คุณภาพชีวิตการทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจหน่วยเก็บกู้และทำลายวัตถุระเบิด (EOD)
dc.contributor.advisor | ฐนันดร์ศักดิ์ บวรนันทกุล | |
dc.contributor.advisor | เสรี วรพงษ์ | |
dc.contributor.author | พิพัฒน์พงษ์ แก้วดี | |
dc.date.accessioned | 2024-01-09T01:06:06Z | |
dc.date.available | 2024-01-09T01:06:06Z | |
dc.date.copyright | 2563 | |
dc.date.created | 2563 | |
dc.date.issued | 2567 | |
dc.description | อาชญาวิทยาและงานยุติธรรม (มหาวิทยาลัยมหิดล 2563) | |
dc.description.abstract | การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตการทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจหน่วยเก็บกู้และทำลายวัตถุระเบิด (EOD) และนำผลจากการศึกษามาใช้เป็นแนวทางและข้อเสนอแนะในการพัฒนาปรับปรุงคุณภาพชีวิตการทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจหน่วยเก็บกู้และทำลายวัตถุระเบิด (EOD) ซึ่งประชากรในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ คือ เจ้าหน้าที่ตำรวจหน่วยเก็บกู้และทำลายวัตถุระเบิด (EOD) ในสังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ทั้งชั้นสัญญาบัตรและชั้นประทวน จำนวน 275 คน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ผลการวิเคราะห์คุณลักษณะส่วนบุคคล กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย คิดเป็นร้อยละ 90.9 มีอายุระหว่าง 41 50 ปี คิดเป็นร้อยละ 28.7 มีสถานภาพสมรส สมรส/อยู่ด้วยกัน คิดเป็นร้อยละ 55.3 มีการศึกษาระดับปริญญาตรี คิดเป็นร้อยละ 55.6 มีรายได้รวมครอบครัว (เฉลี่ยรวมต่อเดือน) มากกว่า 35,001 บาท คิดเป็นร้อยละ 60.7 ชั้นยศประทวน คิดเป็นร้อยละ 80.7 มีระยะเวลาการรับราชการจนถึงปัจจุบันอยู่ระหว่าง 16 20 ปี คิดเป็นร้อยละ 29.1 2. ผลการวิเคราะห์ปัจจัยกระตุ้น ประชากรกลุ่มตัวอย่าง มีความคิดเห็นเกี่ยวกับค่าตอบแทน/ค่าเสี่ยงภัยที่ได้รับว่า มีค่าตอบแทน/ค่าเสี่ยงภัยที่ได้รับ แต่ไม่เหมาะสมกับการปฏิบัติหน้าที่ คิดเป็นร้อยละ 100.0 มีความคิดเห็นว่ากำลังพลยังไม่เพียงพอต่อการปฏิบัติภารกิจของหน่วยงาน คิดเป็นร้อยละ 100.0 ทราบถึงนโยบายบริหารเพราะหน่วยงานเป็นผู้แจ้ง คิดเป็นร้อยละ 77.5 การปฏิบัติงานโดยผ่านสายบังคับบัญชา คิดเป็นร้อยละ 29.1 มีการกำหนดระเบียบปฏิบัติในการทำงานขององค์กรอย่างละเอียดถี่ถ้วน แน่ชัด คิดเป็นร้อยละ 24.4 และกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความคิดเห็นเกี่ยวกับความมั่นคงในงานว่าจะมีโอกาสที่จะก้าวหน้า คิดเป็นร้อยละ 5.3 3. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตการทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจหน่วยเก็บกู้และทำลายวัตถุระเบิด (EOD) ในภาพรวม พบว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจหน่วยเก็บกู้และทำลายวัตถุระเบิด (EOD) มีคุณภาพชีวิตในการทำงานอยู่ในระดับปานกลาง ( x = 3.292, S.D. = 1.135) หากพิจารณารายด้าน พบว่า ความก้าวหน้าในตำแหน่งการงาน ทาให้เจ้าหน้าที่ตำรวจฯ มีคุณภาพชีวิตการทำงานอยู่ในระดับมาก ( x = 3.599, S.D. = 1.1623) และน้อยที่สุดได้แก่ ความสำเร็จของงาน ทำให้เจ้าหน้าที่ตำรวจฯ มีคุณภาพชีวิตในการทำงานอยู่ในระดับปานกลาง (x = 2.976, S.D. = 1.127) | |
dc.description.abstract | The objectives of this study were to study the quality of working life of the EOD police officers and to use the study results as the guidelines to improve the quality of working life of the EOD police officers. A survey was conducted among 275 EOD police officers, commissioned and non commissioned. The results showed that most of the respondents (90.0%) were male. Among them, 28.7% aged between 41 50 years. 55.3% of the respondents reported their marital status as married. 55.6% of the respondents earned a bachelor degree. The percentage of the respondents having total the family income (average per month) more than 35,001 baht (60.7%). The study consisted of 80.7% of the non commissioned officers. 29.1% of the respondents had the length of service up to the present time between 16 20 years. The outcome of this study showed that all respondents (100%) had an opinion that compensation / hazard pay was not suitable for the duties and the personnel status was not adequate to meet the mission needs. The percentage of the respondents acknowledging administrative policies from the agency is 77.5%. It also showed that 29.1% of the respondents agreed to operate following the chain of command. 24.4% of the respondents stated that work procedures were clearly defined. And 35.3% had an opinion about job security that there were career growth opportunities. The results of data analysis on the quality of working life of the EOD police officers showed that, the EOD police officers had a moderate level of work life quality (x = 3.292, S.D. = 1.135). When considering each side, it was found that the career growth opportunities caused a high level of the quality of working life ( X = 3.599, S.D. = 1.1623). The minimum was job success which causes the quality of working life of the EOD police officers at a medium level ( X = 2.976, S.D. = 1.127). For further studies, a comparative study of the quality of working life of the police officers working on similar type of jobs should be conducted in order to bring advantages and disadvantages to further improve the quality of working life. A study of factors other than Walton's criteria of quality of working life is suggested, and also a qualitative study of the factors affecting the quality of working life in order to examine various factors affecting the quality of work life in more details should be conducted. | |
dc.format.extent | ก-ญ, 128 แผ่น : ภาพประกอบ | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.identifier.citation | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (อาชญาวิทยาและงานยุติธรรม))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2563 | |
dc.identifier.uri | https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/92000 | |
dc.language.iso | tha | |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยมหิดล. หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล | |
dc.rights | ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า | |
dc.rights.holder | มหาวิทยาลัยมหิดล | |
dc.subject | คุณภาพชีวิตการทำงาน | |
dc.subject | ตำรวจ -- การจูงใจในการทำงาน | |
dc.title | คุณภาพชีวิตการทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจหน่วยเก็บกู้และทำลายวัตถุระเบิด (EOD) | |
dc.title.alternative | Quality of working life of police officers in explosive ordnance disposal (EOD) | |
dc.type | Master Thesis | |
dcterms.accessRights | open access | |
mods.location.url | http://mulinet11.li.mahidol.ac.th/e-thesis/2562/558/5937172.pdf | |
thesis.degree.department | คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ | |
thesis.degree.discipline | อาชญาวิทยาและงานยุติธรรม | |
thesis.degree.grantor | มหาวิทยาลัยมหิดล | |
thesis.degree.level | ปริญญาโท | |
thesis.degree.name | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |