การพัฒนางานล้างไตทางช่องท้องด้วยเครือข่ายชุมชน อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี

dc.contributor.advisorสมชาติ โตรักษา
dc.contributor.advisorธวัช เตียวิไล
dc.contributor.authorรสสุคนธ์ ตันติวิชิตเวช
dc.date.accessioned2024-01-13T05:17:11Z
dc.date.available2024-01-13T05:17:11Z
dc.date.copyright2558
dc.date.created2567
dc.date.issued2558
dc.descriptionสาธารณสุขศาสตร์ (มหาวิทยาลัยมหิดล 2558)
dc.description.abstractงานล้างไตทางช่องท้อง เป็นหนึ่งในงานหลักที่ช่วยรักษาผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย พบปัญหาที่มีผลกระทบต่อครอบครัว ชุมชนและสิ่งแวดล้อม การวิจัยพัฒนาเชิงทดลอง แบบสองกลุ่ม วัดผลก่อน- หลังการทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบงานล้างไตทางช่องท้อง ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และ เปรียบเทียบผลการดำเนินงานระหว่างก่อนกับหลังการนำรูปแบบที่พัฒนาขึ้นไปดำเนินการ สิ่งที่ใช้ในการทดลองคือ รูปแบบงานล้างไตที่พัฒนาขึ้นโดยปรับปรุงเป็ นระยะๆ อย่างต่อเนื่อง ดำเนินการทดลองที่อำเภอโพธาราม ระหว่าง 16 พฤษภาคม 2557 ถึง 16 ตุลาคม 2557 ให้อำเภอบ้านโป่งเป็นพื้นที่ควบคุม ศึกษาในผู้ป่วย 61 คน ผู้บริหาร 33 คนและผู้ปฏิบัติงาน 51 คน วัดผลการดำเนินงาน 5 ด้าน คือ ปริมาณงานที่ทำ คุณภาพงานที่ทำ ด้านระยะเวลาและแรงงานที่ใช้ ด้านความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้อง และด้านเศรษฐศาสตร์ของการดำเนินงาน วิเคราะห์ ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ ค่าสถิติ Independent t, Mann-Whitney U, Paired t, Wilcoxon Matched-Pairs Signed-Ranks ที่แอลฟ่า 0.05 และ การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า รูปแบบใหม่ที่พัฒนาขึ้น มีการนำหลักวิขาการที่เกี่ยวข้อง มาประยุกต์โดยใช้ทรัพยากรเท่าที่มีอยู่ และให้ความสำคัญต่อการมีส่วนร่วมของผู้ที่เกี่ยวข้องตั้งแต่เริ่มต้น โดยการกำหนดองค์ประกอบหลักของรูปแบบที่เหมาะสมกับพื้นที่ทดลอง มีคู่มือแนวทางวิธีปฏิบัติงานที่ชัดเจน เป็นลายลักษณ์อักษร และเป็นที่ยอมรับของผู้ปฏิบัติงาน เน้นการมีส่วนร่วมของเครือข่ายชุมชนที่เกี่ยวข้อง เกิดการเรียนรู้และ ร่วมกันแก้ไขปัญหาอย่างครอบคลุม จนเกิดเป็นการดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องจากโรงพยาบาลไปจนถึงบ้าน พบว่าหลังการทดลองอัตราความถูกต้องการปฏิบัติตัวและดูแลตนเองของผู้ป่วยที่บ้านเพิ่มขึ้น (p<0.01) อัตราส่วนปริมาณงานส่งต่อเพื่อดูแลต่อเนื่อง เพิ่มขึ้น (p<0.01) ไม่พบข้อร้องเรียนจากชุมชน ความพึงพอใจเพิ่มขึ้นทั้งในผู้บริหาร (p<0.01) ผู้ปฏิบัติงาน (p<0.01) และผู้ป่วย (p<0.01) เสนอแนะให้พัฒนาต่อไปโดยนำภาคเอกชนและองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นมามีส่วนร่วม สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
dc.description.abstractPeritoneal dialysis is one of the main services provided by the hospital as it is necessary in helping patients with end-stage chronic renal disease (ESRD), which influences family, community, and environmental problems. This two-group research and development with pre and post-test aimed to develop a peritoneal dialysis model to be more effective and compare outcomes before and after using the model. The instrument was the developed peritoneal dialysis model, which is being continuously improved. The researchers conducted the study in Photharam District between May 16 and October 16, 2014. The control group was in Banpong District. The sample comprised 61 patients, 33 administrators, and 51 health providers. The researchers assessed five domains of outcomes: workloads, quality, time and personnel, satisfaction, and economic results. The researchers analyzed the data using mean, standard deviation, percentage, independent t-test, Mann-Whitney U test, paired t-test, Wilcoxon Matched-Pairs Signed-Ranks test (α=0.05), and content analysis. The findings showed that the new model was underpinned by related concepts, advantageous application of existing resources, and promotion of stakeholders' participation. The main components of the model were identified suitably for the study areas. There was a clearly written procedure manual accepted by the health providers. The accuracy rates of practices and self-care among the patients increased (p<0.01). The ratios of workloads transferred for continuing care increased (p<0.01). There were no complaints from the community which was satisfied administrators (p<0.01), health providers (p<0.01), and patients (p<0.01). The developed model emphasized the participation of community networks. The stakeholders learned and solved problems faced consequently, there was continuing care from the hospital to homes. The recommendation is to promote participation of the private sector and local administrator organizations to have sustainable development.
dc.format.extentก-ฌ, 239 แผ่น : ภาพประกอบ
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.identifier.citationวิทยานิพนธ์ (วท.ม. (สาธารณสุขศาสตร์))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2558
dc.identifier.urihttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/92628
dc.language.isotha
dc.publisherมหาวิทยาลัยมหิดล. หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล
dc.rightsผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
dc.rights.holderมหาวิทยาลัยมหิดล
dc.subjectการล้างไตทางช่องท้อง -- ไทย -- ราชบุรี
dc.titleการพัฒนางานล้างไตทางช่องท้องด้วยเครือข่ายชุมชน อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี
dc.title.alternativeA development of peritoneal dialysis with community networks at Photharam district, Ratchaburi province
dc.typeMaster Thesis
dcterms.accessRightsopen access
mods.location.urlhttp://mulinet11.li.mahidol.ac.th/e-thesis/2557/cd498/5537942.pdf
thesis.degree.departmentคณะสาธารณสุขศาสตร์
thesis.degree.disciplineสาธารณสุขศาสตร์
thesis.degree.grantorมหาวิทยาลัยมหิดล
thesis.degree.levelปริญญาโท
thesis.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

Files