Flood preparedness for risk reduction of household, Salaya community, Nakhonpathom
Issued Date
2023
Copyright Date
2015
Language
eng
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
xi, 175 leaves : col. ill.
Access Rights
restricted access
Rights Holder(s)
Mahidol University
Bibliographic Citation
Thesis (Ph.D. (Population Education))--Mahidol University, 2015
Suggested Citation
Teeranong Sakulsri Flood preparedness for risk reduction of household, Salaya community, Nakhonpathom. Thesis (Ph.D. (Population Education))--Mahidol University, 2015. Retrieved from: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/89749
Title
Flood preparedness for risk reduction of household, Salaya community, Nakhonpathom
Alternative Title(s)
การพัฒนาแนวทางการเตรียมความพร้อมในการลดความเสี่ยงให้กับครัวเรือนในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่ออุทกภัย กรณีศึกษาตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม
Author(s)
Advisor(s)
Abstract
This study was aimed to develop guidelines for preparedness to reduce the risk among households in flood risk areas. The study put an emphasis on household levels of preparedness for households for risks in the future. The study comprised of three stages. First was spatial analysis of areas and households which are located in flood risk areas. This stage analysed physical features of the areas with the application of a geographic information system (GIS) and potential surface analysis (PSA) to identify areas and locations of households at risk of flooding. In this stage, a classification of areas was undertaken and the area was divided into four levels, then an overlay was used on the household data in order to categorize households by risk levels. Secondly, this study looked for exposure, vulnerability and flood management capacity using in-depth interviews, content analysis and group discussion. Thirdly, all factors were analysed for the development of guidelines on household's preparedness for risk reduction. By meeting all the objectives, this study successfully developed a guideline on preparedness for households. The guideline has two models: The first model is the guideline for households. This guideline was developed from factors of vulnerability and characteristics of vulnerability. This guideline allows households to select the most suitable practices based on their specific vulnerabilities. The second model is the guideline for both households and organizations. The major components i n this guideline are risk areas and exposure or physical features. The guideline is for households to make decisions and for organizations to prioritize areas and set criteria for support, especially for highly vulnerable households that need capacity enhancement to manage floods.
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแนวทางในการเตรียมความพร้อมเพื่อลดความเสี่ยงให้กับครัวเรือนในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่ออุทกภัย การวิจัยนี้ มุ่งเน้นการศึกษาในระดับครัวเรือน เพื่อหาแนวทางการเตรียมความพร้อมในการลดความเสี่ยงให้กับครัวเรือนก่อนเกิดวิกฤตการณ์ในครั้งต่อไป การวิจัยนี้ แบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การวิเคราะห์พื้นที่และครัวเรือนที่ตั้งอยู่บนพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดอุทกภัยจากปัจจัยทางด้านกายภาพ ด้วยการประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ร่วมกับหลักการวิเคราะห์ศักยภาพเชิงพื้นที่ เพื่อหาพื้นที่ตั้งของครัวเรือนที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดอุทกภัย โดยแบ่งพื้นที่ออกเป็น 4 ระดับ และทำการซ้อนทับข้อมูลครัวเรือน เพื่อจำแนกครัวเรือนตามระดับความเสี่ยงต่าง ๆ ขั้นตอนที่ 2 เป็นการศึกษาความล่อแหลม ความเปราะบาง และศักยภาพของครัวเรือนในการจัดการอุทกภัย โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก การวิเคราะห์เนื้อหาการสัมภาษณ์ และการสนทนากลุ่ม และขั้นตอนที่ 3 เป็นการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของปัจจัยทั้งหมดที่ส่งผลให้ครัวเรือนมีความเสี่ยงที่จะได้รับผลกระทบจากอุทกภัย และพัฒนาแนวทางในการเตรียมความพร้อมเพื่อลดความเสี่ยงให้กับครัวเรือน ผลการพัฒนาแนวทางการเตรียมความพร้อมในการลดความเสี่ยงโดยให้ครัวเรือนถูกพัฒนาขึ้นจากผลการวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยง ความล่อแหลม ความเปราะบาง และศักยภาพ โดยแนวทางที่ถูกพัฒนาขึ้น แบ่งออกเป็น 2 แนวทางหลัก คือ 1) แนวทางการเตรียมความพร้อมสำหรับครัวเรือนที่ถูกพัฒนาขึ้นจากปัจจัยความเปราะบาง และลักษณะความเปราะบาง เพื่อเป็นการเพิ่มศักยภาพให้กับครัวเรือนในการตัดสินใจเลือกแนวทางการลดความเสี่ยง โดยสมาชิกครัวเรือนเป็นผู้ตัดสินใจเลือกแนวทางที่เหมาะสมสาหรับครัวเรือนตนเอง 2) แนวทางการเตรียมความพร้อมสำหรับครัวเรือนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยแนวทางดังกล่าวนี้ถูกพัฒนาขึ้นจากผลการวิเคราะห์ความเสี่ยงและความล่อแหลมเพื่อให้ครัวเรือนตัดสินใจเลือกแนวทางในการเตรียมความพร้อมเพื่อลดความเสี่ยง และเป็นแนวทางให้หน่วยงานลำดับความสำคัญของพื้นที่และกำหนดแนวทางในการให้ความช่วยเหลือครัวเรือนอย่างเหมาะสมและสอดรับกันในทุกระดับ โดยเฉพาะครัวเรือนมีความเปราะบางเป็นพิเศษที่ควรต้องได้รับการสนับสนุนเพื่อเพิ่มศักยภาพในการรับมือกับอุทกภัย
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแนวทางในการเตรียมความพร้อมเพื่อลดความเสี่ยงให้กับครัวเรือนในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่ออุทกภัย การวิจัยนี้ มุ่งเน้นการศึกษาในระดับครัวเรือน เพื่อหาแนวทางการเตรียมความพร้อมในการลดความเสี่ยงให้กับครัวเรือนก่อนเกิดวิกฤตการณ์ในครั้งต่อไป การวิจัยนี้ แบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การวิเคราะห์พื้นที่และครัวเรือนที่ตั้งอยู่บนพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดอุทกภัยจากปัจจัยทางด้านกายภาพ ด้วยการประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ร่วมกับหลักการวิเคราะห์ศักยภาพเชิงพื้นที่ เพื่อหาพื้นที่ตั้งของครัวเรือนที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดอุทกภัย โดยแบ่งพื้นที่ออกเป็น 4 ระดับ และทำการซ้อนทับข้อมูลครัวเรือน เพื่อจำแนกครัวเรือนตามระดับความเสี่ยงต่าง ๆ ขั้นตอนที่ 2 เป็นการศึกษาความล่อแหลม ความเปราะบาง และศักยภาพของครัวเรือนในการจัดการอุทกภัย โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก การวิเคราะห์เนื้อหาการสัมภาษณ์ และการสนทนากลุ่ม และขั้นตอนที่ 3 เป็นการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของปัจจัยทั้งหมดที่ส่งผลให้ครัวเรือนมีความเสี่ยงที่จะได้รับผลกระทบจากอุทกภัย และพัฒนาแนวทางในการเตรียมความพร้อมเพื่อลดความเสี่ยงให้กับครัวเรือน ผลการพัฒนาแนวทางการเตรียมความพร้อมในการลดความเสี่ยงโดยให้ครัวเรือนถูกพัฒนาขึ้นจากผลการวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยง ความล่อแหลม ความเปราะบาง และศักยภาพ โดยแนวทางที่ถูกพัฒนาขึ้น แบ่งออกเป็น 2 แนวทางหลัก คือ 1) แนวทางการเตรียมความพร้อมสำหรับครัวเรือนที่ถูกพัฒนาขึ้นจากปัจจัยความเปราะบาง และลักษณะความเปราะบาง เพื่อเป็นการเพิ่มศักยภาพให้กับครัวเรือนในการตัดสินใจเลือกแนวทางการลดความเสี่ยง โดยสมาชิกครัวเรือนเป็นผู้ตัดสินใจเลือกแนวทางที่เหมาะสมสาหรับครัวเรือนตนเอง 2) แนวทางการเตรียมความพร้อมสำหรับครัวเรือนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยแนวทางดังกล่าวนี้ถูกพัฒนาขึ้นจากผลการวิเคราะห์ความเสี่ยงและความล่อแหลมเพื่อให้ครัวเรือนตัดสินใจเลือกแนวทางในการเตรียมความพร้อมเพื่อลดความเสี่ยง และเป็นแนวทางให้หน่วยงานลำดับความสำคัญของพื้นที่และกำหนดแนวทางในการให้ความช่วยเหลือครัวเรือนอย่างเหมาะสมและสอดรับกันในทุกระดับ โดยเฉพาะครัวเรือนมีความเปราะบางเป็นพิเศษที่ควรต้องได้รับการสนับสนุนเพื่อเพิ่มศักยภาพในการรับมือกับอุทกภัย
Degree Name
Doctor of Philosophy
Degree Level
Doctoral Degree
Degree Department
Faculty of Social Sciences and Humanities
Degree Discipline
Population Education
Degree Grantor(s)
Mahidol University