An investigation of the significance of endogenous prolactin in the regulation of calcium metabolism in young and nonmated mature wistar rats-A longitudinal study
Issued Date
1999
Copyright Date
1999
Resource Type
Language
eng
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
xiv, 138 leaves : ill.
ISBN
9746631284
Access Rights
open access
Rights
ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
Rights Holder(s)
Mahidol University
Bibliographic Citation
Thesis (M.Sc. (Physiology))--Mahidol University, 1999
Suggested Citation
Pritsana Piyabhan An investigation of the significance of endogenous prolactin in the regulation of calcium metabolism in young and nonmated mature wistar rats-A longitudinal study. Thesis (M.Sc. (Physiology))--Mahidol University, 1999. Retrieved from: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/103511
Title
An investigation of the significance of endogenous prolactin in the regulation of calcium metabolism in young and nonmated mature wistar rats-A longitudinal study
Alternative Title(s)
ความสำคัญของฮอร์โมนโพรแลคตินในการควบคุมสมดุลแคลเซียมตั้งแต่ช่วงเจริญเติบโตจนถึงวัยเจริญพันธุ์ในหนูขาว
Author(s)
Abstract
The role of endogenous prolactin in the regulation of calcium (Ca) metabolism and the effect of hyperprolactinemia on calcium balances were evaluated in longitudinal studies in Wistar rats from the age of 3 to 11 weeks. The experiment was divided into two parts : part I, comparison of calcium metabolism in male and female rats; and part II, evaluation of the role of endogenous prolactin and effect of hyperprolactinemia in female rats. In part II, 3 week old female rats were divided into 5 groups according to a daily injection of drug or hormone : i) control group, receiving 0.9% NaCl; ii) 0.6 mg/ 100 g BW bromocriptine-treated group (-PRLendo); iii) 0.25 mg/ 100 g BW ovine prolactin-treated group (+PRLexo); iv) hyperprolactinemia induced by anterior pituitary gland implantation (AP); and v) sham. Each animal underwent the three day calcium balance study at the age of 3, 5, 7, 9 and 11 weeks. Part I of this study showed that calcium metabolism was generally similar in female and male rats from weaning age to adulthood but some differences were seen in the magnitude of the fractional calcium absorption and calcium content in bone. The fractional calcium absorption of males was higher than that of females by approximately 10% especially in the growing period (5 weeks) whereas total calcium content in both trabecular and compact bone of males was twice that of females. Moreover, the fractional calcium absorption in 5 week old animals was maximum with the values of 68.37 ± 0.63 and 74.31 ± 1.09% of total calcium intake in females and males, respectively. Part II of this study showed that endogenous prolactin was responsible for the high percent increase in the three day body weight gain in weaned rats (ie., 9.03 ± 1.67% in intact vs 6.82 ± 1.58% in -PRLendo group) and 9 week old rats (ie., 3.29 ± 0.51% in intact vs 0.20 ± 0.67% in -PRLendo group) by increasing food consumption by approximately 40% and 20% in weaned and 9 week old rats, respectively. Moreover, in 5 week old rats, prolactin increased the fractional calcium absorption from 41.78 ± 4.04% to 68.37 ± 0.63% of calcium intake (P < 0.05) leading to a significant increase in calcium content of the lumbar vertebrae 5-6 from 3.24 ± 0.17 to 3.71 ± 0.22 mmole/g dry weight (P < 0.05). In contrast, hyperprolactinemia, induced either by exogenous prolactin or pituitary implantation, significantly decreased the fractional calcium absorption by 20-30% in 5 week old rats. However, the biphasic effect of prolactin was demonstrated in AP group ie., in 7, 9 and 11 week old rats, hyperprolactinemia increased the fractional calcium absorption by 35-60%.
งานวิจัยนี้มุ่งศึกษาความสำคัญของฮอร์โมนโพรแลคตินในการควบคุมสมดุลแคลเซียม หรือสมดุลระหว่างแคลเซียมที่ได้รับจากการกินอาหาร และแคลเซียมที่ขับออกทางอุจจาระ และปัสสาวะ ตั้งแต่ช่วงอายุหลังหย่านมและเจริญเติบโตจนถึงวัยเจริญพันธุ์ (3-11 สัปดาห์) ในหนูขาว โดยแบ่งการศึกษาออกเป็น 2 ส่วนคือ การเปรียบเทียบสมดุลแคลเซียมระหว่าง หนูปกติเพศผู้และเพศเมีย และการศึกษาบทบาทของโพรแลคตินในการควบคุมสมดุลแคลเซียม ในภาวะปกติ และภาวะที่มีระดับของโฮร์โมนโพรแลคตินในกระแสเลือดสูงกว่าปกติ ในการ ทดลองส่วนที่ 2 นี้ แบ่งหนูเป็น 5 กลุ่มคือ 1) หนูปกติซึ่งได้รับการฉีดโซเดียมคลอไรด์ 0.9% ใต้ผิวหนังทุกวัน 2) หนูที่ขาดฮอร์โมนโพรแลคตินซึ่งเป็นผลจากการได้รับการฉีด โบรโมคริปทีน (0.3 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 100 กรัม) เข้าในช่องท้องวันละ 2 ครั้ง เพื่อยับยั้งการหลั่งโพรแลคตินจากต่อมพิทูอิตารีส่วนหน้า หนูที่มีระดับของฮอร์โมน โพรแลคตินสูงกว่าปกติ ซึ่งแบ่งย่อยออกเป็น กลุ่ม 3) จากการฉีดโพรแลคตินของแกะ (0.25 มิลลิกรัมาต่อน้ำหนักตัว 100 กรัม) เข้าใต้ผิวหนังทุกวันและกลุ่ม 4) จากการผ่าตัดฝังต่อม พิทูอิตารี ซึ่งได้จากหนูวัยเจริญพันธุ์เพศเมีย 2 ตัว ลงใต้เปลือกหุ้มไต และ 5) หนูปกติ ที่ผ่าตัดเลียนแบบการฝังต่อมพิทูอิตารี (Sham) ทำการศึกษาสมดุลแคลเซียมโดย balance study เป็นเวลา 3 วัน ในหนูทุกกลุ่มที่อายุ 3,5,7,9 และ 11 สัปดาห์ จากการทดลองพบว่าหนูทั้ง 2 เพศมีการเปลี่ยนแปลงสมดุลแคลเซียมคล้ายกันตั้งแต่ ช่วงเจริญเติบโตจนถึงวัยเจริญพันธุ์ การดูดซึมแคลเซียมมีประสิทธิภาพสูงสุดในช่วงอายุ 5 สัปดาห์ (เปอร์เซนต์การดูดซึมเมื่อเทียบกับปริมาณที่ได้รับจากการกินอาหารในเพศเมียคือ 68.37±0.63% และในเพศผู้มีค่าเท่ากับ 74.31±1.09%) จะเห็นได้ว่าหนูวัย เจริญเติบโตเพศผู้จะมีการดูดซึมแคลเซียมมากกว่าเพศเมียประมาณ 10% ซึ่งส่งผลให้หนูเพศผู้ มีปริมาณแคลเซียมในกระดูกทั้ง compact (femur) และ trabecular(lumbar vertebrae 5-6) มากกว่าเพศเมีย ในการศึกษาบทบาทของโพรแลคตินที่ผลิตในร่างกาย พบว่าโพรแลคตินมีความสำคัญ ต่อการเพิ่มน้ำหนักตัวของหนูที่อายุ 3 และ 9 สัปดาห์ กล่าวคือ ที่อายุ 3 สัปดาห์ เปอร์เซนต์การเพิ่มขึ้นของน้ำหนักตัวต่อ 3 วันที่ทำ balance study สูงจาก 6.82(+,ฑ)1.58% เป็น 9.03±1.67% ที่อายุ 3 สัปดาห์ (P<0.05) และจาก 0.20(+,ฑ)0.67% เป็น 3.29±0.51% ที่อายุ 9 สัปดาห์ (P<0.05) ซึ่งสัมพันธ์กับ ปริมาณอาหารที่กินเพิ่มขึ้น นอกจากนั้นโพรแลคตินยังมีผลกระตุ้นการดูดซึมแคลเซียมใน อายุ 5 สัปดาห์จาก 41.78±4.04% ของแคลเซียมที่ได้รับเป็น 68.37(+,ฑ)0.63% ซึ่งทำให้ปริมาณแคลเซียมในกระดูก trabecular (lumbar vertebrae 5-6) เพิ่มขึ้น จาก 3.24±0.17 เป็น 3.71±0.22 มิลลิโมลต่อน้ำหนักระดูก 1 กรัม (P<0.05) แต่เมื่อระดับของฮอร์โมนโพรแลคตินในเลือดสูงกว่าปกติ (ทั้งจากการได้รับการฉีดโพรแลคติน และการฝังต่อมพิทูอิตารี) จะพบว่าการดูดซึมแคลเซียมของหนูในวัยนี้ลดลง 20-30% แต่ใน สัปดาห์หลังจากนี้การดูดซึมแคลเซียมจะกลับเพิ่มขึ้น 35-60% จนกระทั่งอายุ 11 สัปดาห์ ในกลุ่มที่ผ่าตัดฝังต่อมพิทูอิตารี
งานวิจัยนี้มุ่งศึกษาความสำคัญของฮอร์โมนโพรแลคตินในการควบคุมสมดุลแคลเซียม หรือสมดุลระหว่างแคลเซียมที่ได้รับจากการกินอาหาร และแคลเซียมที่ขับออกทางอุจจาระ และปัสสาวะ ตั้งแต่ช่วงอายุหลังหย่านมและเจริญเติบโตจนถึงวัยเจริญพันธุ์ (3-11 สัปดาห์) ในหนูขาว โดยแบ่งการศึกษาออกเป็น 2 ส่วนคือ การเปรียบเทียบสมดุลแคลเซียมระหว่าง หนูปกติเพศผู้และเพศเมีย และการศึกษาบทบาทของโพรแลคตินในการควบคุมสมดุลแคลเซียม ในภาวะปกติ และภาวะที่มีระดับของโฮร์โมนโพรแลคตินในกระแสเลือดสูงกว่าปกติ ในการ ทดลองส่วนที่ 2 นี้ แบ่งหนูเป็น 5 กลุ่มคือ 1) หนูปกติซึ่งได้รับการฉีดโซเดียมคลอไรด์ 0.9% ใต้ผิวหนังทุกวัน 2) หนูที่ขาดฮอร์โมนโพรแลคตินซึ่งเป็นผลจากการได้รับการฉีด โบรโมคริปทีน (0.3 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 100 กรัม) เข้าในช่องท้องวันละ 2 ครั้ง เพื่อยับยั้งการหลั่งโพรแลคตินจากต่อมพิทูอิตารีส่วนหน้า หนูที่มีระดับของฮอร์โมน โพรแลคตินสูงกว่าปกติ ซึ่งแบ่งย่อยออกเป็น กลุ่ม 3) จากการฉีดโพรแลคตินของแกะ (0.25 มิลลิกรัมาต่อน้ำหนักตัว 100 กรัม) เข้าใต้ผิวหนังทุกวันและกลุ่ม 4) จากการผ่าตัดฝังต่อม พิทูอิตารี ซึ่งได้จากหนูวัยเจริญพันธุ์เพศเมีย 2 ตัว ลงใต้เปลือกหุ้มไต และ 5) หนูปกติ ที่ผ่าตัดเลียนแบบการฝังต่อมพิทูอิตารี (Sham) ทำการศึกษาสมดุลแคลเซียมโดย balance study เป็นเวลา 3 วัน ในหนูทุกกลุ่มที่อายุ 3,5,7,9 และ 11 สัปดาห์ จากการทดลองพบว่าหนูทั้ง 2 เพศมีการเปลี่ยนแปลงสมดุลแคลเซียมคล้ายกันตั้งแต่ ช่วงเจริญเติบโตจนถึงวัยเจริญพันธุ์ การดูดซึมแคลเซียมมีประสิทธิภาพสูงสุดในช่วงอายุ 5 สัปดาห์ (เปอร์เซนต์การดูดซึมเมื่อเทียบกับปริมาณที่ได้รับจากการกินอาหารในเพศเมียคือ 68.37±0.63% และในเพศผู้มีค่าเท่ากับ 74.31±1.09%) จะเห็นได้ว่าหนูวัย เจริญเติบโตเพศผู้จะมีการดูดซึมแคลเซียมมากกว่าเพศเมียประมาณ 10% ซึ่งส่งผลให้หนูเพศผู้ มีปริมาณแคลเซียมในกระดูกทั้ง compact (femur) และ trabecular(lumbar vertebrae 5-6) มากกว่าเพศเมีย ในการศึกษาบทบาทของโพรแลคตินที่ผลิตในร่างกาย พบว่าโพรแลคตินมีความสำคัญ ต่อการเพิ่มน้ำหนักตัวของหนูที่อายุ 3 และ 9 สัปดาห์ กล่าวคือ ที่อายุ 3 สัปดาห์ เปอร์เซนต์การเพิ่มขึ้นของน้ำหนักตัวต่อ 3 วันที่ทำ balance study สูงจาก 6.82(+,ฑ)1.58% เป็น 9.03±1.67% ที่อายุ 3 สัปดาห์ (P<0.05) และจาก 0.20(+,ฑ)0.67% เป็น 3.29±0.51% ที่อายุ 9 สัปดาห์ (P<0.05) ซึ่งสัมพันธ์กับ ปริมาณอาหารที่กินเพิ่มขึ้น นอกจากนั้นโพรแลคตินยังมีผลกระตุ้นการดูดซึมแคลเซียมใน อายุ 5 สัปดาห์จาก 41.78±4.04% ของแคลเซียมที่ได้รับเป็น 68.37(+,ฑ)0.63% ซึ่งทำให้ปริมาณแคลเซียมในกระดูก trabecular (lumbar vertebrae 5-6) เพิ่มขึ้น จาก 3.24±0.17 เป็น 3.71±0.22 มิลลิโมลต่อน้ำหนักระดูก 1 กรัม (P<0.05) แต่เมื่อระดับของฮอร์โมนโพรแลคตินในเลือดสูงกว่าปกติ (ทั้งจากการได้รับการฉีดโพรแลคติน และการฝังต่อมพิทูอิตารี) จะพบว่าการดูดซึมแคลเซียมของหนูในวัยนี้ลดลง 20-30% แต่ใน สัปดาห์หลังจากนี้การดูดซึมแคลเซียมจะกลับเพิ่มขึ้น 35-60% จนกระทั่งอายุ 11 สัปดาห์ ในกลุ่มที่ผ่าตัดฝังต่อมพิทูอิตารี
Description
Physiology (Mahidol University 1999)
Degree Name
Master of Science
Degree Level
Master's degree
Degree Department
Faculty of Science
Degree Discipline
Physiology
Degree Grantor(s)
Mahidol University