัยความเข้มแข็งของเครือข่ายรวมทั้งใช้แนวคิดการจัดการ ชายฝั่งแบบบูรณาการเพื่อวิพากษ์กลยุทธ์การปรับตัวระดับชุมชน และเชิงปริมาณด้วยการวิเคราะห์ความถดถอยแบบพหุเพื่อค้นหาปัจจัยที่มีผลต่อระดับการมีส่วนร่วมของครัวเรือนในเครือข่าย รวมทั้งสำรวจกลยุทธ์การปรับตัวระดับครัวเรือนต่อปัญหาดังกล่าว ผลการศึกษาพบว่าปัจจัยด้านผู้นำ สมาชิกชุมชน และการสนับสนุนจากภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเป็นปัจจัยที่ทาให้เครือข่ายเกิดความเข้มแข็ง การมีส่วนร่วมพบว่าครัวเรือนกลุ่มตัวอย่างมีส่วนร่วมระดับปานกลางซึ่งประโยชน์ที่ได้รับจากการมีส่วนร่วม การรับข้อมูลข่าวสารจากสื่อต่าง ๆ ความตระหนักรู้ในปัญหา การกัดเซาะชายฝั่ง ความเชื่อมั่นในแกนนำเครือข่าย ระยะทางระหว่างบ้านกับชายฝั่ง ระดับการศึกษาม.ปลาย/ปวช. อาชีพประมงพื้นบ้าน และการสนับสนุนจากภายนอกเป็นปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ ระดับ 0.05 รวมทั้งพบกลยุทธ์การปรับตัวระดับครัวเรือนจากปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งที่ผสมผสานทั้งการป้องกันปรับปรุง และถอยร่นตั้งแต่ต้นพ.ศ. 2541 ในขณะที่ระดับชุมชนพบว่าการใช้กลยุทธ์การป้องกันแบบโครงสร้างแข็งซึ่ง เคยส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้นำไปสู่การประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้วยการสร้างแนวไม้ไผ่ชะลอคลื่นถึงระยะยาวที่ภาคส่วนที่เกี่ยวข้องได้มีแผนยุทธศาสตร์ป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งอันเหมาะสมกับสภาพทางกายภาพ มีแนวทาง บูรณาการระเบียบการใช้ที่ดิน และมีความพยายามรักษาองค์ความรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นอย่างเป็นรูปธรรม จึงเป็น จุดเริ่มต้นที่ดีตามแนวทางการจัดการชายฝั่งแบบบูรณาการ
dc.description.abstractThis researcher aims to study factors affecting the strength of the community network, factors affecting participation in the network, and the adaptation strategies to coastal erosion problems by using both qualitative and quantitative methods. For qualitative methods to collect data, the researcher used in-depth interviews and target group observation among environmental conservation group leaders, community leaders, and delegates from relevant sectors of the Bamboo Revetment Project in the areas of Bangkok, Samut Sakhon, and Samut Songkhram Province. The interviews and observation were set up to focus on network management and adaptation strategies to coastal erosion problems at the community level. The researcher was able to describe and analyze data through using story telling with the concept of a life cycle and network management, together with the inductive method to seek for factors affecting the strength of the network. The concept of integrated coastal zone management (ICZM) was used for criticizing adaptation strategies at the community level. For quantitative methods, the researcher used multiple regression analysis to determine factors affecting households' participation in the network activities, which included socio-economic characteristics, and confidence level in the network leaders, stakeholders and support from relevant sectors. The results of the study indicate that leaders' capacity, community members' participation, and support from relevant sectors were important factors that strengthened the network. For the community level, it was found that sampled households participated in community study, development planning, development and implementation, accessing and benefits sharing, and follow-up and evaluation at a medium level. The benefits received from network participation, getting information from media, awareness of coastal erosion problems, confidence in the network leaders, distance between their houses and the coast, educational level (senior high school/vocational certificate), local fishery profession and external support from governmental and non-governmental agencies were factors affecting community members to the network participation at the statistical significance level of 0.05. The researcher also found that households adapted to coastal erosion with combined strategies of protection, accommodation and retreat from their settlement for livelihood since the beginning of 1998. At the community level, learning from negative impacts of using hard structure protection from coastal erosion on environment, community leaders used indigenous knowledge and turned to bamboo revetment. In the long term, relevant sectors in the area will have strategic planning which will be suitable to protect against coastal erosion, create an integrated approach for land use regulation, and endeavor to sustain and support concrete indigenous knowledge. These implemented strategies are a good starting point based on integrated coastal zone management (ICZM).
dc.format.extentก-ฐ, 122 แผ่น : ภาพประกอบสี
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.identifier.citationวิทยานิพนธ์ (วท.ม. (เทคโนโลยีการบริหารสิ่งแวดล้อม))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2556
dc.identifier.urihttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/92954
dc.language.isotha
dc.publisherมหาวิทยาลัยมหิดล. หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล
dc.rightsผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
dc.rights.holderมหาวิทยาลัยมหิดล
dc.subjectการป้องกันชายฝั่ง -- ไทย -- การมีส่วนร่วมของประชาชน
dc.subjectการป้องกันชายฝั่ง (ชลศาสตร์) -- ไทย
dc.subjectการจัดการเขตชายฝั่ง -- ไทย -- การมีส่วนร่วมของประชาชน
dc.titleเครือข่ายชุมชนเพื่อป้องกันปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งด้วยวิธีภูมิปัญญาท้องถิ่น : กรณีศึกษาการปักไม้ไผ่ชะลอคลื่นของเครือข่ายรักษ์อ่าวไทยตอนบน
dc.title.alternativeCommunity network building for coastal erosion protection using indigenous knowledge : a case study of bamboo revetments by inner Gulf of Thailand conservation network
dc.typeMaster Thesis
dcterms.accessRightsopen access
mods.location.urlhttp://mulinet11.li.mahidol.ac.th/e-thesis/2556/cd475/5137273.pdf
thesis.degree.departmentคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์
thesis.degree.disciplineเทคโนโลยีการบริหารสิ่งแวดล้อม
thesis.degree.grantorมหาวิทยาลัยมหิดล
thesis.degree.levelปริญญาโท
thesis.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

Files