Viscoelastic behaviour in hydrogenated nitrile rubber for industrial roll applications
Issued Date
2023
Copyright Date
2012
Language
eng
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
xxxiii, 360 leaves : ill.
Access Rights
restricted access
Rights Holder(s)
Mahidol University
Bibliographic Citation
Thesis (Ph.D. (Polymer Science and Technology))--Mahidol University, 2012
Suggested Citation
Panjaporn Wongwitthayakool Viscoelastic behaviour in hydrogenated nitrile rubber for industrial roll applications. Thesis (Ph.D. (Polymer Science and Technology))--Mahidol University, 2012. Retrieved from: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/89497
Title
Viscoelastic behaviour in hydrogenated nitrile rubber for industrial roll applications
Alternative Title(s)
พฤติกรรมหยุ่นหนืดในยางไฮโดรเจนเนตเทตไนโตรล์เพื่อการประยุกต์ใช้ในงานลูกกลิ้งอุตสาหกรรม
Author(s)
Abstract
ยางไฮโดรเจนเนตเทตไนไตรล์ (HNBR) ได้นามาผสมกับตัวเติมเสริมแรง ได้แก่ เขม่าดา (carbon black; CB) ซิลิกา (silica) และออรกาโนเคลย(organoclay) และนาไปตรวจสอบพฤติกรรมการวัลคาไนซ์ (cure properties) สมบัติหยุ่นหนืด (viscoelastic properties) และสมบัติเชิงกล (mechanical properties) พบว่าปฎิกิริยาการวัลคาไนซ์ เกิดได้ดีขึ้นเมื่อเพิ่มปริมาณตัวเติมมากขึ้น และจากการศึกษาพฤติกรรมหยุ่นหนืดที่ไม่ใช่เชิงเส้น (non-linear viscoelastic) ของยางคอมพาวด์โดยใช้เทคนิคฟูเรียร์ทรานสฟอร์ม (Fourier transform) พบว่าปริมาณของตัวเติมเป็นตัวแปรหลักที่มีอิทธิพลต่อการตอบสนองของการหยุ่นหนืดที่ไม่ใช่เชิงเส้น ในงานวิจัยนี้สนใจยางที่มีความแข็ง 80 Shore A เนื่องจากเป็นความแข็งที่เป็นความแข็งทั่วไปที่ใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตลูกกลิ้งโดยเฉพาะลูกกลิ้งในโรงงานเหล็กและโรงงานกระดาษ ตัวเติมเสริมแรง ได้แก่ เขม่าดา ซิลิกา และดินขาวนามาใช้ในการเตรียมยางวัลคาไนซ์ที่มีระดับความแข็งนี้ได้ พบว่าเขม่าดาเป็นตัวเติมเสริมแรงที่มีประสิทธิภาพที่ดีที่สุด เนื่องจากแสดงสมบัติเชิงกลที่ดี ซึ่งสามารถอธิบายได้ด้วยอันตรกิริยาที่ดีกว่าระหว่างเขม่าดาและยางไฮโดรเจนเนตเทตไนไตรล์ (CB-HNBR interaction) ดังเห็นได้จากช่วงกว้างของการหยุ่นหนืดเชิงเส้น (linear viscoelastic region) ของยางวัลคาไนซ์ เมื่อเปรียบเทียบการเสริมแรงของยางวัลคาไนซ์ที่ผสมกับเขม่าดาลูกผสมในระบบที่แตกต่างสามระบบ ได้แก่ ระบบ N326/N990, N326/N774 และ N550/N990 พบว่าการเพิ่มปริมาณเขม่าดาที่มีพื้นที่ผิวและ/หรือโครงสร้างสูงมากขึ้นในระบบลูกผสมส่งผต่อการเพิ่มปริมาณโครงสร้างตาข่ายชั่วคราวของเขม่าดา (CB transient network) และทาให้แรงอันตรกิริยาระหว่างเขม่าดาและยางมีมากขึ้น โครงสร้างที่ค่อนข้างสูงของ N550 จะทาให้มีปริมาณยางบาวด์ (bound rubber) และความหนาแน่นเชื่อมขวางมาก ยางวัลคาไนซ์ที่ผสมกับเขม่าดาลูกผสมระบบ N550/N990 จึงมีสมบัติเชิงกลและสมบัติหยุ่นหนืดใกล้เคียงกับยางวัลคาไนซ์ที่ผสมกับเขม่าดาลูกผสมระบบ N326/N990 การทดสอบการสะสมความร้อน (heat build-up; HBU) ของยางไฮโดรเจนเนตเทตไนไตรล์ที่เติมเขม่าดาต่างชนิดกัน (ได้แก่ N326, N550, N774 และ N990) ในปริมาณต่างๆ (ได้แก่ 0 ถึง 60 phr) ทดสอบด้วยเครื่อง Gabometer 4000 flexometer ภายใต้น้าหนักกดสูงสุด 4000 นิวตัน พบว่าเมื่อนาการสะสมความร้อนที่วัดได้มาสร้างความสัมพันธ์กับค่าโมดูลัสสูญเสียที่วัดจาก RPA 2000 ได้ความสัมพันธ์เชิงลอการิทึมตามสมการ HBUG = 18.019ln (G) - 54.138 โดยมีค่าของความผิดพลาด (R2) เท่ากับ 0.9214 อย่างไรก็ตาม การสะสมความร้อนของยางไฮโดรเจนเนตเทตไนไตรล์ที่เติมเขม่าดาต่างชนิดกัน (ได้แก่ N326, N550, N774 และ N990) ในปริมาณต่างๆที่วัดจาก RPA 2000 กับ Gabometer 4000 มีความสัมพันธ์ในแง่ที่ไม่ดี หรืออาจกล่าวได้ว่าการวัดการสะสมความร้อนด้วยเครื่อง RPA 2000 ไม่สามารถใช้แทนวิธีมาตรฐานได้ในยางระบบที่ทาการศึกษา
Degree Name
Doctor of Philosophy
Degree Level
Doctoral Degree
Degree Department
Faculty of Science
Degree Discipline
Polymer Science and Technology
Degree Grantor(s)
Mahidol University