ปัจจัยทำนายการเกิดภาวะสับสนเฉียบพลันในผู้ป่วยสูงอายุที่ได้รับการผ่าตัดหัวใจแบบเปิดในช่วง 72 ชั่วโมงแรกหลังการผ่าตัด
dc.contributor.advisor | ศิริอร สินธุ | |
dc.contributor.advisor | สุพร ดนัยดุษฎีกุล | |
dc.contributor.advisor | เกรียงไกร ตันติวงศ์โกสีย์ | |
dc.contributor.author | นิศารัตน์ เอี่ยมรอด | |
dc.date.accessioned | 2024-01-22T02:36:02Z | |
dc.date.available | 2024-01-22T02:36:02Z | |
dc.date.copyright | 2558 | |
dc.date.created | 2567 | |
dc.date.issued | 2558 | |
dc.description | การพยาบาลผู้ใหญ่ (มหาวิทยาลัยมหิดล 2558) | |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงบรรยายเพื่อศึกษาอิทธิพลของระดับอัลบูมินในกระแสเลือด, ปฏิกิริยาตอบสนองต่อการอักเสบทั่ว ร่างกาย, ระยะเวลาการผ่าตัด, ระดับความปวด และภาวะซึมเศร้า ต่อการเกิดภาวะสับสนเฉียบพลันผู้ป่วยสูงอายุที่ ได้รับการผ่าตัดหัวใจแบบเปิดในระยะ 72 ชั่วโมงแรกหลังการผ่าตัดหัวใจแบบเปิด โดยใช้ทฤษฏีระบบของนิวแมนเป็นกรอบแนวคิดในการศึกษา กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยสูงอายุ (อายุ >= 60 ปี) ที่ได้รับการผ่าตัดหัวใจแบบเปิดที่โรงพยาบาลศิริราช จำนวน 150 รายเก็บข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ป่วย แบบประเมินสมรรถภาพสมองของไทย แบบวัดความเศร้าในผู้สูงอายุของไทย แบบประเมินกลุ่มอาการตอบสนองต่อการอักเสบทั่วร่างกาย แบบประเมินความปวด และแบบประเมินภาวะสับสนเฉียบพลัน วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปโดยใช้สถิติเชิงบรรยายและวิเคราะห์ความสามารถในการทำนายระหว่างตัวแปรที่ศึกษาโดยใช้สถิติถดถอยโลจิสติก กำหนดระดับนัยสำคัญที่ .05 ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย (ร้อยละ 55.3) อายุเฉลี่ย 71.42 ปี (SD ± 6.96) กลุ่มตัวอย่าง เกิดภาวะสับสนเฉียบพลันหลังผ่าตัดร้อยละ 35.3 และพบว่าปัจจัยที่สามารถทำนายการเกิดภาวะสับสนเฉียบพลันในผู้ป่วยสูงอายุที่ได้รับการผ่าตัดหัวใจแบบเปิดในระยะ 72 ชั่วโมงได้แก่ กลุ่มอาการตอบสนองต่อการอักเสบทั่วร่างกาย (β 1.508, OR 4.518, 95% CI: 1.624 -12.573, p = 0.004), ระยะเวลาการผ่าตัด (β .007, OR 1.007, 95% CI: 1.002 - 1.012, p = 0.004), ระดับความปวด (β .623, OR 1.865, 95% CI: 1.310-2.656, p = 0.001), และภาวะซึมเศร้า (β 2.750, OR 15.637, 95% CI: 5.015 - 48.757, p =0.000) สามารถร่วมกันทำนายการเกิดภาวะสับสนเฉียบพลันในผู้ป่วยสูงอายุที่ได้รับการผ่าตัดหัวใจแบบเปิดในระยะ 72 ชั่วโมง โดยอธิบายความผันแปรในสมการโลจิสติคได้ร้อยละ 54.2 (Nagelkerke R(2) = .542, p < 0.05) จากผลการศึกษาผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะว่าบุคลากรทางการแพทย์ควรมีการเฝ้าระวัง คัดแยกผู้ป่วยสูงอายุกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดภาวะสับสนเฉียบพลัน ได้แก่ ผู้ป่วยที่มี ปฏิกิริยาตอบสนองต่อการอักเสบทั่วร่างกาย, มีระยะเวลาการผ่าตัดนาน , มีระดับความปวดสูง และมีภาวะซึมเศร้า ให้ได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดโดยเฉพาะในช่วงหลังผ่าตัดหัวใจ และควรมีการสร้างแนวปฏิบัติในการประเมินภาวะสับสนเฉียบพลันหลังผ่าตัด โดยประเมินภาวะสับสนเฉียบพลันทุกเวร เพื่อลดระยะเวลาการพักรักษาตัวในโรงพยาบาลและลดค่าใช้จ่ายในการรักษา | |
dc.description.abstract | This research was a descriptive study aimed to study the predictive power of the level of albumin in the bloodstream, the Systemic Inflammatory Response Syndrome (SIRS), duration of surgery, pain and the level of depression that effect delirium in elderly patients who have undergone open-heart surgery within the first 72 hours. Neuman systems model was used as a conceptual framework for this study. The sample comprised of 150 elderly patients (aged >= 60 years) who had received open heart surgery at Siriraj Hospital. Data was collected from the patients ' general records, the Thai Mental State xammination (TMSE), the Thai Geriatric Depression Scale (TGDS), the Systemic Inflammatory Response Syndrome (SIRS) scale, the Pain score and the Confusion Assessment Method-Intensive Care Unit (CAM-ICU). Descriptive statistics were employed to analyze general information and the logistic regression predict the level of significance at . 05. The majority of the participant were male (55.3 %), average age of 71.42 (SD ± 6.96) years. The results showed that 35.3% of the patients had acute onset of delirium occurring right after the operations. The factors that predicted the occurrence of delirium in the elderly postoperative heart surgery patients were the systemic inflammatory response syndrome; SIRS (β 1.508, OR 4.518, 95% CI: 1.624 -12.573, p = 0.004), duration of surgery (β .007, OR 1.007, 95% CI: 1.002 - 1.012, p. = 0.004), the pain scores (β .623, OR 1.865, 95% CI: 1.310 - 2.656, p = 0.001), and depression. (β 2.750, OR 15.637, 95% CI: 5.015 - 48.757, p = 0.000. ) The above influence could predict and explain the variation in the equation logistic 54.2%. (Nagelkerke R2 = .542, p <. 0.05). The recommendations from this study were that medical staff should monitor the elderly patients who can be at high risk of delirium by evaluating their systemic inflammatory response syndrome, a long duration of surgery, higher level of pain and depression. These patients should be observed closely, especially postoperative heart surgery patients. The medical staff should create guidelines for assessment of delirium or acute delirium in every shift. This practice would help to reduce the duration of treatment and the cost of the patients' care in the hospitals. | |
dc.format.extent | ก-ญ, 163 แผ่น : ภาพประกอบ | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.identifier.citation | วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การพยาบาลผู้ใหญ่))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2558 | |
dc.identifier.uri | https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/93394 | |
dc.language.iso | tha | |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยมหิดล. หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล | |
dc.rights | ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า | |
dc.rights.holder | มหาวิทยาลัยมหิดล | |
dc.subject | ผู้สูงอายุ | |
dc.subject | หัวใจ, ศัลยกรรม | |
dc.title | ปัจจัยทำนายการเกิดภาวะสับสนเฉียบพลันในผู้ป่วยสูงอายุที่ได้รับการผ่าตัดหัวใจแบบเปิดในช่วง 72 ชั่วโมงแรกหลังการผ่าตัด | |
dc.title.alternative | Predictors of delirium in the elderly patients undergone open heart surgery in the first 72 hours after surgery | |
dc.type | Master Thesis | |
dcterms.accessRights | open access | |
mods.location.url | http://mulinet11.li.mahidol.ac.th/e-thesis/2559/cd513/5636865.pdf | |
thesis.degree.department | คณะพยาบาลศาสตร์ | |
thesis.degree.discipline | การพยาบาลผู้ใหญ่ | |
thesis.degree.grantor | มหาวิทยาลัยมหิดล | |
thesis.degree.level | ปริญญาโท | |
thesis.degree.name | พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต |