การถอดบทเรียนการจัดการเรียนการสอนวิชาชุมนุมขับร้องประสานเสียง โรงเรียนมัธยมสังคีตวิทยา กรุงเทพมหานคร
dc.contributor.advisor | ตรีทิพ บุญแย้ม | |
dc.contributor.advisor | พุทธรักษา กำเหนิดรัตน์ | |
dc.contributor.author | ธัญรัตน์ ผกาหลง | |
dc.date.accessioned | 2024-01-05T02:02:16Z | |
dc.date.available | 2024-01-05T02:02:16Z | |
dc.date.copyright | 2561 | |
dc.date.created | 2561 | |
dc.date.issued | 2567 | |
dc.description | ดนตรี (มหาวิทยาลัยมหิดล 2561) | |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์ 1) เพื่อศึกษารูปแบบการสอน กระบวนการสอน แนวคิดและเทคนิคใหม่ ที่ใช้ในกระบวนการสอนวิชาชุมนุมขับร้องประสานเสียง โรงเรียนมัธยมสังคีตวิทยา กรุงเทพมหานคร 2) เพื่อศึกษาวิธีการควบคุมวงขับร้องประสานเสียง โรงเรียนมัธยมสังคีตวิทยา กรุงเทพมหานคร 3) เพื่อศึกษาจิตวิทยาการจูงใจ นักเรียนในการเรียนกรสอนวิชาชุมนุมขับร้องประสานเสียง โรงเรียนมัธยมสังคีตวิทยา กรุงเทพมหานคร 4) เพื่อศึกษาข้อผิดพลาดที่ผ่านมาปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินการสอนวิชาชุมนุมขับร้องตลอดจนวิธีการแก้ไข การศึกษาวิจัยในครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลโดยสังเกตการจัดการเรียนการสอนแบบไม่มีส่วนร่วมและสัมภาษณ์เชิงลึก โดยทำการสัมภาษณ์ครูประจำวิชาชุมนุมขับร้องประสานเสียง โรงเรียนมัธยมสังคีตวิทยา กรุงเทพมหานคร คือ ครูเขมนิจ รัตนเดชาภิวัฒน์ ศิษย์เก่าจำนวน 2 คน และศิษย์ปัจจุบันจำนวนอีก 2 คน รวมทั้งสิ้น 5 คน โดยแบบสัมภาษณ์จะแบ่งออกตามวัตถุประสงค์ในการวิจัย จากการศึกษาได้ปรากฏผลการวิจัยพบว่าผู้สอนมีรูปแบบการจัดการเรียนการสอนเป็นขั้นตอน ได้แก่ ขั้นนำ ขั้นนำเสนอบทเรียน ขั้นฝึกปฏิบัติตาม ขั้นปฏิบัติตามแบบ ขั้นฝึกปฏิบัติอย่างอิสระ ขั้นให้คำแนะนำและปรับปรุงแก้ไข กระบวนการสอนกำหนดแนวคิด เนื้อหา และจุดประสงค์ไว้ก่อน แนวคิดและเทคนิคในการสอนโดยพิจารณาความสามารถเฉพาะบุคคล ลำดับการสอนเพลงง่ายสู่เพลงยาก สอนโดยเน้นจิตวิทยาวัยรุ่นและแม้ว่าจะยังไม่ปรากฏแนวคิดและเทคนิคใหม่เด่นชัด แต่มีความโดดเด่นในการผสมผสานเทคนิคการสอนและจิตวิทยาการสอนเข้าไว้ด้วยกัน วิธีการควบคุมวงขับร้องประสานเสียง มีการจัดตารางซ้อมอย่างเป็นระบบ กำหนดแผนการฝึกซ้อมวิชาชุมนุมฯ ตลอดปีการศึกษา มีการวางตำแหน่งหน้าที่งานชัดเจน มีการนำระบบพี่สอนน้องมาใช้และมีระบบการทำงานเป็นทีม มีกำหนดกฎระเบียบในการฝึกซ้อมร่วมกัน นอกจากนี้ยังมีการใช้จิตวิทยาการจูงใจผู้เรียนในการเรียนและฝึกซ้อม ข้อผิดพลาด ปัญหา อุปสรรคและแนวทางแก้ไขปรากฏอยู่ในการศึกษาครั้งนี้ | |
dc.description.abstract | This research aims 1) to study teaching methods, concepts and new techniques used in teaching choral chorus course in MATHAYOM SANGKEET School, Bangkok, 2) to study how to control and conduct the chorus band of the school, 3) to study the psychological principles used to motivate the students in learning choral chorus course and 4) to study any previous mistakes, problems and obstacles found in teaching and conducting the chorus as well as study how to solve them. This research is a qualitative research. Data collection was done by observing non-participatory teaching and in-depth interviews with Ms.Khamnit Ratanaadechapiwat, a teacher who established the chorus band of MATHAYOM SANGKEET School, Bangkok, current 2 students and 2 school alumni. The results of this research are as follows. The instructors have followed teaching procedure starting from lead in, presentation, practice, free-practice, and guidance and correction. The research also found out that the instructors had set up purpose, content and a concept of each lesson. Concepts and techniques are considered based on individual talents. The lessons are challenging ranging from easy music to more difficult songs applying to teen psychology. No new concepts or techniques have emerged. However, there are remarkable combinations of teaching techniques and psychology. There is a clear positioning and a systematic rehearsal schedule for the band throughout an academic year. The school has also arranged mentorship programs for students. There are both rules and psychological principles to encourage students to work on their studies and practice. | |
dc.format.extent | ก-ซ, 140 แผ่น : ภาพประกอบ, โน้ตเพลง | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.identifier.citation | สารนิพนธ์ (ศศ.ม. (ดนตรี))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2561 | |
dc.identifier.uri | https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/91879 | |
dc.language.iso | tha | |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยมหิดล. หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล | |
dc.rights | ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า | |
dc.rights.holder | มหาวิทยาลัยมหิดล | |
dc.subject | ขับร้องประสานเสียง | |
dc.subject | ดนตรี -- การศึกษาและการสอน | |
dc.title | การถอดบทเรียนการจัดการเรียนการสอนวิชาชุมนุมขับร้องประสานเสียง โรงเรียนมัธยมสังคีตวิทยา กรุงเทพมหานคร | |
dc.title.alternative | The lesson learned from choir club learning activities in Mathayom Sangkeet Witthaya School, Bangkok | |
dc.type | Master Thesis | |
dcterms.accessRights | open access | |
mods.location.url | http://mulinet11.li.mahidol.ac.th/e-thesis/2561/542/5938560.pdf | |
thesis.degree.department | มหาวิทยาลัยมหิดล | |
thesis.degree.discipline | ดนตรี | |
thesis.degree.grantor | มหาวิทยาลัยมหิดล | |
thesis.degree.level | ปริญญาโท | |
thesis.degree.name | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |