การให้คำปรึกษาเชิงพุทธของพระสงฆ์ในการแก้ปัญหาครอบครัว : ศึกษาเฉพาะกรณี อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น
Issued Date
2556
Copyright Date
2556
Resource Type
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
ก-ฎ, 192 แผ่น
Access Rights
open access
Rights
ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
Rights Holder(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (ศาสนาเปรียบเทียบ))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2556
Suggested Citation
กิติศักดิ์ ไชยหัด การให้คำปรึกษาเชิงพุทธของพระสงฆ์ในการแก้ปัญหาครอบครัว : ศึกษาเฉพาะกรณี อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (ศาสนาเปรียบเทียบ))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2556. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/93573
Title
การให้คำปรึกษาเชิงพุทธของพระสงฆ์ในการแก้ปัญหาครอบครัว : ศึกษาเฉพาะกรณี อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น
Alternative Title(s)
Monks' Buddhist counselling for solving family problems : a case study of Phuwiang district, Khonkaen province
Author(s)
Advisor(s)
Abstract
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ข้อ คือ 1) เพื่อศึกษาหลักการแนวคิดวิธีการให้คำปรึกษาเชิงพุทธ ในการแก้ปัญหาครอบครัว 2) เพื่อศึกษาหลักการแนวคิดวิธีการให้คำปรึกษาเชิงพุทธของพระสงฆ์ในการแก้ปัญหา ครอบครัว ออกแบบเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพอาศัยการศึกษาเอกสาร ได้แก่ ข้อมูลจากพระไตรปิฎก วิทยานิพนธ์ หนังสือ และเอกสารอื่น ๆ พร้อมกับศึกษาจากการสัมภาษณ์กลุ่มประชากรตัวอย่างพระสงฆ์ที่เป็นพระสังฆาธิการ ในเขตอำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น จำนวน 10 รูป ผลการศึกษาพบว่า หลักการแนวคิดวิธีการให้คำปรึกษาเชิงพุทธในการแก้ปัญหาครอบครัว เป็นกระบวนการแก้ไขปัญหาโดยยึดหลักทิศ 6, หลักสาราณียธรรม, หลักฆราวาสธรรม, หลักสังคหวัตถุ, หลัก พรหมวิหาร และหลักเบญจศีล-เบญจธรรมในการให้คำปรึกษา ด้วยท่าทีที่เป็นกัลยาณมิตรผ่านวิธีการให้คำปรึกษา เป็นขั้นตอนตามหลักของอริยสัจ 4 สำหรับหลักการแนวคิดวิธีการให้คำปรึกษาเชิงพุทธของพระสงฆ์ ในการ แก้ปัญหาครอบครัว เป็นบทบาทและหน้าที่สำคัญของพระสงฆ์ในการให้คำปรึกษา โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานของหลัก ไตรสิกขา และความเมตตากรุณาในการนำหลักสัมมาทิฐิ, หลักสติปัฏฐาน, หลักพรหมวิหาร, หลักฆราวาสธรรม, หลักทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์, หลักเบญจศีล-เบญจธรรม, หลักอปัณณกปฏิปทา และหลักทิศ 6 มาประยุกต์ใช้ใน การให้คำปรึกษาด้วยวิธีการฟังแบบกัลยาณมิตร, การมีท่าทีของกัลยาณมิตร, การทำความเข้าใจตามเป็นจริง, การ เป็นผู้นำปฏิบัติ, การเป็นแบบอย่างที่ดี, การเป็นคนกลางในการไกล่เกลี่ย, การสอน, การสนทนา, การเทศนา และ การสวดมนต์ มีข้อเสนอแนะจากการวิจัยว่า ในด้านการนำไปใช้ บุคคลทั่วไปควรนำหลักการหรือหลักธรรมใน พระพุทธศาสนาไปใช้ในการดำเนินชีวิต และสามารถนำหลักการแนวคิดวิธีการที่ได้ไปให้คำปรึกษาเพื่อน ครอบครัว หรือคนรู้จักทั่วไปได้ โดยไม่จำกัดบทบาทหน้าที่อยู่เฉพาะในพระสงฆ์ ในด้านงานวิจัยครั้งต่อไปนั้น ควรมีการศึกษา ติดตามผลกลุ่มบุคคลที่ได้รับการให้คำปรึกษาจากพระสงฆ์ว่าเป็นอย่างไร มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผลจริงหรือไม่เพียงไร
This research was conducted based on 2 objectives: 1) to study the concept and methods of Buddhist counseling for family problem-solving, and 2) to study the concept and methods of this counseling. The research was designed as qualitative research by reviewing all related information sources, e.g., the Tipitaka, theses, books and other documents, and by interviewing 10 subjects who were Buddhist monks working as Phra Sanghadhikaras (ecclesiastical official monks) in Phuwiang District, Khon Khen Province. The results showed that the concept and methods of the Buddhist counseling process for family problem-sovling relied on the following principles: Disa 6, Saraniyadhamma, Gharavasadhamma, Sangahavatthu, Brahmavihara, and Pancasila-Pancadhamma. These principles were given through the manner of Kalyanamittata under Ariyasacca. The Buddhist counseling by monks for family problem-solving was an important role and duty of Buddhist monks due to the principles of Sikkhattaya and mercy. In this regard, the principles of Sammaditthi, Satipatthana, Brahmavihara, Gharavasadhamma, Dithadhammikattha, PancasilaPancadhamma, Apannapatipada, and Disa 6 had to be applied in counseling. The listening to such counseling should be in the form of Kalyanamittata while the counseling monks had to express the manner of Kalyanamittata, understand facts, lead the practice, be good models, be the mediators for disputes, teach, discuss, preach and chant. It is recommended from this research that lay people should apply the Buddhist principles or Dhamma in their life. These Buddhist principles may be used to give advice to friends, family or acquaintances. This counseling role should not be restricted to Buddhist monks only. For further studies, the persons who received counseling from Buddhist monks should be monitored in order to prove the effectiveness of this Buddhist counseling
This research was conducted based on 2 objectives: 1) to study the concept and methods of Buddhist counseling for family problem-solving, and 2) to study the concept and methods of this counseling. The research was designed as qualitative research by reviewing all related information sources, e.g., the Tipitaka, theses, books and other documents, and by interviewing 10 subjects who were Buddhist monks working as Phra Sanghadhikaras (ecclesiastical official monks) in Phuwiang District, Khon Khen Province. The results showed that the concept and methods of the Buddhist counseling process for family problem-sovling relied on the following principles: Disa 6, Saraniyadhamma, Gharavasadhamma, Sangahavatthu, Brahmavihara, and Pancasila-Pancadhamma. These principles were given through the manner of Kalyanamittata under Ariyasacca. The Buddhist counseling by monks for family problem-solving was an important role and duty of Buddhist monks due to the principles of Sikkhattaya and mercy. In this regard, the principles of Sammaditthi, Satipatthana, Brahmavihara, Gharavasadhamma, Dithadhammikattha, PancasilaPancadhamma, Apannapatipada, and Disa 6 had to be applied in counseling. The listening to such counseling should be in the form of Kalyanamittata while the counseling monks had to express the manner of Kalyanamittata, understand facts, lead the practice, be good models, be the mediators for disputes, teach, discuss, preach and chant. It is recommended from this research that lay people should apply the Buddhist principles or Dhamma in their life. These Buddhist principles may be used to give advice to friends, family or acquaintances. This counseling role should not be restricted to Buddhist monks only. For further studies, the persons who received counseling from Buddhist monks should be monitored in order to prove the effectiveness of this Buddhist counseling
Description
ศาสนาเปรียบเทียบ (มหาวิทยาลัยมหิดล 2556)
Degree Name
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Department
คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
Degree Discipline
ศาสนาเปรียบเทียบ
Degree Grantor(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล