การศึกษาผลสัมฤทธิ์ของการกระตุ้นจุดฝังเข็มเพื่อรักษาผู้ป่วยติดบุหรี่
Issued Date
2556
Resource Type
Language
tha
Call No.
W3 ก482ม ครั้งที่ 1 2556 [ LIPT, LILC, LISI, LICL, LIAD, LINS, LIPY]
Rights
มหาวิทยาลัยมหิดล
Rights Holder(s)
ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก มหาวิทยาลัยมหิดล
Physical Location
Faculty of Physical Therapy, Surasak Srisuk Library
Research Institute for Languages and Cultures of Asia
Siriraj Medical Library Faculty of Medicine Siriraj Hospital
Central Library
ASEAN Institute for Health Development Library
Faculty of Nursing Library
Faculty of Pharmacy Library
Research Institute for Languages and Cultures of Asia
Siriraj Medical Library Faculty of Medicine Siriraj Hospital
Central Library
ASEAN Institute for Health Development Library
Faculty of Nursing Library
Faculty of Pharmacy Library
Suggested Citation
อัมพร กรอบทอง, ศิริรัตน์ อนุศาสนี, จันทร์เพ็ญ ลาพระอินทร์ (2556). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ของการกระตุ้นจุดฝังเข็มเพื่อรักษาผู้ป่วยติดบุหรี่. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/11017
Title
การศึกษาผลสัมฤทธิ์ของการกระตุ้นจุดฝังเข็มเพื่อรักษาผู้ป่วยติดบุหรี่
Alternative Title(s)
Effects of Acupoint Stimulation in treatment for Tobacco Addiction
Other Contributor(s)
Abstract
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองแบบ Control-trial Study โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ของการกระตุ้นจุดฝังเข็มในการรักษาผู้ป่วยติดบุหรี่ จากผู้ป่วยที่เข้ามารับการรักษาในคลินิกฟ้าใสที่เข้าร่วมโครงการวิจัย รวม 4 แห่ง จำนวน 59 คน โดยได้รับความสมัครใจและยินยอมเข้าร่วมการรักษาโรคติดบุหรี่ด้วยการกระตุ้นจุดฝังเข็ม ในช่วงระยะเวลา ตั้งแต่ 1 มิถุนายน 2555 ถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์2556แบ่งกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมโดย Block of 4 ทั้ง 2 กลุ่มรับการชี้แจงถึงวัตถุประสงค์ ประโยชน์ วิธีดำเนินการ ทั้งกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ได้รับการกระตุ้นจุดฝังเข็มด้วยการติดแผ่นกระตุ้นไฟฟ้าที่ลำตัว ติดเม็ดแม่เหล็กกระตุ้นจุดฝังเข็มที่ใบหู กลุ่มทดลองเลือกใช้จุด LI4,EX-UE2,SP6,LR3,BL13,BL15 บนลำตัวและจุด Shenmen ,Lung บนใบหู กลุ่มควบคุมเลือกใช้จุดอื่นๆที่กำหนด ทั้ง 2 กลุ่มได้รับกระตุ้นโดยผู้ผ่านการฝึกอบรม นัดให้บริการสัปดาห์ละ 2 ครั้ง ตัวชี้วัดของการศึกษาได้แก่ ผลสัมฤทธิ์ในการช่วยเลิกบุหรี่ การเปลี่ยนแปลงของรสชาดของบุหรี่ภายหลังการกระตุ้นจุดฝังเข็ม และระดับคาร์บอนมอนอกไซด์ในลมหายใจออก(exhaled carbon monoxide) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive statistics) ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย เพื่อแสดงผลข้อมูลทั่วไป ประวัติการสูบบุหรี่ สาเหตุการติดบุหรี่ ผลการวิจัยพบว่าการกระตุ้นจุดฝังเข็มสามารถช่วยให้เลิกบุหรี่ได้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) มีผลทำให้รสชาดของบุหรี่เปลี่ยนแปลงไป ร้อยละ 40 ในกลุ่มทดลอง และ ร้อยละ 13.8 ในกลุ่มควบคุม ภายหลังการกระตุ้นจุดฝังเข็มกลุ่มควบคุม มีระดับคาร์บอนมอนอกไซด์ในลมหายใจออก(exhaled carbon monoxide) ลดลงร้อยละ 70 และร้อยละ 55 ในกลุ่มควบคุม ผลสัมฤทธิ์ของการกระตุ้นจุดฝังเข็มในการรักษาผู้ป่วยติดบุหรี่ มีความสัมพันธ์กับปัจจัยทางจิตใจอย่างมีนัยสำคัญ((p<0.05)) แต่ไม่มีความสัมพันธ์กับรสชาดของบุหรี่ที่เปลี่ยนแปลง ประเทของบุหรี่ที่สูบ ระยะเวลาที่สูบ ความรุนแรงของการติด ทั้งนี้ผลการศึกษาเป็นการศึกษาเบื้องต้น ยังขาดการติดตามเพื่อดูผลสัมฤทธิ์ระยะยาว การศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าการกระตุ้นจุดฝังเข็มสามารถช่วยให้ผู้ป่วยสามารถเลิกบุหรี่ได้ จึงสามารถนำมาใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาการดูแลผู้ป่วยติดบุหรี่แบบผสมผสาน เพื่อช่วยลดปัจจัยเสี่ยงจากสารพิษในบุหรี่ และ ลดค่าใช้จ่ายของประเทศที่ใช้ในการบำบัดอาการถอนบุหรี่ได้
Description
หนังสือรวมบทความการประชุมวิชาการประจำปีศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก ครั้งที่ 1 เรื่องการแพทย์ผสมผสานและงานวิจัยเชิงประยุกต์ในหน่วยงาน. ณ ห้องประชุมศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก ชั้น G นครปฐม, ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก มหาวิทยาลัยมหิดล. 2 เมษายน 2556. หน้า 292-310