Flood resilience practical adaptation in flash and inundation flood-affected areas in Thailand
Issued Date
2018
Copyright Date
2018
Resource Type
Language
eng
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
xxiii, 318 leaves : ill.
Access Rights
open access
Rights
ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
Rights Holder(s)
Mahidol University
Bibliographic Citation
Thesis (Ph.D. (Environment and Resource Studies))--Mahidol University, 2018
Suggested Citation
Olarn Charoenchai Flood resilience practical adaptation in flash and inundation flood-affected areas in Thailand. Thesis (Ph.D. (Environment and Resource Studies))--Mahidol University, 2018. Retrieved from: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/92229
Title
Flood resilience practical adaptation in flash and inundation flood-affected areas in Thailand
Alternative Title(s)
การปรับตัวในทางปฏิบัติเพื่อความยืดหยุ่นต่อน้ำท่วมในพื้นที่น้ำท่วมฉับพลันและน้ำท่วมขังของประเทศไทย
Author(s)
Advisor(s)
Abstract
The objectives of this study were to assess flood resilience of houses and socio-economic adaptation of households in flash and inundation flood-affected areas in Thailand. Five flash and five inundation flood-affected areas in Thailand were chosen to be study sites. Guided field walks, architectural measurement, and in-depth interview were used to collect data. Disaster Resilience Framework was employed as the main frame to assess flood resilience in this study. The software named Robot Structural Analysis Professional (educational version) was used to assess robustness of houses to water flood and debris flow in flash flood sites. The assessment on robustness of house's materials to inundation flood and the assessment on redundancy, resourcefulness, rapidity of houses and socio-economic adaptation of households to flash and inundation flood were undertaken by applying the technique of Directed Content Analysis. The results of this study were as follows: 1) About robustness assessment of physical characteristics of houses in flash flood-affected areas, main structure of all types of house can withstand flood loads of water flood except wooden single-story house and all types of house cannot endure impact loads of debris flow except double-story house which downstairs' main structure is reinforced concrete, all types of downstairs wall breakdown when they are stricken by flood and impact loads whereas ground floor panels both slabs on ground and on beams still exist. 2) About robustness assessment of houses in inundation flood-affected locations, all types of house are not resilient to flood, wood components of wooden house degrade in form of swelling, twisting, cupping, bowing, and checking. Reinforced concrete members of concrete house gradually deteriorate by carbonation and chloride ingress process that cause the corrosion of reinforcing steel bars that leads to the loss of strength of such members. Masonry walls of concrete house degrade by sulphate crystallization in masonry units and mortar that cause the breaking apart of masonry units and the erosion of mortar joint. 3) Most physical characteristics of houses and socio-economic adaptation of households in flash and inundation flood sites represent at least one of three remaining properties of disaster resilience: redundancy, resourcefulness, and rapidity whereas some characteristics and adaptation are outside the scope of Disaster Resilience Framework and need new words to explain them.
วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความยืดหยุ่นต่อน้ำท่วมของบ้านเรือนและการปรับตัวด้านสังคม-เศรษฐกิจของครัวเรือนในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมฉับพลันและ น้ำท่วมขังในประเทศไทย พื้นที่น้ำท่วมฉับพลัน 5 แห่งและพื้นที่น้ำท่วมขัง 5 แห่งถูกเลือกให้เป็นพื้นที่ศึกษา การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้วิธีการเดินสำรวจและถ่ายภาพใน พื้นที่ การรังวัดทางสถาปัตยกรรม และการสัมภาษณ์เชิงลึก Disaster Resilience Framework ถูกใช้เป็นกรอบหลักในการประเมินความยืดหยุ่นต่อน้ำท่วม ในส่วนของการประเมิน robustness ของบ้านต่อ flood loadsในเหตุการณ์น้ำไหลท่วม (water flood) และต่อ impact loads ในเหตุการณ์ตะกอนไหล (debris flow) ในพื้นที่น้ำท่วมฉับพลันนั้น ถูกดำเนินการโดยใช้ computer software ที่ชื่อว่า Robot Structural Analysis Professional (educational version) ในส่วนการประเมิน robustness ของวัสดุก่อสร้างบ้านในพื้นที่น้ำท่วมขังและการประเมิน redundancy, resourcefulness, และ rapidity ของบ้านและการปรับตัวด้านสังคม-เศรษฐกิจของครัวเรือนในพื้นที่น้ำท่วมฉับพลันและน้ำท่วมขังนั้นถูกดำเนินการโดยการประยุกต์ใช้เทคนิค Directed Content Analysis ผลจากการวิเคราะห์ข้อมูลมีดังนี้ 1) ในเรื่องการประเมิน robustness ของบ้านในพื้นที่น้ำท่วมฉับพลันพบว่าโครงสร้างหลักของบ้านทุกประเภทสามารถทนต่อ flood loads ของ water floodได้ ยกเว้นบ้านชั้นเดียวที่โครงสร้างหลักเป็นไม้ ในขณะที่บ้านทุกประเภทไม่สามารถต้านทาน impact loads ของ debris flowได้ ยกเว้นบ้าน 2 ชั้นที่โครงสร้างหลัก ของชั้นล่างเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก ผนังไม้และผนังก่ออิฐของบ้านชั้นล่างล้วนพังเสียหายเมื่อถูกกระทบด้วย water flood และ debris flow ในขณะที่แผ่นพื้นคอนกรีตเสริมเหล็กชั้นล่างทั้งชนิดวางบนดินและวางบนคานไม่ได้รับความเสียหายแต่อย่างใด 2) ในเรื่องการประเมิน robustness ของบ้านในพื้นที่น้ำท่วมขังพบว่า บ้านทุกประเภทไม่ยืดหยุ่นต่อน้ำท่วมกล่าวคือ ส่วนประกอบต่าง ๆ ของบ้านไม้จะเสื่อมสภาพในรูปแบบของการบวม การบิดงอ การโก่ง และการแตกร้าว ส่วนองค์ประกอบคอนกรีตเสริมเหล็กของบ้านปูนจะค่อยๆ เสื่อมสภาพจากกระบวนการ carbonation และ chloride ingress ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของการเกิดสนิมในเหล็กเสริมคอนกรีตที่นำไปสู่การสูญเสียกำลังขององค์ประกอบส่วนนั้น ๆ ส่วนผนังก่ออิฐของบ้านปูนก็จะเสื่อมสภาพโดยการเกิดผลึก sulphateในวัสดุก่อและปูนก่อซึ่งเป็นสาเหตุของการแยกตัวของวัสดุก่อและการสึกกร่อนของปูนก่อ 3) บ้านและการปรับตัวด้านสังคม-เศรษฐกิจของครัวเรือนในพื้นที่น้ำท่วมฉับพลันและน้ำท่วมขังโดยส่วนใหญ่จะแสดงถึงหนึ่งในสามคุณสมบัติที่เหลือของ disaster resilience ได้แก่ redundancy, resourcefulness และ rapidity ในขณะที่ลักษณะกายภาพของบ้านบางหลังและการปรับตัวบางเรื่องของครัวเรือนนั้นก็อยู่นอกเหนือขอบเขตของ Disaster Resilience Framework และต้องการการอธิบายด้วยคำใหม่
วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความยืดหยุ่นต่อน้ำท่วมของบ้านเรือนและการปรับตัวด้านสังคม-เศรษฐกิจของครัวเรือนในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมฉับพลันและ น้ำท่วมขังในประเทศไทย พื้นที่น้ำท่วมฉับพลัน 5 แห่งและพื้นที่น้ำท่วมขัง 5 แห่งถูกเลือกให้เป็นพื้นที่ศึกษา การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้วิธีการเดินสำรวจและถ่ายภาพใน พื้นที่ การรังวัดทางสถาปัตยกรรม และการสัมภาษณ์เชิงลึก Disaster Resilience Framework ถูกใช้เป็นกรอบหลักในการประเมินความยืดหยุ่นต่อน้ำท่วม ในส่วนของการประเมิน robustness ของบ้านต่อ flood loadsในเหตุการณ์น้ำไหลท่วม (water flood) และต่อ impact loads ในเหตุการณ์ตะกอนไหล (debris flow) ในพื้นที่น้ำท่วมฉับพลันนั้น ถูกดำเนินการโดยใช้ computer software ที่ชื่อว่า Robot Structural Analysis Professional (educational version) ในส่วนการประเมิน robustness ของวัสดุก่อสร้างบ้านในพื้นที่น้ำท่วมขังและการประเมิน redundancy, resourcefulness, และ rapidity ของบ้านและการปรับตัวด้านสังคม-เศรษฐกิจของครัวเรือนในพื้นที่น้ำท่วมฉับพลันและน้ำท่วมขังนั้นถูกดำเนินการโดยการประยุกต์ใช้เทคนิค Directed Content Analysis ผลจากการวิเคราะห์ข้อมูลมีดังนี้ 1) ในเรื่องการประเมิน robustness ของบ้านในพื้นที่น้ำท่วมฉับพลันพบว่าโครงสร้างหลักของบ้านทุกประเภทสามารถทนต่อ flood loads ของ water floodได้ ยกเว้นบ้านชั้นเดียวที่โครงสร้างหลักเป็นไม้ ในขณะที่บ้านทุกประเภทไม่สามารถต้านทาน impact loads ของ debris flowได้ ยกเว้นบ้าน 2 ชั้นที่โครงสร้างหลัก ของชั้นล่างเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก ผนังไม้และผนังก่ออิฐของบ้านชั้นล่างล้วนพังเสียหายเมื่อถูกกระทบด้วย water flood และ debris flow ในขณะที่แผ่นพื้นคอนกรีตเสริมเหล็กชั้นล่างทั้งชนิดวางบนดินและวางบนคานไม่ได้รับความเสียหายแต่อย่างใด 2) ในเรื่องการประเมิน robustness ของบ้านในพื้นที่น้ำท่วมขังพบว่า บ้านทุกประเภทไม่ยืดหยุ่นต่อน้ำท่วมกล่าวคือ ส่วนประกอบต่าง ๆ ของบ้านไม้จะเสื่อมสภาพในรูปแบบของการบวม การบิดงอ การโก่ง และการแตกร้าว ส่วนองค์ประกอบคอนกรีตเสริมเหล็กของบ้านปูนจะค่อยๆ เสื่อมสภาพจากกระบวนการ carbonation และ chloride ingress ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของการเกิดสนิมในเหล็กเสริมคอนกรีตที่นำไปสู่การสูญเสียกำลังขององค์ประกอบส่วนนั้น ๆ ส่วนผนังก่ออิฐของบ้านปูนก็จะเสื่อมสภาพโดยการเกิดผลึก sulphateในวัสดุก่อและปูนก่อซึ่งเป็นสาเหตุของการแยกตัวของวัสดุก่อและการสึกกร่อนของปูนก่อ 3) บ้านและการปรับตัวด้านสังคม-เศรษฐกิจของครัวเรือนในพื้นที่น้ำท่วมฉับพลันและน้ำท่วมขังโดยส่วนใหญ่จะแสดงถึงหนึ่งในสามคุณสมบัติที่เหลือของ disaster resilience ได้แก่ redundancy, resourcefulness และ rapidity ในขณะที่ลักษณะกายภาพของบ้านบางหลังและการปรับตัวบางเรื่องของครัวเรือนนั้นก็อยู่นอกเหนือขอบเขตของ Disaster Resilience Framework และต้องการการอธิบายด้วยคำใหม่
Description
Environment and Resource Studies (Mahidol University 2018)
Degree Name
Doctor of Philosophy
Degree Level
Doctoral Degree
Degree Department
Faculty of Environment and Resource Studies
Degree Discipline
Environment and Resource Studies
Degree Grantor(s)
Mahidol University