A majority density approach with the cooperation of multiple experts for developing testing and diagnostic learning systems based on a concept-effect relationship model
Issued Date
2023
Copyright Date
2012
Language
eng
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
x, 123 leaves : ill.
Access Rights
restricted access
Rights Holder(s)
Mahidol University
Bibliographic Citation
Thesis (Ph.D. (Science and Technology Education))--Mahidol University, 2012
Suggested Citation
Dechawut Wanichsan A majority density approach with the cooperation of multiple experts for developing testing and diagnostic learning systems based on a concept-effect relationship model. Thesis (Ph.D. (Science and Technology Education))--Mahidol University, 2012. Retrieved from: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/89486
Title
A majority density approach with the cooperation of multiple experts for developing testing and diagnostic learning systems based on a concept-effect relationship model
Alternative Title(s)
การใช้รูปแบบความหนาแน่นและเสียงส่วนมากจากความร่วมมือของผู้เชี่ยวชาญหลายคนเพื่อพัฒนาระบบแบบทดสอบและวินิจฉัยผลการเรียนโดยใช้แบบจำลองความสัมพันธ์ระหว่างมโนมติกับผลลัพธ์
Author(s)
Abstract
ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ระบบแบบทดสอบและวินิจฉัยปัญหาการเรียนได้รับการพิจารณา ว่าเป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์สำหรับการวิเคราะห์ปัญหาการเรียนเชิงมโนมติของนักเรียน ตลอดจนยัง สามารถให้คำแนะนำที่มีประโยชน์ต่อการพัฒนาความรู้ของนักเรียนอีกด้วย ในบรรดาระบบแบบทดสอบ และวินิจฉัยปัญหาการเรียนจำนวนมากที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมานั้น วิธีการใช้กฎเพื่อรวมค่าความเห็น เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างข้อสอบแต่ละข้อและมโนมติของผู้เชี่ยวชาญหลายคนบนแบบจำลอง ความสัมพันธ์ระหว่างมโนมติกับผลลัพธ์ได้รับการเสนอขึ้น อย่างไรก็ตาม วิธีการนี้ยังมีข้อบกพร่องซึ่งอาจ ส่งผลกระทบต่อคุณภาพของคำแนะนำที่ให้กับนักเรียนเป็นรายบุคคลได้ นอกจากนี้เมื่อความเห็นของ ผู้เชี่ยวชาญทั้งหลายไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ทำให้ผู้เชี่ยวชาญต้องเสียเวลาในการพิจารณาค่าน้ำหนัก เหล่านั้นอีกครั้ง ดังนั้นในงานวิจัยนี้ วิธีการที่สามารถเอาชนะจุดอ่อนงานก่อนหน้าจึงได้รับการเสนอขึ้น อนึ่งระบบแบบทดสอบและวินิจฉัยปัญหาการเรียนเชิงมโนมติยังได้รับการพัฒนาขึ้นจริงโดยใช้กับวิชาการ เขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี เพื่อแสดงให้เห็นประสิทธิผลของวิธีการที่ นำเสนอ สำหรับการประเมินความรู้เชิงมโนมติในการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ของนักศึกษานั้น แบบ วัดความรู้ได้ถูกนำไปใช้หลังจากที่นักเรียนได้รับคำแนะนำและได้รับใบความรู้จากระบบแบบทดสอบที่ สร้างขึ้น จากการวิเคราะห์ผลการเรียนของนักเรียนพบว่าผลการเรียนของนักเรียนที่ได้รับคำแนะนำจาก ระบบจากงานวิจัยนี้มีคะแนนสูงกว่านักเรียนที่รับคำแนะนำจากระบบของงานวิจัยก่อนหน้าอย่างมี นัยสำคัญ จะเห็นได้ว่าวิธีการใหม่ที่ได้รับการพัฒนาขึ้นจากงานวิจัยนี้มีประสิทธิภาพกว่าวิธีเดิม
Degree Name
Doctor of Philosophy
Degree Level
Doctoral Degree
Degree Department
Institute for Innovative Learning
Degree Discipline
Science and Technology Education
Degree Grantor(s)
Mahidol University