Non-conformity to the occupational health and safety assessment specification in the management of an aluminium manufacturing plant in Phra Nakhon Si Ayutthaya
Issued Date
2015
Copyright Date
2015
Resource Type
Language
eng
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
ix, 84 leaves
Access Rights
open access
Rights
ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
Rights Holder(s)
Mahidol University
Bibliographic Citation
Thematic Paper (M.Sc. (Industrial Hygiene and Safety))--Mahidol University, 2015
Suggested Citation
Pimlada Rujisavettapan Non-conformity to the occupational health and safety assessment specification in the management of an aluminium manufacturing plant in Phra Nakhon Si Ayutthaya. Thematic Paper (M.Sc. (Industrial Hygiene and Safety))--Mahidol University, 2015. Retrieved from: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/94102
Title
Non-conformity to the occupational health and safety assessment specification in the management of an aluminium manufacturing plant in Phra Nakhon Si Ayutthaya
Alternative Title(s)
การจัดการความไม่สอดคล้องตามระบบการจัดการด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในโรงงานผลิตท่ออลูมิเนียมแห่งหนึ่งในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
Author(s)
Abstract
This study was a descriptive research that aimed to compare the requirements of OHSAS 18001 to occupational health and safety operation of an aluminum manufacturing plant in Phra Nakhon Si Ayutthaya Province, to identify any inconsistency between the requirements of OHSAS 18001 and the occupational health and safety operation. A checklist was created according to the requirement of OHSAS 18001 as an instrument in evaluating the consistency in the company's occupational health and safety operation. Findings revealed that 33% of the company's operations according to 40 topics from 122 topics were inconsistent with the requirements. The inconsistency was found in the following regulations. Requirement 4.2 Safety Policy: there was no schedule for policy and regulation revision. Requirement 4.3.1 Hazard Identification, Risk Assessment and Control Measures: there was no action on hazard identification and risk assessment. Requirement 4.3.3 Objective and Project: there was no schedule for objective and purpose revision. Requirement 4.4.1 Resources, Roles, Responsibilities, and Authority: there was no designation of OHSMR roles and responsibilities for all staff. Requirement 4.4.2 Capability, Training, and Awareness: there was no organization training on hazards and risks for each department, as well as the training on the caution for the visitors. Requirement 4.4.4 Documentation: there was no safety manual to identify the scope and document structure. Requirement 4.5.3 Incident, Nonconformity Investigation, Correction and Prevention: there was no procedure for correction in occupational health and safety system and no corrective and preventive measures for complaints or suggestions regarding occupational health and safety. Requirement 4.5.5 Internal Audit: there was no internal audit regarding occupational health and safety. Requirement 4.6 Executive Revision: there was no scheduled topics for revision such as assessment result, participation and consultation results, revision of objectives, purpose, communication, complaints, and accident records. From the findings, the guidelines, for the improvement of the occupational health and safety operations to be consistent with the OHSAS 18001, were classified into three stages. The first stage was the arrangement step: to arrange the procedure for hazard identification and risk assessment, procedure for correction of occupational health and safety system, procedure for internal audit and Safety manual. Moreover, this stage included the training on OHSAS 18001 regulations, hazard identification and risk assessment, as well as the training on the risk in organization for visitors. The second stage was the revision and proceeding step: to set the revision of policy, objective, purpose, and plan, the revision of executives, the designation of OHSMR, and set the responsibility for occupational health and safety of all staff. Further, risk assessment was included in this stage. The third stage was the improvement step: to develop and revise the occupational health and safety plan to be consistent with the risk assessment result.
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนามีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบข้อกำหนดของระบบ OHSAS 18001 กับการดำเนินงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยของบริษัทผลิตท่ออลูมิเนียมแห่งหนึ่ง ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เพื่อให้ทราบสิ่งที่ยังไม่สอดคล้องตามข้อกำหนดและจัดทำแผนเพื่อปรับปรุงการดำเนินงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดย การศึกษาครั้งนี้ได้จัดทำแบบรายการตรวจสอบ (Checklist) ตามข้อกำหนดของระบบ OHSAS 18001เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการประเมินความสอดคล้องของการดำเนินงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยของบริษัท ผลการศึกษาพบว่าการดำเนินงานของบริษัทมีความไม่สอดคล้องตามข้อกำหนดร้อยละ 33 หรือ 40 หัวข้อ จากทั้งหมด122 หัวข้อ ได้แก่ ข้อกำหนด 4.2 นโยบายความปลอดภัย คือยังไม่ได้กำหนดให้มีการทบทวนนโยบาย ข้อกำหนด 4.3.1 การชี้บ่งอันตราย การประเมินความเสี่ยงและการตัดสินมาตรการควบคุม คือยังไม่ได้มีการดำเนินการใดๆเกี่ยวกับการชี้บ่งอันตรายและการประเมินความเสี่ยง ข้อกำหนด 4.3.3 วัตถุประสงค์และโครงการ คือยังไม่ได้มีการกำหนดให้มีการทบทวนวัตถุประสงค์และเป้าหมาย ข้อกำหนด 4.4.1 ทรัพยากร บทบาทหน้าที่ ความรับผิดชอบและอำนาจคือยังไม่ได้มีการแต่งตั้งตัวแทนฝ่ายบริหารด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย (OHSMR) และการกำหนดบทบาทหน้าที่ของบุคลากรทุกระดับข้อกำหนด 4.4.2 ความสามารถ การฝึกอบรมและจิตสำนึก คือยังไม่ได้มีการอบรมเรื่องอันตรายและความเสี่ยงในองค์กรให้กับแต่ละแผนกได้ทราบ รวมถึงยังไม่ได้มีการกำหนดให้มีการอบรมผู้เข้ามาเยี่ยมชมเรื่องสิ่งที่ต้องระวังขณะเข้ามาภายในองค์กร ข้อกำหนด 4.4.4 การจัดทำเอกสาร คือยังไม่ได้มีการจัดทำคู่มือด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย(Safety manual) ที่กำหนดขอบข่ายและระบบโครงสร้างของเอกสาร ข้อกำหนด 4.5.3 การสอบสวนอุบัติการณ์ สิ่งที่ไม่เป็นไปตาม ข้อกำหนด การแก้ไข และการป้องกันคือยังไม่ได้มีการจัดทำระเบียบปฏิบัติเรื่องการแก้ไขข้อบกพร่องในระบบอาชีวอนามัยและความปลอดภัย และกำหนดกระบวนการแก้ไขและป้องกันสำหรับข้อร้องเรียนหรือข้อเสนอแนะต่างๆที่เกี่ยวข้องกับอาชีวอนามัยและความปลอดภัยข้อกำหนด 4.5.5 การตรวจสอบภายใน คือยังไม่ได้มีการตรวจสอบภายในเรื่องอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ข้อกำหนด 4.6 การทบทวนโดยผู้บริหาร คือยังไม่ได้มีการกำหนดระยะเวลาในการทบทวนหัวข้อ ต่างๆ เช่น สิ่งที่ตรวจพบจากการประเมินผลการมีส่วนร่วมและการให้คำปรึกษา การทบทวนนโยบาย เป้าหมาย ประวัตถุประสงค์ การสื่อสาร ข้อร้องเรียน สถิติอุบัติเหตุ จากผลการศึกษาได้จัดทำแนวทางการปรับปรุงการดำเนินงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยให้สอดคล้องกับระบบ OHSAS 18001 โดยแบ่งออกเป็น 3 ระยะคือ ระยะที่ 1การจัดทำสิ่งที่ต้องดำเนินการคือการจัดทำเอกสารระเบียบปฏิบัติเรื่องการชี้บ่งอันตรายและการประเมินความเสี่ยง ระเบียบปฏิบัติเรื่องการแก้ไขข้อบกพร่องในระบบอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ระเบียบปฏิบัติเรื่อง การตรวจติดตามภายในของระบบอาชีวอนามัยและความปลอดภัยคู่มือความปลอดภัย (Safety manual)และการฝึกอบรมเรื่องข้อกำหนดของระบบ OHSAS 18001ฝึกอบรมเรื่องการชี้บ่งอันตรายและการประเมินความเสี่ยง และจัดให้มีการฝึกอบรม Visitor ให้ทราบเกี่ยวกับความเสี่ยงในองค์กรระยะที่ 2ระยะการทบทวนและการดำเนินการ สิ่งที่ต้องดำเนินการคือ กำหนดให้มีการทบทวนนโยบาย วัตถุประสงค์เป้าหมายและแผนงาน กำหนดให้มีการทบทวนของฝ่ายบริหาร กำหนดให้แต่งตั้ง OHSMR กำหนดให้มีการจัดทำหน้าที่ความรับผิดชอบ ด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยของทุกคนในองค์กร และให้ดำเนินการประเมินความเสี่ยง ระยะที่ 3. การปรับปรุง สิ่งที่ต้องดำเนินการ คือ ปรับปรุงแผนงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยให้สอดคล้องกับผลการประเมินความเสี่ยงของบริษัท
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนามีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบข้อกำหนดของระบบ OHSAS 18001 กับการดำเนินงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยของบริษัทผลิตท่ออลูมิเนียมแห่งหนึ่ง ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เพื่อให้ทราบสิ่งที่ยังไม่สอดคล้องตามข้อกำหนดและจัดทำแผนเพื่อปรับปรุงการดำเนินงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดย การศึกษาครั้งนี้ได้จัดทำแบบรายการตรวจสอบ (Checklist) ตามข้อกำหนดของระบบ OHSAS 18001เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการประเมินความสอดคล้องของการดำเนินงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยของบริษัท ผลการศึกษาพบว่าการดำเนินงานของบริษัทมีความไม่สอดคล้องตามข้อกำหนดร้อยละ 33 หรือ 40 หัวข้อ จากทั้งหมด122 หัวข้อ ได้แก่ ข้อกำหนด 4.2 นโยบายความปลอดภัย คือยังไม่ได้กำหนดให้มีการทบทวนนโยบาย ข้อกำหนด 4.3.1 การชี้บ่งอันตราย การประเมินความเสี่ยงและการตัดสินมาตรการควบคุม คือยังไม่ได้มีการดำเนินการใดๆเกี่ยวกับการชี้บ่งอันตรายและการประเมินความเสี่ยง ข้อกำหนด 4.3.3 วัตถุประสงค์และโครงการ คือยังไม่ได้มีการกำหนดให้มีการทบทวนวัตถุประสงค์และเป้าหมาย ข้อกำหนด 4.4.1 ทรัพยากร บทบาทหน้าที่ ความรับผิดชอบและอำนาจคือยังไม่ได้มีการแต่งตั้งตัวแทนฝ่ายบริหารด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย (OHSMR) และการกำหนดบทบาทหน้าที่ของบุคลากรทุกระดับข้อกำหนด 4.4.2 ความสามารถ การฝึกอบรมและจิตสำนึก คือยังไม่ได้มีการอบรมเรื่องอันตรายและความเสี่ยงในองค์กรให้กับแต่ละแผนกได้ทราบ รวมถึงยังไม่ได้มีการกำหนดให้มีการอบรมผู้เข้ามาเยี่ยมชมเรื่องสิ่งที่ต้องระวังขณะเข้ามาภายในองค์กร ข้อกำหนด 4.4.4 การจัดทำเอกสาร คือยังไม่ได้มีการจัดทำคู่มือด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย(Safety manual) ที่กำหนดขอบข่ายและระบบโครงสร้างของเอกสาร ข้อกำหนด 4.5.3 การสอบสวนอุบัติการณ์ สิ่งที่ไม่เป็นไปตาม ข้อกำหนด การแก้ไข และการป้องกันคือยังไม่ได้มีการจัดทำระเบียบปฏิบัติเรื่องการแก้ไขข้อบกพร่องในระบบอาชีวอนามัยและความปลอดภัย และกำหนดกระบวนการแก้ไขและป้องกันสำหรับข้อร้องเรียนหรือข้อเสนอแนะต่างๆที่เกี่ยวข้องกับอาชีวอนามัยและความปลอดภัยข้อกำหนด 4.5.5 การตรวจสอบภายใน คือยังไม่ได้มีการตรวจสอบภายในเรื่องอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ข้อกำหนด 4.6 การทบทวนโดยผู้บริหาร คือยังไม่ได้มีการกำหนดระยะเวลาในการทบทวนหัวข้อ ต่างๆ เช่น สิ่งที่ตรวจพบจากการประเมินผลการมีส่วนร่วมและการให้คำปรึกษา การทบทวนนโยบาย เป้าหมาย ประวัตถุประสงค์ การสื่อสาร ข้อร้องเรียน สถิติอุบัติเหตุ จากผลการศึกษาได้จัดทำแนวทางการปรับปรุงการดำเนินงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยให้สอดคล้องกับระบบ OHSAS 18001 โดยแบ่งออกเป็น 3 ระยะคือ ระยะที่ 1การจัดทำสิ่งที่ต้องดำเนินการคือการจัดทำเอกสารระเบียบปฏิบัติเรื่องการชี้บ่งอันตรายและการประเมินความเสี่ยง ระเบียบปฏิบัติเรื่องการแก้ไขข้อบกพร่องในระบบอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ระเบียบปฏิบัติเรื่อง การตรวจติดตามภายในของระบบอาชีวอนามัยและความปลอดภัยคู่มือความปลอดภัย (Safety manual)และการฝึกอบรมเรื่องข้อกำหนดของระบบ OHSAS 18001ฝึกอบรมเรื่องการชี้บ่งอันตรายและการประเมินความเสี่ยง และจัดให้มีการฝึกอบรม Visitor ให้ทราบเกี่ยวกับความเสี่ยงในองค์กรระยะที่ 2ระยะการทบทวนและการดำเนินการ สิ่งที่ต้องดำเนินการคือ กำหนดให้มีการทบทวนนโยบาย วัตถุประสงค์เป้าหมายและแผนงาน กำหนดให้มีการทบทวนของฝ่ายบริหาร กำหนดให้แต่งตั้ง OHSMR กำหนดให้มีการจัดทำหน้าที่ความรับผิดชอบ ด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยของทุกคนในองค์กร และให้ดำเนินการประเมินความเสี่ยง ระยะที่ 3. การปรับปรุง สิ่งที่ต้องดำเนินการ คือ ปรับปรุงแผนงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยให้สอดคล้องกับผลการประเมินความเสี่ยงของบริษัท
Description
Industrial Hygiene and Safety (Mahidol University 2015)
Degree Name
Master of Science
Degree Level
Master's degree
Degree Department
Faculty of Public Health
Degree Discipline
Industrial Hygiene and Safety
Degree Grantor(s)
Mahidol University