การพัฒนาเครื่องมือวัดความแตกต่างความยาวขาที่ไม่เท่ากันทางคลินิก
Issued Date
2567
Copyright Date
2562
Resource Type
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
ก-ฏ, 111 แผ่น : ภาพประกอบ
Access Rights
open access
Rights
ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
Rights Holder(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (วิทยาการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2562
Suggested Citation
ภูชิชย์ ถนอมวงษ์ การพัฒนาเครื่องมือวัดความแตกต่างความยาวขาที่ไม่เท่ากันทางคลินิก . วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (วิทยาการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2562 . สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/92050
Title
การพัฒนาเครื่องมือวัดความแตกต่างความยาวขาที่ไม่เท่ากันทางคลินิก
Alternative Title(s)
Development of a measurement tool for leg length discrepancy in clinic
Author(s)
Advisor(s)
Abstract
This research aims to (1) develop of leg length discrepancy (LLD) measurement tool in clinic and (2) measure the reliability and validity of the leg length discrepancy tool to the newly tool in clinic. The sample group consisted of patients with LLD who had been treated at Rajavithi Hospital who wished to volunteer to participate in the assessment of 15 cases, with 4 testers, divided into 2 experienced testers and those who 2 inexperienced testers. All patients were randomly assigned to receive 3 methods of measurement, including the Tape method (TP), Block method (BK) and measuring method with The newly developed measurement (New tool). The tool used in the research is The data recording form. The data obtained was analyzed to find the reliability of the tester. Reliability obtained by the calculation of the Intraclass Correlation Coefficient and the Validity by calculating the Pearson correlation coefficient. The research results found that Intertester reliability was measured by BK (0.950) rather than NT (0.931) and TP (0.719) respectively. Intratester reliability by BK (0.987) was greater than NT (NT) 0.981) and TP (0.886) respectively. Validity by compared with BK found that NT was 0.974 and TP was 0.515. Conclusion leg length difference as well as newly developed clinical said that NT is high reliability and validity and close to BK
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาเครื่องมือวัดความแตกต่างความยาวขาที่ไม่เท่ากันทางคลินิก และ (2) วัดความน่าเชื่อถือ (Reliability) และเที่ยงตรง (Validity) ของเครื่องมือวัดความแตกต่างความยาวขาที่ไม่เท่ากันทางคลินิกที่ได้พัฒนาขึ้นใหม่ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยที่มี LLD ซึ่งมารับบริการตรวจรักษาที่โรงพยาบาลราชวิถีที่มีความประสงค์จะอาสาเข้าร่วมรับการประเมิน จำนวน 15 ราย โดยมีผู้ทำการทดสอบ 4 คน แบ่งเป็นผู้ทดสอบที่มีประสบการณ์ 2 คนและผู้ทดสอบที่ไม่มีประสบการณ์ 2 คน ผู้ป่วยทุกรายได้รับการสุ่มเพื่อเข้ารับการวัด 3 วิธี ได้แก่ วิธีวัดด้วยสายวัด (TP) วิธีวัดด้วยบล็อก (BK) และวิธีวัดด้วยเครื่องมือวัดที่พัฒนาขึ้นใหม่ (NT) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบบันทึกข้อมูลการวัด LLD ด้วยวิธีวัดทางคลินิก นำผลข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ผลเพื่อหาค่าความน่าเชื่อถือของผู้ทดสอบ (Reliability) ซึ่งได้จากการคำนวณค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (Intraclass Correlation Coefficient) และ ความเที่ยงตรง (Validity) ของเครื่องมือวัดความแตกต่างความยาวขาที่ไม่เท่ากันทางคลินิกที่ได้พัฒนาขึ้นใหม่ได้จากการคำนวณค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson correlation coefficient) ผลการวิจัยพบว่าค่าความน่าเชื่อถือระหว่างผู้ทดสอบ (Intertester reliability) วิธีวัดด้วย BK (0.950) มากกว่าวิธี NT (0.931) และวิธี TP (0.719) ตามลำดับ ค่าความน่าเชื่อถือภายในผู้ทดสอบ (Intratester reliability) วิธีวัดด้วย BK (0.987) มากกว่าวิธี NT (0.981) และวิธี TP (0.886) ตามลำดับ ค่าความเที่ยงตรง (Validity) เมื่อเทียบกับวิธี BK พบว่าวิธี NT เท่ากับ 0.974 และวิธี TP เท่ากับ 0.515 สรุปผลการทดสอบประสิทธิผลเครื่องมือวัดความแตกต่างความยาวขาที่ไม่เท่ากันทางคลินิกที่ได้พัฒนาขึ้นใหม่ กล่าวได้ว่าวิธี NT มีความน่าเชื่อถือ (reliability) และเที่ยงตรง (validity)ในระดับสูง และใกล้เคียงกับวิธี BK
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาเครื่องมือวัดความแตกต่างความยาวขาที่ไม่เท่ากันทางคลินิก และ (2) วัดความน่าเชื่อถือ (Reliability) และเที่ยงตรง (Validity) ของเครื่องมือวัดความแตกต่างความยาวขาที่ไม่เท่ากันทางคลินิกที่ได้พัฒนาขึ้นใหม่ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยที่มี LLD ซึ่งมารับบริการตรวจรักษาที่โรงพยาบาลราชวิถีที่มีความประสงค์จะอาสาเข้าร่วมรับการประเมิน จำนวน 15 ราย โดยมีผู้ทำการทดสอบ 4 คน แบ่งเป็นผู้ทดสอบที่มีประสบการณ์ 2 คนและผู้ทดสอบที่ไม่มีประสบการณ์ 2 คน ผู้ป่วยทุกรายได้รับการสุ่มเพื่อเข้ารับการวัด 3 วิธี ได้แก่ วิธีวัดด้วยสายวัด (TP) วิธีวัดด้วยบล็อก (BK) และวิธีวัดด้วยเครื่องมือวัดที่พัฒนาขึ้นใหม่ (NT) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบบันทึกข้อมูลการวัด LLD ด้วยวิธีวัดทางคลินิก นำผลข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ผลเพื่อหาค่าความน่าเชื่อถือของผู้ทดสอบ (Reliability) ซึ่งได้จากการคำนวณค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (Intraclass Correlation Coefficient) และ ความเที่ยงตรง (Validity) ของเครื่องมือวัดความแตกต่างความยาวขาที่ไม่เท่ากันทางคลินิกที่ได้พัฒนาขึ้นใหม่ได้จากการคำนวณค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson correlation coefficient) ผลการวิจัยพบว่าค่าความน่าเชื่อถือระหว่างผู้ทดสอบ (Intertester reliability) วิธีวัดด้วย BK (0.950) มากกว่าวิธี NT (0.931) และวิธี TP (0.719) ตามลำดับ ค่าความน่าเชื่อถือภายในผู้ทดสอบ (Intratester reliability) วิธีวัดด้วย BK (0.987) มากกว่าวิธี NT (0.981) และวิธี TP (0.886) ตามลำดับ ค่าความเที่ยงตรง (Validity) เมื่อเทียบกับวิธี BK พบว่าวิธี NT เท่ากับ 0.974 และวิธี TP เท่ากับ 0.515 สรุปผลการทดสอบประสิทธิผลเครื่องมือวัดความแตกต่างความยาวขาที่ไม่เท่ากันทางคลินิกที่ได้พัฒนาขึ้นใหม่ กล่าวได้ว่าวิธี NT มีความน่าเชื่อถือ (reliability) และเที่ยงตรง (validity)ในระดับสูง และใกล้เคียงกับวิธี BK
Description
วิทยาการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ (มหาวิทยาลัยมหิดล 2562)
Degree Name
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Department
วิทยาลัยราชสุดา
Degree Discipline
วิทยาการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ
Degree Grantor(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล