รายงานการวิจัยเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยบางประการกับการปฏิบัติในการบริบาลผู้ป่วยโรคติดเชื้อเฉียบพลันระบบหายใจในเด็ก (กลุ่มอาการไข้หวัดและปอดบวม) ของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขตำบลในจังหวัดสุพรรณบุรี
Issued Date
2540
Resource Type
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
40.1 mb
Call No.
WS 280 พ516ร 2540
Rights
มหาวิทยาลัยมหิดล
Rights Holder(s)
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุพรรณบุรี
Suggested Citation
พัชนี เทพสุธา, วันเพ็ญ แก้วปาน (2540). รายงานการวิจัยเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยบางประการกับการปฏิบัติในการบริบาลผู้ป่วยโรคติดเชื้อเฉียบพลันระบบหายใจในเด็ก (กลุ่มอาการไข้หวัดและปอดบวม) ของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขตำบลในจังหวัดสุพรรณบุรี. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/58654
Title
รายงานการวิจัยเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยบางประการกับการปฏิบัติในการบริบาลผู้ป่วยโรคติดเชื้อเฉียบพลันระบบหายใจในเด็ก (กลุ่มอาการไข้หวัดและปอดบวม) ของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขตำบลในจังหวัดสุพรรณบุรี
Alternative Title(s)
The relationship between selected factors and health care practice : acute respiratory infections in children in Suphanburi province
Author(s)
Other Contributor(s)
Abstract
โรคติดต่อเฉียบพลันระบบหายใจในเด็กเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญเพราะเป็นโรคที่เป็นสาเหตุการตายอันดับต้นในกลุ่มเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ในประเทสกำลังพัฒนาการปฏิบัติการบริบาลในการรักษาโรคนี้อย่างมีประสิทธิภาพจึงเป็นเรื่องที่สำคัญมาก
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปจัจัยส่วนบุคคลปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ และปัจจัยเสริมกับการปฏิบัติงานการบริบาลโรคติดเชื้อเฉียบพลัน ระบบหายใจในเด็ก (กลุ่มอาการไข้หวัดและปอดบวม) ของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขตำบลในจังหวัดสุพรรณบุรี กลุ่มตัวอย่างสุ่มโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย จำนวน 230 คน เครื่องมือวิจัยได้แก่ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขตำบล วิเคราะห์ข้อมูลโดยเครื่องคอมพิวเตอร์โปรแกรม SPSS for Window ผลการวิจัยสรุปดังนี้
1. เจ้าหน้าที่สาธารณสุขตำบล ร้อยละ 57.4 เป็นเพศหญิง และร้อยละ 42.6 เป็นเพศชาย มีอายุระหว่าง 20-29 ปี มากที่สุด ร้อยละ 43.5 (อายุเฉลี่ยประมาณ 32 ปี) มีระดับซี 5 มากที่สุด ร้อยละ 31.7 วุฒิการศึกษาระดับประกาศนียบัตร ร้อยละ 77.4 โดยเป็นพนักงานอนามัย ร้อยละ 50 ผดุงครรภ์อนามัย ร้อยละ 33.5 และพยาบาลเทคนิค ร้อยละ 16.5 ระยะเวลาปฏิบัติงานมากกว่า 10ปีขึ้นไป ร้อยละ 38.7 (ระยะเวลาการปฏิบัติงานเฉลี่ย 11 ปี)
2. เจ้าหน้าที่สาธารณสุขตำบลมีความรู้ในงาน อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 57.9 ระดับต่ำ ร้อยละ 20.9 และระดับสูง ร้อยละ 21.2 มีทัศนคติต่อการดำเนินงานโรคนี้อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 73 ระดับดี ร้อยละ 11.8 และไม่ดี ร้อยละ 15.2 การปฏิบัติงานบริบาลโรคติดเชื้อเฉียบพลัน ระบบหายใจในเด็ก อยู่ในระดับพอใช้ ร้อยละ 55.2 ระดับดี ร้อยละ 17 และไม่ดี ร้อยละ 27.8 ปัญหาในการทำงาน พบว่า ไม่ได้รับการนิเทศงานจากทีมนิเทศ ระดับอำเภอร้อยละ 19.6 ทีมนิเทศระดับจังหวัดร้อยละ 60 และทีมเฉพาะกิจในโครงการร้อยละ 68.7 การได้รับสนับสนุนเวชภัณฑ์และสื่อเอกสารต่าง ๆ ไม่เพียงพอ ร้อยละ 72.2 และ 52.6 ตามลำดับ
3. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยนำ ได้แก่ ความรู้ และทัศนคติ กับการปฏิบัติงานบริบาลโรคติดเชื้อเฉียบพลันระบบหายใจในเด็ก พบว่า ความรู้มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 (p = 0.04790) แต่ทัศนคติไม่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงาน
ปัจจัยเอื้อ ได้แก่ การสนับสนุนเวชภัณฑ์มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p = 0.04152) แต่ปัจจัยเสริม คือ การนิเทศงานไม่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงาน
ผลการวิจัยมีข้อเสนอแนะแก่ผู้บริหารงานในระดับจังหวัดและอำเภอ ควรสนับสนุนเวชภัณฑ์การดำเนินงานให้เพียงพอ และมีการติดตามการนิเทศงาน รวมทั้งการอบรมฟื้นฟูความรู้ในงานเป็นระยะ ๆ อย่างต่อเนื่องเพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพ
