แนวทางการส่งเสริมกิจกรรมการออกกำลังกายของผู้สูงอายุในเขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร
Issued Date
2558
Copyright Date
2558
Resource Type
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
ก-ญ, 206 แผ่น
Access Rights
open access
Rights
ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
Rights Holder(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (การจัดการทางการกีฬา))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2558
Suggested Citation
เกียรติรัตน์ วารินศิริรักษ์ แนวทางการส่งเสริมกิจกรรมการออกกำลังกายของผู้สูงอายุในเขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (การจัดการทางการกีฬา))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2558. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/92911
Title
แนวทางการส่งเสริมกิจกรรมการออกกำลังกายของผู้สูงอายุในเขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร
Alternative Title(s)
Promoting physical activity guidelines of elderly in Talingchan district, Bangkok
Author(s)
Advisor(s)
Abstract
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยส่วนบุคคลกับพฤติกรรมการออกกำลังกายของผู้สูงอายุในเขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร ศึกษาความต้องการในการจัดกิจกรรมการออกกำลังกายของผู้สูงอายุในเขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร และนำเสนอแนวทางการส่งเสริมกิจกรรมการออกกำลังกายของผู้สูงอายุในเขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร โดยศึกษาในผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ที่อาศัยอยู่ในเขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร เป็นกลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน ซึ่งรูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี โดยใช้แบบสอบถาม เป็นเครื่องมือในการศึกษา ซึ่งการวิเคราะห์ข้อมูล ผู้วิจัยได้ใช้โปรแกรม SPSS for Windows โดยใช้สถิติแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าไคสแควร์ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สาหรับแบบสัมภาษณ์ กับผู้เชี่ยวชาญทั้ง 5 ท่าน จากผู้บริหารสำนักงานเขตตลิ่งชัน ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการการกีฬา 2 ท่าน และผู้เชี่ยวชาญด้านผู้สูงอายุ 2 ท่าน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา 1. ผลการศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยส่วนบุคคลกับพฤติกรรมการออกกำลังกายของผู้สูงอายุในเขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร พบว่า ความถี่ในการออกกำลังกาย มีความสัมพันธ์กับ รายได้ ระยะเวลาในการออกกำลังกาย มีความสัมพันธ์กับ อายุ ระดับการศึกษา รายได้ ช่วงเวลาในการออกกำลังกาย มีความสัมพันธ์กับ เพศ อายุ ระดับการศึกษา รายได้ ชนิดกิจกรรมการออกกำลังกาย มีความสัมพันธ์กับ เพศ อายุ ระดับการศึกษา รายได้ สถานภาพสมรส 2. ผลการศึกษาความต้องการในการจัดกิจกรรมการออกกำลังกายของผู้สูงอายุในเขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร พบว่า ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านสถานที่ อุปกรณ์ และสิ่งอำนวยความสะดวก ด้านบุคลากรผู้ให้บริการ และด้านการจัดการ ตามลำดับ ด้านชนิดของกิจกรรม ส่วนใหญ่เลือกชนิดกายบริหาร/กิจกรรมเข้าจังหวะ ด้านวันที่ต้องการออกกำลังกาย ส่วนใหญ่เลือก วันเสาร์ ด้านเวลาที่ต้องการออกกำลังกาย ส่วนใหญ่เลือกเวลา17:00-19:00 ด้านช่องทางการเผยแพร่ และการประชาสัมพันธ์ ส่วนใหญ่เลือกช่องทางวิทยุชุมชน ด้านลักษณะการเผยแพร่ และการประชาสัมพันธ์ ส่วนใหญ่เลือกให้มีการเผยแพร่ และมีป้ายประชาสัมพันธ์ การจัดกิจกรรมการออกกำลังกายกระจายอย่างทั่วถึงในเขตตลิ่งชัน ด้านการจัดการแข่งขันกีฬา ส่วนใหญ่เลือกชนิดเดินเร็ว ด้านการจัดการแข่งขันกีฬาพื้นบ้าน ส่วนใหญ่เลือกชนิดราวงย้อนยุค 3. ผลการศึกษาการนำเสนอแนวทางการส่งเสริมกิจกรรมการออกกำลังกายของผู้สูงอายุในเขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร เป็นดังนี้ 1) ด้านสถานที่ อุปกรณ์ และสิ่งอำนวยความสะดวก สถานที่ต้องมีความร่มรื่น อุปกรณ์การออกกำลังกายจะต้องได้มาตรฐาน สถานที่ออกกำลังกายควรมีสิ่งอำนวยความสะดวก 2) ด้านบุคลากรผู้ให้บริการ ควรมีความรู้ ความเชี่ยวชาญ แนะนำ สาธิตได้ 3) ด้านการจัดการ ควรมีการจัดการให้มีการจัดสรรงบประมาณ โดยเลือกช่องทางที่ดีที่สุด ใช้งบประมาณน้อยที่สุด ซึ่งหน่วยงานควรมีนโยบายและตัวชี้วัดที่ชัดเจน 4) ด้านกิจกรรมการออกกำลังกาย ที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุ ไม่ควรเป็นกิจกรรมที่ใช้แรงมาก หนักเกินไป ข้อเสนอแนะจากการวิจัยนี้ เขตตลิ่งชันควรให้ความสำคัญในด้านการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น พัฒนาศักยภาพของบุคลากรให้มีใจรักในการทำกิจกรรมเกี่ยวกับการออกกำลังกายของผู้สูงอายุ พร้อมทั้งพัฒนาและสนับสนุน ในการเพิ่มเติมงบประมาณสำหรับการบริหารจัดการ และสร้างกิจกรรมต่างๆ ที่เป็นการสนับสนุนการออกกำลังกายของผู้สูงอายุ
The objectives of this research were to explore the relationships between personal characteristics and elderly exercise behavior in Talingchan District, Bangkok and to study the need for providing and promoting physical activity among the elderly. The study involved 400 elderly people living in Talingchan District, Bangkok. The research was conducted with mixed methodology through the application of a questionnaire and SPSS that involved statistical approaches, namely, frequency distribution, percentage, chi-square, mean, and standard deviation. An interview was used for five experts from Talingchan Administrative District Office, two experts in Sports Management and two experts in elderly care. The findings from exploring the relationships between personal characteristics and elderly exercise behavior indicated that exercise frequency was related to income, and exercise duration was related to age, educational level, and income; whereas exercise period was related to gender, age, educational level, and income, while type of exercise was related to gender, age, educational level, income, and marital status. The findings from studying the need for providing physical activities indicated overall needs at a high level. There was a need for location, equipment and facilities, service staff and management. The findings from promoting physical activities are 1) regarding location, equipment and facility, participants preferred pleasant and serene places, with standard exercise equipment and a convenient facility, 2) on service staff, they must be experts in the field, capable of conducting exercise, 3) on management, budget should be set aside for allocating when needed with the best approach that requires the smallest budget as well as set up policy and clear performance indicators, 4) and exercise activities should be appropriate for the elderly, such as light activities. This research recommends Talingchan District to focus on developing more efficient facilities a s well as enhancing staff's potential through the commitment to arrange physical activities for the elderly, including formulating and providing additional management funds as well as creating numerous activities to promote exercise habits among the elderly.
The objectives of this research were to explore the relationships between personal characteristics and elderly exercise behavior in Talingchan District, Bangkok and to study the need for providing and promoting physical activity among the elderly. The study involved 400 elderly people living in Talingchan District, Bangkok. The research was conducted with mixed methodology through the application of a questionnaire and SPSS that involved statistical approaches, namely, frequency distribution, percentage, chi-square, mean, and standard deviation. An interview was used for five experts from Talingchan Administrative District Office, two experts in Sports Management and two experts in elderly care. The findings from exploring the relationships between personal characteristics and elderly exercise behavior indicated that exercise frequency was related to income, and exercise duration was related to age, educational level, and income; whereas exercise period was related to gender, age, educational level, and income, while type of exercise was related to gender, age, educational level, income, and marital status. The findings from studying the need for providing physical activities indicated overall needs at a high level. There was a need for location, equipment and facilities, service staff and management. The findings from promoting physical activities are 1) regarding location, equipment and facility, participants preferred pleasant and serene places, with standard exercise equipment and a convenient facility, 2) on service staff, they must be experts in the field, capable of conducting exercise, 3) on management, budget should be set aside for allocating when needed with the best approach that requires the smallest budget as well as set up policy and clear performance indicators, 4) and exercise activities should be appropriate for the elderly, such as light activities. This research recommends Talingchan District to focus on developing more efficient facilities a s well as enhancing staff's potential through the commitment to arrange physical activities for the elderly, including formulating and providing additional management funds as well as creating numerous activities to promote exercise habits among the elderly.
Description
การจัดการทางการกีฬา (มหาวิทยาลัยมหิดล 2558)
Degree Name
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Department
คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
Degree Discipline
การจัดการทางการกีฬา
Degree Grantor(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล