Plant communities characteristics and carbon stock estimation in forest monastery, Ubon Ratchathani province
Issued Date
2024
Copyright Date
2019
Language
eng
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
x, 88 leaves : ill., maps
Access Rights
open access
Rights
ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
Rights Holder(s)
Mahidol University
Bibliographic Citation
Thesis (M.Sc. (Technology of Environmental Management))--Mahidol University, 2019
Suggested Citation
Jirapatch Jumpasingha Plant communities characteristics and carbon stock estimation in forest monastery, Ubon Ratchathani province. Thesis (M.Sc. (Technology of Environmental Management))--Mahidol University, 2019. Retrieved from: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/91673
Title
Plant communities characteristics and carbon stock estimation in forest monastery, Ubon Ratchathani province
Alternative Title(s)
ลักษณะสังคมพืชและการกักเก็บคาร์บอนในพื้นที่วัดป่า จังหวัดอุบลราชธานี
Author(s)
Advisor(s)
Abstract
This study focused on the characteristics of plant communities and carbon stock estimation within a forest monastery located in Ubon Ratchathani Province. A total of 14-temporary sample plots (7 plots of dry evergreen forest and 7 plots of dry dipterocarp forest) with 20x50 m2 was used for the study, selected using a purposive sampling method, and an aboveground carbon stock was estimated using allometric equations. The ordination analysis was conducted to investigate the relationship between environmental factors and its effect on the plant community based on canonical correspondence analysis (CCA) using the PC-ORD software. Finally, a conservation status of native plants was listed. The results showed that the dry evergreen forest had a total of 60 families, 106 genera, and 145 species. Of which trees were found to have had 53 families, 87 genera, 116 species, and 583 trees (Shannon-Wiener diversity index = 4.02); saplings were found to have had 31 families, 48 genera, 56 species, and 199 saplings, and the seedlings were found to have had 16 families, 27 genera, 29 species, and 117 saplings. The crown cover showed patterns of dense distribution and scantly canopy gaps. The dry dipterocarp forest, a more sparse one in the study sites, had a total of 33 families, 52 genera, and 65 species. Trees were found to have had 23 families, 35 genera, 43 species, and 414 trees, (Shannon-Wiener diversity index = 2.60); saplings were found to have had 21 families, 30 genera, 35 species, and 134 saplings, and the seedlings were found to have had 14 families, 17 genera, 20 species, and 60 seedlings. The crown cover showed patterns of loose distribution and wider canopy gaps. The CCA results showed that relationship between environmental variable and top-5-IVI-plant species were highly responded to independent variable (r = 0.990). The CCA plot showed that the first cluster of dry evergreen forest community had a weak relationship with low slope and low pH because they are located near the stream and can be classified under the sub-type called "gallery forest". The second cluster, the dry dipterocarp forest, had a positive relationship with phosphorus levels, and had some relationship with gallery forest species. The third cluster was the dry dipterocarp forest community, which are commonly distributed on land surfaces with shallow soil depth or exposed rock. These forest communities had positive relations with slope, pH, and annual rainfall due to the high amount of rainfall in eastern part of the province (Khong Chium district), but the main cause that determines this type of forest community was still mainly based on edaphic factors. The dry evergreen and dry dipterocarp forest had carbon stock of 157.99 t C ha-1 and 17.00 t C ha-1, respectively. Dipterocarpaceae and Fabaceae had been listed for the conservation status according to IUCN red lists (2001). Aquilaria crassna Pierre ex Lecomte. was critically an endangered species (CR). Dalbergia oliveri Gamble. was an endangered species (EN), and D. cochinchinensis Pierre. was a vulnerable species (VU).
การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะสังคมพืชและการกักเก็บคาร์บอนในพื้นที่วัดป่า จังหวัด อุบลราชธานี ด้วยการวางแปลงสำรวจชั่วคราวขนาด 20x50 ตารางเมตร เพื่อเก็บตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มแบบเจาะจง จากนั้นทำการประเมินการกักเก็บคาร์บอนจากมวลชีวภาพเหนือพื้นดินโดยสมการแอลโลเมตริก รวมทั้งวิเคราะห์การจัดลำดับหมู่ไม้เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยแวดล้อมและสังคมพืชด้วยวิธีการวิเคราะห์สหสัมพันธ์คาโนนิคอล พร้อมทั้งระบุสถานภาพทางการอนุรักษ์ของพันธุ์พืช ผลการศึกษาพบว่า สังคมพืชในพื้นที่วัดป่า สามารถจำแนกได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่ สังคมพืชป่าดิบแล้งจำนวน 7 แปลง และสังคมพืชป่าเต็งรังจำนวน 7 แปลง โดยลักษณะสังคมพืชป่าดิบแล้งพบพรรณไม้ทั้งหมด 60 วงศ์ 106 สกุล 145 ชนิด ประกอบด้วยไม้ต้น 53 วงศ์ 87 สกุล 116 ชนิด 583 ต้น (ค่าความหลากหลายของแชนนอน-วีนเนอร์ = 4.02), ไม้หนุ่ม 31 วงศ์ 48 สกุล 56 ชนิด 199 ต้น และกล้าไม้ 16 วงศ์ 27 สกุล 29 ชนิด 117 ต้น สำหรับการปกคลุมเรือนยอด มีลักษณะการกระจายที่ค่อนข้างแน่นและมีช่องว่างระหว่างเรือนยอดน้อย ส่วนสังคมป่าเต็งรังมีลักษณะป่าค่อนข้างโปร่ง พบพรรณไม้ทั้งหมด 33 วงศ์ 52 สกุล 65 ชนิด ซึ่งประกอบด้วยไม้ต้น 23 วงศ์ 35 สกุล 43 ชนิด 414 ต้น (ค่าความหลากหลายของแชนนอน-วีนเนอร์ = 2.60), ไม้หนุ่ม 21 วงศ์ 30 สกุล 35 ชนิด 134 ต้น และกล้าไม้ 14 วงศ์ 17 สกุล 20 ชนิด 60 ต้น การปกคลุมเรือนยอดมีลักษณะการกระจายที่ไม่หนาแน่นและมีช่องว่างของเรือนยอดมาก สำหรับการวิเคราะห์สหสัมพันธ์คาโนนิคอลแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ที่สูงระหว่างปัจจัยแวดล้อมกับค่าดัชนีความสำคัญของพันธุ์พืช 5 อันดับแรกของแต่ละแปลงตัวอย่าง (r = 0.990) จากกราฟแสดงให้เห็นว่าสังคมพืชป่าดิบแล้งมีความสัมพันธ์ในระดับต่ำ กับความเป็นกรด-ด่างของดิน และความลาดชัน เนื่องจากแปลงตัวอย่างที่ทำ การศึกษาอยู่ใกล้บริเวณลำน้ำสายหลัก ซึ่งป่าดิบแล้งประเภทนี้ จัดอยู่ในลักษณะของ "ป่าดิบแล้งริมห้วย" นอกจากนั้น ป่าดิบแล้งบางแห่งมีความสัมพันธ์ที่สูงกับระดับของฟอสฟอรัส สำหรับสังคมพืชป่าเต็งรังนั้นมีการกระจายอยู่ในพื้นที่ที่มีชั้นดินตื้นหรือบริเวณที่เป็นชั้นหิน ซึ่งมีความสัมพันธ์กับความลาดชัน, ความเป็นกรด-ด่าง และปริมาณน้ำฝน เนื่องจากในบางพื้นที่ เช่น อำเภอโขงเจียม มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยสูง อย่างไรก็ตาม ปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดสังคมป่าเต็งรังนั้นคือปัจจัยที่เกี่ยวกับดิน การกักเก็บคาร์บอนของป่าดิบแล้งและป่าเต็งรังมีค่าเท่ากับ 157.99 ตันคาร์บอนต่อเฮกตาร์ และ 17.00 ตันคาร์บอนต่อเฮกตาร์ ตามลำดับ ส่วนการระบุสถานภาพทางการ อนุรักษ์เช่น ไม้วงศ์ยาง (Dipterocarpaceae) และไม้วงศ์พะยูง (Fabaceae) พบพืชที่อยู่ในภาวะที่เสี่ยงเป็นอย่างยิ่ง (CR) ได้แก่ กฤษณา, พืชที่กำลังอยู่ในภาวะอันตรายใกล้สูญพันธุ์ (EN) ได้แก่ ชิงชัน และ พืชที่มีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์ (VU) ได้แก่ พะยูง
การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะสังคมพืชและการกักเก็บคาร์บอนในพื้นที่วัดป่า จังหวัด อุบลราชธานี ด้วยการวางแปลงสำรวจชั่วคราวขนาด 20x50 ตารางเมตร เพื่อเก็บตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มแบบเจาะจง จากนั้นทำการประเมินการกักเก็บคาร์บอนจากมวลชีวภาพเหนือพื้นดินโดยสมการแอลโลเมตริก รวมทั้งวิเคราะห์การจัดลำดับหมู่ไม้เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยแวดล้อมและสังคมพืชด้วยวิธีการวิเคราะห์สหสัมพันธ์คาโนนิคอล พร้อมทั้งระบุสถานภาพทางการอนุรักษ์ของพันธุ์พืช ผลการศึกษาพบว่า สังคมพืชในพื้นที่วัดป่า สามารถจำแนกได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่ สังคมพืชป่าดิบแล้งจำนวน 7 แปลง และสังคมพืชป่าเต็งรังจำนวน 7 แปลง โดยลักษณะสังคมพืชป่าดิบแล้งพบพรรณไม้ทั้งหมด 60 วงศ์ 106 สกุล 145 ชนิด ประกอบด้วยไม้ต้น 53 วงศ์ 87 สกุล 116 ชนิด 583 ต้น (ค่าความหลากหลายของแชนนอน-วีนเนอร์ = 4.02), ไม้หนุ่ม 31 วงศ์ 48 สกุล 56 ชนิด 199 ต้น และกล้าไม้ 16 วงศ์ 27 สกุล 29 ชนิด 117 ต้น สำหรับการปกคลุมเรือนยอด มีลักษณะการกระจายที่ค่อนข้างแน่นและมีช่องว่างระหว่างเรือนยอดน้อย ส่วนสังคมป่าเต็งรังมีลักษณะป่าค่อนข้างโปร่ง พบพรรณไม้ทั้งหมด 33 วงศ์ 52 สกุล 65 ชนิด ซึ่งประกอบด้วยไม้ต้น 23 วงศ์ 35 สกุล 43 ชนิด 414 ต้น (ค่าความหลากหลายของแชนนอน-วีนเนอร์ = 2.60), ไม้หนุ่ม 21 วงศ์ 30 สกุล 35 ชนิด 134 ต้น และกล้าไม้ 14 วงศ์ 17 สกุล 20 ชนิด 60 ต้น การปกคลุมเรือนยอดมีลักษณะการกระจายที่ไม่หนาแน่นและมีช่องว่างของเรือนยอดมาก สำหรับการวิเคราะห์สหสัมพันธ์คาโนนิคอลแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ที่สูงระหว่างปัจจัยแวดล้อมกับค่าดัชนีความสำคัญของพันธุ์พืช 5 อันดับแรกของแต่ละแปลงตัวอย่าง (r = 0.990) จากกราฟแสดงให้เห็นว่าสังคมพืชป่าดิบแล้งมีความสัมพันธ์ในระดับต่ำ กับความเป็นกรด-ด่างของดิน และความลาดชัน เนื่องจากแปลงตัวอย่างที่ทำ การศึกษาอยู่ใกล้บริเวณลำน้ำสายหลัก ซึ่งป่าดิบแล้งประเภทนี้ จัดอยู่ในลักษณะของ "ป่าดิบแล้งริมห้วย" นอกจากนั้น ป่าดิบแล้งบางแห่งมีความสัมพันธ์ที่สูงกับระดับของฟอสฟอรัส สำหรับสังคมพืชป่าเต็งรังนั้นมีการกระจายอยู่ในพื้นที่ที่มีชั้นดินตื้นหรือบริเวณที่เป็นชั้นหิน ซึ่งมีความสัมพันธ์กับความลาดชัน, ความเป็นกรด-ด่าง และปริมาณน้ำฝน เนื่องจากในบางพื้นที่ เช่น อำเภอโขงเจียม มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยสูง อย่างไรก็ตาม ปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดสังคมป่าเต็งรังนั้นคือปัจจัยที่เกี่ยวกับดิน การกักเก็บคาร์บอนของป่าดิบแล้งและป่าเต็งรังมีค่าเท่ากับ 157.99 ตันคาร์บอนต่อเฮกตาร์ และ 17.00 ตันคาร์บอนต่อเฮกตาร์ ตามลำดับ ส่วนการระบุสถานภาพทางการ อนุรักษ์เช่น ไม้วงศ์ยาง (Dipterocarpaceae) และไม้วงศ์พะยูง (Fabaceae) พบพืชที่อยู่ในภาวะที่เสี่ยงเป็นอย่างยิ่ง (CR) ได้แก่ กฤษณา, พืชที่กำลังอยู่ในภาวะอันตรายใกล้สูญพันธุ์ (EN) ได้แก่ ชิงชัน และ พืชที่มีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์ (VU) ได้แก่ พะยูง
Description
Technology of Environmental Management (Mahidol University 2019)
Degree Name
Master of Science
Degree Level
Master's degree
Degree Department
Faculty of Environment and Resource Studies
Degree Discipline
Technology of Environmental Management
Degree Grantor(s)
Mahidol University