ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจในการใช้ชีวิตคู่ของผู้พิการทางการมองเห็นในเขตกรุงเทพมหานคร
Issued Date
2549
Copyright Date
2549
Resource Type
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
ก-ฐ, 99 แผ่น
ISBN
9740469949
Access Rights
open access
Rights
ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
Rights Holder(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (งานบริการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2549
Suggested Citation
สุปราณี วาสนาม ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจในการใช้ชีวิตคู่ของผู้พิการทางการมองเห็นในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (งานบริการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2549. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/94403
Title
ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจในการใช้ชีวิตคู่ของผู้พิการทางการมองเห็นในเขตกรุงเทพมหานคร
Alternative Title(s)
Factors related to married life satisfaction of visually impaired persons in Bangkok
Author(s)
Advisor(s)
Abstract
This is explorative research that uses a questionaire to study factors related to married life satisfaction of visually impaired persons living in The Bangkok area. The subjects were members of The Thailand Association of the Blind registered in Bangkok consisting of 129 blind and low vision persons who were married and were still living with their spouses 66.7 percent of the subjects were male and 33.3 percent female with 68.2 percent totally blind and 31.8 percent as low vision persons. Spouses of the subjects were divided into 47.3 percent totally blind, 30.2 percent sighted and 22.5 percent with low vision. The research used a structured questionnaire on married life satisfaction designed by Spanier, G.B. (1976) as the basis of the survey with reliability of 0.87. Further modifications were made for visually impaired subjects. In addition to measuring overall level of satisfaction, five factors (religion, level of education, length of marriage, number of children and economic status of the family) were measured for impact on levels of satisfaction of the marriage.Data was analysed by descriptive statistics (percentage, mean, standard deviation), Pearson product moment correlation coefficient, Chi-Square test, and stepwise multiple regression analysis. Most of the subjects had a moderate level of married life satisfaction. Pre-marital factors (religion and level of education) and post-marital factors (number of children, length of marriage, and economic status of the family) were not related and could not be used to predict married life satisfaction of visually impaired persons. 30.2 percent of the subjects thought they needed to improve themselves by being less moody, 15.5 percent by being more responsible, and 13.2 percent by having more mutual understanding. They also thought that their spouses should improve on my being less moody 22.5 percent, to have more mutual understanding 18.6 percent and to be more responsible 15.5 percent. The seasons for marriage were understanding each other (17.2 percent) wanting someone to help (17.2 percent) love (8.5 percent) and a combination of all three reasons (56.5 percent.) The study shows that married visually impaired persons living in Bangkok area may have some problems coping with their marriages. If they have proper guidance in preparation for marriage, the situation may improve. It is recommended that organizations providing counselling or rehabilitation services for visually impaired persons should hold seminars, provide training, and offer counselling services to blind and low vision persons in the area of marriage. This will help improve the overall quality of life for this group of disabled individuals
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจในการใช้ชีวิตคู่ ของผู้พิการทางการมองเห็นในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างเป็นสมาชิกของสมาคมคนตาบอดแห่ง ประเทศไทยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครประกอบด้วยคนตาบอดและคนสายตาเลือนรางทั้งชายและหญิงที่ แต่งงานแล้วและยังอยู่กับคู่สมรสจำนวน 129 คน เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ซึ่งเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ครั้งนี้ได้นำแบบสอบถามความพึงพอใจในชีวิตสมรสของ Spanier, G.B. (1976) มาปรับใช้เพื่อให้เหมาะสม กับกลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้ ได้ค่าความเที่ยง 0.87 ปัจจัยที่ศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ศาสนา ระดับการศึกษา ระยะเวลาของการใช้ชีวิตคู่ จำนวนบุตรและสถานภาพทางการเงิน ซึ่งวิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติพรรณนา สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน สถิติไคสแควร์ และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า เพศชายร้อยละ 66.7 และเพศหญิงร้อยละ 33.3 คนตาบอดสนิทร้อยละ 68.2 และคนสายตาเลือนรางร้อยละ 31.8 คู่ชีวิตของกลุ่มผู้พิการทางการมองเห็นเป็นคนตาบอดสนิทร้อยละ 47.3 คนสายตาปกติร้อยละ 30.2 และคนสายตาเลือนรางร้อยละ 22.5 โดยภาพรวมกลุ่มผู้พิการทางการมองเห็นใน เขตกรุงเทพมหานครมีความพึงพอใจในการใช้ชีวิตคู่อยู่ในระดับปานกลาง ซึ่งพบว่า ปัจจัยทั้ง 5 ปัจจัย ไม่มี ความสัมพันธ์และไม่สามารถร่วมกันทำนายความพึงพอใจในการใช้ชีวิตคู่ของผู้พิการทางการมองเห็นใน เขตกรุงเทพมหานคร ผู้พิการทางการมองเห็นร้อยละ 30.2 คิดว่าตัวเองควรปรับปรุงการใช้อารมณ์มาก เกินไป คู่ชีวิตของตัวเองควรปรับปรุงการใช้อารมณ์มากเกินไปร้อยละ 18.6 เหตุผลของการตัดสินใจใช้ ชีวิตคู่มี 3 เหตุผล โดยมี 2 เหตุผลคือ ความเข้าใจและต้องการคนช่วยเหลือมีร้อยละที่เท่ากันคือร้อยละ 17.2 มีความรักเพียงอย่างเดียวร้อยละ 8.5 มีเหตุผลทั้ง ความรัก ความเข้าใจและต้องการคนช่วยเหลือร้อยละ 56.5 ปัญหาที่พบ ผู้พิการทางการมองเห็นในเขตกรุงเทพมหานครยังขาดความรู้ความเข้าใจ ในการ เตรียมตัวก่อนการใช้ชีวิตคู่ ส่งผลให้เกิดปัญหาจากการใช้ชีวิตคู่ การแก้ไขปัญหาควรจัดสัมมนาในการใช้ ชีวิตคู่ของผู้พิการทางการมองเห็นแก่นักให้คำปรึกษาสำหรับผู้พิการควรเน้นการให้คำปรึกษาแก่ผู้พิการ ทางการมองเห็นเป็นกลุ่มในการเตรียมตัวก่อนการใช้ชีวิตคู่ และจัดสัมมนาเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นใน เรื่องการใช้ชีวิตคู่ของผู้พิการทางการมองเห็น
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจในการใช้ชีวิตคู่ ของผู้พิการทางการมองเห็นในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างเป็นสมาชิกของสมาคมคนตาบอดแห่ง ประเทศไทยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครประกอบด้วยคนตาบอดและคนสายตาเลือนรางทั้งชายและหญิงที่ แต่งงานแล้วและยังอยู่กับคู่สมรสจำนวน 129 คน เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ซึ่งเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ครั้งนี้ได้นำแบบสอบถามความพึงพอใจในชีวิตสมรสของ Spanier, G.B. (1976) มาปรับใช้เพื่อให้เหมาะสม กับกลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้ ได้ค่าความเที่ยง 0.87 ปัจจัยที่ศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ศาสนา ระดับการศึกษา ระยะเวลาของการใช้ชีวิตคู่ จำนวนบุตรและสถานภาพทางการเงิน ซึ่งวิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติพรรณนา สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน สถิติไคสแควร์ และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า เพศชายร้อยละ 66.7 และเพศหญิงร้อยละ 33.3 คนตาบอดสนิทร้อยละ 68.2 และคนสายตาเลือนรางร้อยละ 31.8 คู่ชีวิตของกลุ่มผู้พิการทางการมองเห็นเป็นคนตาบอดสนิทร้อยละ 47.3 คนสายตาปกติร้อยละ 30.2 และคนสายตาเลือนรางร้อยละ 22.5 โดยภาพรวมกลุ่มผู้พิการทางการมองเห็นใน เขตกรุงเทพมหานครมีความพึงพอใจในการใช้ชีวิตคู่อยู่ในระดับปานกลาง ซึ่งพบว่า ปัจจัยทั้ง 5 ปัจจัย ไม่มี ความสัมพันธ์และไม่สามารถร่วมกันทำนายความพึงพอใจในการใช้ชีวิตคู่ของผู้พิการทางการมองเห็นใน เขตกรุงเทพมหานคร ผู้พิการทางการมองเห็นร้อยละ 30.2 คิดว่าตัวเองควรปรับปรุงการใช้อารมณ์มาก เกินไป คู่ชีวิตของตัวเองควรปรับปรุงการใช้อารมณ์มากเกินไปร้อยละ 18.6 เหตุผลของการตัดสินใจใช้ ชีวิตคู่มี 3 เหตุผล โดยมี 2 เหตุผลคือ ความเข้าใจและต้องการคนช่วยเหลือมีร้อยละที่เท่ากันคือร้อยละ 17.2 มีความรักเพียงอย่างเดียวร้อยละ 8.5 มีเหตุผลทั้ง ความรัก ความเข้าใจและต้องการคนช่วยเหลือร้อยละ 56.5 ปัญหาที่พบ ผู้พิการทางการมองเห็นในเขตกรุงเทพมหานครยังขาดความรู้ความเข้าใจ ในการ เตรียมตัวก่อนการใช้ชีวิตคู่ ส่งผลให้เกิดปัญหาจากการใช้ชีวิตคู่ การแก้ไขปัญหาควรจัดสัมมนาในการใช้ ชีวิตคู่ของผู้พิการทางการมองเห็นแก่นักให้คำปรึกษาสำหรับผู้พิการควรเน้นการให้คำปรึกษาแก่ผู้พิการ ทางการมองเห็นเป็นกลุ่มในการเตรียมตัวก่อนการใช้ชีวิตคู่ และจัดสัมมนาเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นใน เรื่องการใช้ชีวิตคู่ของผู้พิการทางการมองเห็น
Description
งานบริการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ (มหาวิทยาลัยมหิดล 2549)
Degree Name
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Department
วิทยาลัยราชสุดา
Degree Discipline
งานบริการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ
Degree Grantor(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล