การนำโครงการความรับผิดชอบต่อสังคมมาใช้กับผู้ประกอบการขนาดย่อมในภาคการผลิต
dc.contributor.advisor | โสฬส ศิริไสย์ | |
dc.contributor.advisor | ชิตชยางค์ ยมาภัย | |
dc.contributor.advisor | เรื่องเดช ปันเขื่อนขัติ | |
dc.contributor.author | วินัย รุ่งฤทธิเดช | |
dc.date.accessioned | 2024-01-22T08:53:35Z | |
dc.date.available | 2024-01-22T08:53:35Z | |
dc.date.copyright | 2557 | |
dc.date.created | 2567 | |
dc.date.issued | 2557 | |
dc.description | วัฒนธรรมและการพัฒนา (มหาวิทยาลัยมหิดล 2557) | |
dc.description.abstract | งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระบบ ขั้นตอน ผลการดำเนินงาน ปัญหาและอุปสรรค รวมทั้งแนวทางการแก้ไขของสถานประกอบการขนาดย่อมที่เข้าร่วมโครงการส่งเสริมให้เป็นผู้ประกอบการที่มี ความรับผิดชอบต่อสังคมเพื่อให้เกิดการยอมรับอย่างยั่งยืน เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) แบบ กรณีศึกษา (Case Study) ผลการศึกษาจากการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการประกอบการอุตสาหกรรม โรงงานที่ใช้เป็นกรณีศึกษาและของโครงการส่งเสริมให้เป็นผู้ประกอบการที่สังคมยอมรับอย่างยั่งยืน กรมโรงงาน อุตสาหกรรม รวมทั้งการวิเคราะห์จากเอกสารพบว่า (1) การเข้าร่วมโครงการฯ ทำให้สถานประกอบการขนาดย่อม เป็นผลดีต่อการพัฒนาตนเองของสถานประกอบการขนาดย่อม กระตุ้นให้เกิดการจัดวางระบบการดำเนินงานตาม มาตรฐานความรับผิดชอบของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมต่อสังคม พ.ศ.2554 (2) สถานประกอบการขนาดย่อมที่ เข้าร่วมโครงการฯ ได้มีการกำหนดขั้นตอนการดำเนินงานตามแนวปฏิบัติสำหรับผู้ประกอบการอุตสาหกรรมตาม เกณฑ์มาตรฐานความรับผิดชอบของผู้ประกอบการต่อสังคม พ.ศ.2554 (3) ผลการดำเนินงาน เนื่องจากสถาน ประกอบการขนาดย่อมที่เข้าร่วมโครงการฯ ยังมีข้อจำกัดหลายๆด้าน โดยเฉพาะด้านเงินลงทุนและบุคลากรทำให้ ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดของกรมโรงงานอุตสาหกรรมหลายข้อโดยเฉพาะหัวข้อที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม (4) ปัญหาและอุปสรรคเนื่องจากการเป็นสถานประกอบการอุตสาหกรรมขนาดย่อมหรือขนาดเล็กทำให้ยังไม่พร้อมที่ จะปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ตามข้อกำหนดของกรมโรงงานอุตสาหกรรมโดยเฉพาะด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นเกณฑ์ มาตรฐานที่เหมาะกับสถานประกอบการอุตสาหกรรมที่มีขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ซึ่งต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมาก วิทยานิพนธ์นี้ได้เสนอแนวทางให้สถานประกอบการขนาดย่อมที่ต้องการมีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อสังคม นำ หลักการปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง การพัฒนาแบบยั่งยืนแนวพุทธ การบริหารธุรกิจที่ดีตามหลักธรรมาภิบาลและ หลักการอุตสาหกรรมกับสิ่งแวดล้อมมาใช้เพื่อภาพลักษณ์ที่ดี แสดงให้เห็นถึงความรับผิดชอบต่อสังคมของสถาน ประกอบการขนาดย่อมที่เข้าร่วมโครงการฯ | |
dc.description.abstract | This research aims to draw lessons learned from Small Medium Enterprises (SME) in the efforts on participating Corporate Social Responsibility (CSR). This program was initiated by the Department of Industry to enhance sustainability and social recognition for SME. Qualitative research using case studies was applied. The results from in-depth study indicated that: 1) Participating CSR was positive to the SME in terms of organization development. The operating systems were designed and renovated to meet the industry standard for social responsibility governed by the Department of Industry Rules, 2554. 2) The implementation guidelines for the industry standard as such were too complicated and demanded a high level of financial support, the criteria for environment, in particular. This was because the criteria were set up for large, not for a small and medium enterprises. Thus the SME could not follow all the criteria. 3)This study suggested that SME should adopt sufficiency economy as the philosophy to operate their enterprise. In addition, sustainable development, a Buddhist management concept, as well as the principles of good governance, can be used to demonstrate the social responsibility image of small enterprises. | |
dc.format.extent | ก-ฌ, 137 แผ่น : ภาพประกอบ | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.identifier.citation | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (วัฒนธรรมและการพัฒนา))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2557 | |
dc.identifier.uri | https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/93445 | |
dc.language.iso | tha | |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยมหิดล. หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล | |
dc.rights | ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า | |
dc.rights.holder | มหาวิทยาลัยมหิดล | |
dc.subject | ความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์การธุรกิจ | |
dc.title | การนำโครงการความรับผิดชอบต่อสังคมมาใช้กับผู้ประกอบการขนาดย่อมในภาคการผลิต | |
dc.title.alternative | Apply to use corporate social responsibility (CSR) for small enterprises in manufacturing sector | |
dc.type | Master Thesis | |
dcterms.accessRights | open access | |
mods.location.url | http://mulinet11.li.mahidol.ac.th/e-thesis/2557/cd488/5237674.pdf | |
thesis.degree.department | สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย | |
thesis.degree.discipline | วัฒนธรรมและการพัฒนา | |
thesis.degree.grantor | มหาวิทยาลัยมหิดล | |
thesis.degree.level | ปริญญาโท | |
thesis.degree.name | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |