ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดื่มสุราของผู้ถูกคุมความประพฤติคดีเมาแล้วขับ

dc.contributor.advisorชาญคณิต กฤตยา สุริยะมณี
dc.contributor.advisorอุนิษา เลิศโตมรสกุล
dc.contributor.authorกัลลิกา ฉินวิรุฬห์ศิริทรัพย์
dc.date.accessioned2024-01-22T08:53:38Z
dc.date.available2024-01-22T08:53:38Z
dc.date.copyright2557
dc.date.created2567
dc.date.issued2557
dc.descriptionอาชญาวิทยาและงานยุติธรรม (มหาวิทยาลัยมหิดล 2557)
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดื่มสุรา ของผู้ถูกคุมความประพฤติคดีเมาแล้วขับ เพื่อจะทราบถึงข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมการดื่มสุรา และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดื่ม ซึ่งจะเป็นประโยชน์ทางวิชาการต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และผู้ที่สนใจ โดยศึกษาจากผู้ถูกคุมความประพฤติ คดีเมาแล้วขับในเขตพื้นที่สำนักงานคุมประพฤติจังหวัดนครราชสีมา และสำนักงานคุมประพฤติจังหวัดสุรินทร์ จำนวน 400 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติการแจงค่าความถี่ ค่าอัตราส่วนร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวน (Analysis of Variance : ANOVA) รวมทั้งการวิเคราะห์จำแนกพหุ (Multiple Classification Analysis : MCA) ผลจากการศึกษาวิจัยพบว่า ผู้ถูกคุมความประพฤติ คดีเมาแล้วขับ ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุระหว่าง 20 -30 ปี สถานภาพโสด การศึกษาระดับประถมศึกษา ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 5,001 - 10,000 บาท พาหนะที่ขับขณะถูกจับกุมคือรถจักรยานยนต์ ปริมาณแอลกอฮอล์ในลมหายที่ตรวจพบ 101 - 150 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ เคยถูกดำเนินคดี เมาแล้วขับมาก่อน คิดเป็นร้อยละ 20.8 อายุเริ่มดื่มสุราครั้งแรก ตํ่ากว่า 18 ปี ความถี่ของการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์บ่อยครั้ง (2 - 3 ครั้งต่อสัปดาห์) ปริมาณการดื่มในแต่ละครั้ง 1-2 กลม ในรายที่ดื่มเหล้า และมากกว่า 3 ขวด ในรายที่ดื่มเบียร์ ใช้เวลาในการดื่มแต่ละครั้ง 1 - 2 ชั่วโมง เคยเกิดอุบัติเหตุจราจรจากการขับขี่รถขณะมึนเมาสุรา 1 - 2 ครั้ง มีความคิดเห็นว่าประเพณีต่าง ๆ ของท้องถิ่นมีส่วนสนับสนุน ส่งเสริมให้คนดื่มสุรา ในระดับมาก มีความคิดเห็นว่าค่านิยมและความเชื่อของคนในท้องถิ่น มีส่วนสนับสนุน ส่งเสริมให้คนดื่มสุรา ในระดับมาก และมีความคิดเห็นว่าวิถีการดำเนินชีวิตของคนในท้องถิ่น มีส่วนสนับสนุน ส่งเสริมให้คนดื่มสุรา ในระดับมาก ในส่วนปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดื่มสุรา พบว่า ปัจจัยด้านความคิดเห็นว่า ประเพณีต่าง ๆ ในท้องถิ่น มีส่วนสนับสนุน ส่งเสริมการดื่มสุรา และปัจจัยทางด้านทฤษฎีอาชญาวิทยา ได้แก่ ความผูกพันต่อครอบครัว ความเชื่อทางสังคม การควบคุมตนเอง และความผูกมัดทางสังคม มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดื่มสุราของผู้ถูกคุมความประพฤติ คดีเมาแล้วขับ ร้อยละ 58.6 (Multiple R = .586)
dc.description.abstractThis research studies the factors related to the behavior of drunk driving offenders whilst in the probation offices in order to get information about drinking behavior and the factors associated with dinking behavior. This would be of technical benefit for the Agencies and other stakeholders involved, that will be able to use the data collected from 400 drunk driving offenders in NAKHONRATCHASIMA and SURIN probation offices. Data was analyzed using frequency, Percentage, Arithmetic Average, Standard Deviation, Analysis of variance (ANOVA) and multiple classification analysis (MCA). The results show that the drunk driving offenders in the probation offices were mostly male, aged between 20 - 30 years, single, only primary education, employees, and with an average income per month Baht of 5,001 - 10,000. The vehicles, they used when arrested were motorcycles, the quantity of alcohol found in the breath was 101 - 150 mg. percent; 20.8 % had been prosecuted for drunk driving before; their age at the first time drinking liquor was lower than 18 years old; their frequency of drinking alcohol was 2-3 times a week; the volume of drink at the time was 1-2 bottles for liquor drinkers and 3 bottles for beer drinkers; the drinking time each time was 1-2 hours; and 1-2 times, after drinking they experienced traffic accidents were from driving while drunk. The opinion that local tradition including attachment to their family encouraged to them to consume large quantities of alcohol. The opinion was that the belief, including the commitment of local people encouraged them to adopt high level of alcohol consumption, and that their life style, including self-control among local people encouraged them to consume high levels of alcohol. In terms of other factor related with liquor drinking behavior it was found that local traditions encouraged them to drink alcohol which is also a key factors of Criminology's Theory including Attachment, Belief, Self-control and Commitment are related to Behavior of Drunk Driving Offenders in Probation Office at 58.6 % (Multiple R = .586)
dc.format.extentก-ญ, 138 แผ่น : ภาพประกอบ
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.identifier.citationวิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (อาชญาวิทยาและงานยุติธรรม))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2557
dc.identifier.urihttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/93463
dc.language.isotha
dc.publisherมหาวิทยาลัยมหิดล. หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล
dc.rightsผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
dc.rights.holderมหาวิทยาลัยมหิดล
dc.subjectความผูกพัน
dc.subjectการควบคุมตนเอง
dc.subjectการขับรถขณะเมาสุรา
dc.subjectการคุมประพฤติ
dc.titleปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดื่มสุราของผู้ถูกคุมความประพฤติคดีเมาแล้วขับ
dc.title.alternativeFactors related to behavior of drunk driving offenders in probation office
dc.typeMaster Thesis
dcterms.accessRightsopen access
mods.location.urlhttp:///mulinet11.li.mahidol.ac.th/e-thesis/2556/cd484/5436933.pdf
thesis.degree.departmentคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
thesis.degree.disciplineอาชญาวิทยาและงานยุติธรรม
thesis.degree.grantorมหาวิทยาลัยมหิดล
thesis.degree.levelปริญญาโท
thesis.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

Files