This study aimed to verify relationship between personal factors, predisposing factors, enabling factors, reinforcing factors and health care practice in Acute Respiratory infections in children (ARIC) among health personnels in Suphanburi province. Two hundred and thirty samples were selected by simple random sampling technique. The tools of research were questionaire and interviewing form. Data were analysed by using SPSS for Windows program. The results showed that : 1. The health personnels were female 57.4% and male 42.6%. The majority of the respondents were between 20-29 year old, 43.5% (mean 32 year old) with the official position (PC) level 5, 31.7%. The educational background, mainly advocational certificate, 77.4% which can be catagorized as health worker 50%; midwifery 33.5%; nursing technician 10.5% and they have duration of work longer than 10 years were 38.7%. 2. The job knowledge was moderate level 57.9%, poor level 20.9% and good level 21.2%. For the attitude toward the job, mainly, was moderate level 73%, good level 11.8% and poor level 15.2%. The effectiveness of healath care verified as moderate level 55.2%, good leel 17% and poor level 27.8%. The problem from study ervealed that they lack of supervision from district health team 19.6%, provicial health team 60% and the adhoc health team for particular project 68.7%. The support of medical equipment and information documents were not sufficial 72.2% and 52.6% respectively. 3. The job knowledge associated with health care practice significantly (p-value< 0.05). The attitude did not assoicate with health care practice. The medical equipment supportive was associated with health care practice but the supervision aspect did not associate. The results of this study suggested that the chief officer should support and encourage the medical equipments, providing supervision and mintensive refreshing course for the health personnels in order to improve their achievement and work performance.
This study aimed to verify relationship between personal factors, predisposing factors, enabling factors, reinforcing factors and health care practice in Acute Respiratory infections in children (ARIC) among health personnels in Suphanburi province. Two hundred and thirty samples were selected by simple random sampling technique. The tools of research were questionaire and interviewing form. Data were analysed by using SPSS for Windows program. The results showed that : 1. The health personnels were female 57.4% and male 42.6%. The majority of the respondents were between 20-29 year old, 43.5% (mean 32 year old) with the official position (PC) level 5, 31.7%. The educational background, mainly advocational certificate, 77.4% which can be catagorized as health worker 50%; midwifery 33.5%; nursing technician 10.5% and they have duration of work longer than 10 years were 38.7%. 2. The job knowledge was moderate level 57.9%, poor level 20.9% and good level 21.2%. For the attitude toward the job, mainly, was moderate level 73%, good level 11.8% and poor level 15.2%. The effectiveness of healath care verified as moderate level 55.2%, good leel 17% and poor level 27.8%. The problem from study ervealed that they lack of supervision from district health team 19.6%, provicial health team 60% and the adhoc health team for particular project 68.7%. The support of medical equipment and information documents were not sufficial 72.2% and 52.6% respectively. 3. The job knowledge associated with health care practice significantly (p-value< 0.05). The attitude did not assoicate with health care practice. The medical equipment supportive was associated with health care practice but the supervision aspect did not associate. The results of this study suggested that the chief officer should support and encourage the medical equipments, providing supervision and mintensive refreshing course for the health personnels in order to improve their achievement and work performance.
Sponsorship
รายงานวิจัยฉบับนี้ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุพรรณบุรี ปีงบประมาณ 2540