การจัดการการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุในจังหวัดราชบุรี
Issued Date
2559
Copyright Date
2559
Resource Type
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
ก-ฌ, 140 แผ่น
Access Rights
open access
Rights
ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
Rights Holder(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (การจัดการทางการกีฬา))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2559
Suggested Citation
สุกัญญา สายประเสริฐ การจัดการการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุในจังหวัดราชบุรี. วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (การจัดการทางการกีฬา))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2559. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/92804
Title
การจัดการการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุในจังหวัดราชบุรี
Alternative Title(s)
The management of health promotion for elderly in Ratchaburi province
Author(s)
Abstract
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุในจังหวัดราชบุรี (2) เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุในจังหวัดราชบุรี จำแนกตาม เพศ ระดับการศึกษา และสถานภาพ (3) เพื่อศึกษาสภาพการจัดการการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุในจังหวัดราชบุรี ดำเนินการวิจัยแบบผสานวิธี โดยเก็บแบบสอบถามกับผู้สูงอายุจังหวัดราชบุรี จำนวน 400 คน ตามแนวคิดของเพนเดอร์ เรื่องพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพ ประกอบด้วย 1) ด้านความรับผิดชอบต่อสุขภาพ 2) ด้านโภชนาการ 3) ด้านสัมพันธภาพระหว่างบุคคล 4) ด้านการพัฒนาทางจิตวิญญาณ 5) ด้านการจัดการกับความเครียด 6) ด้านการปฏิบัติกิจกรรมทางกาย ทั้งนี้ได้ทำการสัมภาษณ์ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุในจังหวัดราชบุรี จำนวน 6 คน โดยใช้ทฤษฎีการจัดการ (4M's) ประกอบด้วย 1) ด้านบุคลากร 2) ด้านงบประมาณ 3) ด้านวัสดุ อุปกรณ์ และสถานที่ 4) ด้านการจัดการ แปรผลด้วยสถิติ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสถิติ t-test วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (ANOVA) และทดสอบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธีของเชฟเฟ่ อย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 โดยสามารถสรุปผลการศึกษาได้ดังนี้ (1) พฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุในจังหวัดราชบุรีในภาพรวม พบว่า มีคะแนนเฉลี่ยของพฤติกรรมสุขภาพอยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.25 โดยพฤติกรรมสุขภาพด้านการพัฒนาจิตวิญญาณ และด้านสัมพันธภาพระหว่างบุคคล มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด เท่ากับ 3.84 และพฤติกรรมสุขภาพด้านการจัดการกับความเครียดมีค่าเฉลี่ยที่น้อยที่สุด เท่ากับ 2.59 (2) การเปรียบเทียบพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุในจังหวัดราชบุรี พฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุโดยรวม พบว่าเพศ และสถานภาพ มีพฤติกรรมสุขภาพไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 แต่ระดับการศึกษา พบว่า พฤติกรรมสุขภาพแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (3) การจัดการการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุในจังหวัดราชบุรีจัดสรรบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ตรงด้านการดูแลผู้สูงอายุ มีกิจกรรมนันทนาการ มีการให้การสนับสนุนงบประมาณในด้านการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ และการจัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ สำหรับทำกิจกรรมต่างๆ ให้มีความเพียงพอกับกลุ่มผู้สูงอายุในชุมชน มีการประยุกต์ใช้อุปกรณ์ที่มีอยู่ในท้องถิ่นเพื่อประหยัดงบประมาณในการจัดซื้อ และยังมีการจัดการวางแผนการดำเนินการจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ ทั้งที่เป็นแผนระยะสั้นและระยะยาว อีกทั้งยังมีการประเมินการทำงานหรือการเข้าร่วมกิจกรรมทุกครั้ง เพื่อไว้ใช้ในการ พัฒนาปรับปรุงแก้ไขต่อไป ข้อเสนอแนะในการวิจัย ควรมีการจัดสรรบุคลากรที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุในด้านต่าง ๆ เช่น ด้านโภชนาการ ด้านความรับผิดชอบต่อตนเอง เป็นต้น นอกจากนี้ควรมีการส่งเสริมการตลาด โดยมุ่งเน้นการประชาสัมพันธ์เพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพได้เป็นอย่างดี
The objectives of this research were (1) to study the health of the elderly in Ratchaburi province, (2) to compare the health of the elderly in Ratchaburi province classified by sex, educational level and marital status (3) to study the health promotion of the elderly in Ratchaburi. The research use combined methods and was collected from 400 elderly in Ratchaburi based on the concept of Pender about 1) the responsibility of health 2) nutrition 3) interpersonal relations 4) Spiritual Growth 5) Stress Management and 6) Physical Activity. Promoters of elderly health promotion in Ratchaburi, according to the management theory of 4M's, included 1) man 2) money 3) material and 4) management. Interpretations by arithmetic mean, standard deviation, statistical t-test analysis, ANOVA and test different pairs with Scheffe at a significance level of 0.05. The study concluded that: (1) The health of the Elderly in Ratchaburi province as a whole showed an average score of health behaviors as moderate. With an average of 3.25 by health behaviors Spiritual Growth. And interpersonal relations at an average of 3.84 and most health behaviors Stress Management at an average of at least 2.59. (2) A comparison of health in the elderly in Ratchaburi that gender and marital status had differences in their behaviors with significance at 0.05. However the study showed that educational level had a statistical significance at 0.05. (3) The Management of health promotion for elderly in Ratchaburi allocated personnel with knowledge, skills and experience in the field of elderly care. Recreation activities were supported financially in the community as well as, all materials and equipment. Moreover there were some applications of local materials to create equipment to save money. Both short and long term planning were implemented. There were also an assessment of work and regulars meeting The suggestions form this research; there should be more skilled experts to participate in health behavioral activities such as nutrition and the expert in self- responsibility. Further-more there should be a marketing promotion to promote information about health behavior to all elderly people.
The objectives of this research were (1) to study the health of the elderly in Ratchaburi province, (2) to compare the health of the elderly in Ratchaburi province classified by sex, educational level and marital status (3) to study the health promotion of the elderly in Ratchaburi. The research use combined methods and was collected from 400 elderly in Ratchaburi based on the concept of Pender about 1) the responsibility of health 2) nutrition 3) interpersonal relations 4) Spiritual Growth 5) Stress Management and 6) Physical Activity. Promoters of elderly health promotion in Ratchaburi, according to the management theory of 4M's, included 1) man 2) money 3) material and 4) management. Interpretations by arithmetic mean, standard deviation, statistical t-test analysis, ANOVA and test different pairs with Scheffe at a significance level of 0.05. The study concluded that: (1) The health of the Elderly in Ratchaburi province as a whole showed an average score of health behaviors as moderate. With an average of 3.25 by health behaviors Spiritual Growth. And interpersonal relations at an average of 3.84 and most health behaviors Stress Management at an average of at least 2.59. (2) A comparison of health in the elderly in Ratchaburi that gender and marital status had differences in their behaviors with significance at 0.05. However the study showed that educational level had a statistical significance at 0.05. (3) The Management of health promotion for elderly in Ratchaburi allocated personnel with knowledge, skills and experience in the field of elderly care. Recreation activities were supported financially in the community as well as, all materials and equipment. Moreover there were some applications of local materials to create equipment to save money. Both short and long term planning were implemented. There were also an assessment of work and regulars meeting The suggestions form this research; there should be more skilled experts to participate in health behavioral activities such as nutrition and the expert in self- responsibility. Further-more there should be a marketing promotion to promote information about health behavior to all elderly people.
Description
การจัดการทางการกีฬา (มหาวิทยาลัยมหิดล 2559)
Degree Name
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Department
คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
Degree Discipline
การจัดการทางการกีฬา
Degree Grantor(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล