แคนวงประยุกต์ไทดำ : การต่อรองอัตลักษณ์ชาติพันธ์ผ่านดนตรี
Issued Date
2557
Copyright Date
2557
Resource Type
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
[ก]-ฌ, 172 แผ่น : ภาพประกอบ.
Access Rights
open access
Rights
ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
Rights Holder(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (วัฒนธรรมและการพัฒนา))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2557
Suggested Citation
สุธี จันทร์ศรี แคนวงประยุกต์ไทดำ : การต่อรองอัตลักษณ์ชาติพันธ์ผ่านดนตรี. วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (วัฒนธรรมและการพัฒนา))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2557. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/93437
Title
แคนวงประยุกต์ไทดำ : การต่อรองอัตลักษณ์ชาติพันธ์ผ่านดนตรี
Alternative Title(s)
Tai Dam contemporary Khaen ensemble : theethnic identity negotiation through music
Author(s)
Advisor(s)
Abstract
ปัญหาการการตีตราอัตลักษณ์ชาติพันธุ์ให้เป็นกลุ่มชนชายขอบของสังคมกระแสหลักเป็นสิ่งที่พบ เห็นอยู่บ่อยครั้ง จนทำให้กลุ่มชาติพันธุ์พยายามต่อรองผ่านสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมต่าง ๆ รวมถึงดนตรี เพื่อให้อัตลักษณ์ของตนมีพื้นที่อยู่ในสังคมได้อย่างมีศักดิ์ศรี งานวิจัยชิ้นนี้มุ่งวิเคราะห์และตีความองค์ประกอบทางดนตรีที่ ปรากฏในแคนวงประยุกต์ของชาวไทดำ บ้านหนองปรง อ.เขาย้อย จ.เพชรบุรี โดยมีวัตถุประสงค์ในการวิจัย ได้แก่ 1) ศึกษาการสร้างและต่อรองอัตลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ไทดำในมิติทางประวัติศาสตร์ 2) ศึกษาแคนในฐานะสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมของชาวไทดำ ภายใต้บริบททางสังคมที่เปลี่ยนไปตามยุคสมัยต่าง ๆ และ 3) ศึกษาแคนวง ประยุกต์ในฐานะที่เป็นสัญลักษณ์ในกลไกต่อรองอัตลักษณ์ไทดำ ด้วยมิติทางวัฒนธรรมดนตรีที่ปรากฏในปัจจุบัน ผลการศึกษาพบว่า นับตั้งแต่อดีตชาวไทดำ เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่ถูกนิยามอัตลักษณ์ ผ่านบริบทของ รัฐชาติและวาทกรรมจากสังคมกระแสหลักมาเป็นระยะเวลานาน และแคนเองก็เป็นสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่ ชาวไทดำพยายามใช้ต่อรองเพื่อให้สังคมเห็นถึงความมีตัวตน การมีอัตลักษณ์เฉพาะกลุ่มด้วยวิธีการต่าง ๆ เรื่อยมา จนอยู่ในรูปของแคนวงประยุกต์ที่พบในปัจจุบัน แคนวงประยุกต์ของชาวไทดำเกิดจากการผสมผสาน องค์ประกอบทางดนตรีระหว่างดนตรีพื้นบ้านดั้งเดิมกับดนตรีสมัยใหม่ เพื่อต่อรองกับสังคมกระแสหลักในแง่ของ การสร้างคุณค่าให้วัฒนธรรมแคนของชาวไทดำ มีความทันสมัย มีคุณค่าทัดเทียมกับดนตรีอื่น ๆ ที่เป็นกระแสนิยม แต่อย่างไรก็ตาม แคนวงประยุกต์ก็ยังคงความชัดเจนของท่วงทำนองที่เป็นเครื่องบ่งชี้ถึงอัตลักษณ์ความเป็นไทดำ และเป็นการตอกย้ำ ให้สังคมได้เห็นถึงการมีอยู่ของตัวตน และมีพื้นที่ทางสังคมท่ามกลางกระแสการยอมรับความ หลากหลายทางวัฒนธรรมในสังคมไทยได้อย่างภาคภูมิ
The identity construction problem, which seals marginal people out of the mainstream society, can be easily found in Tai Dam ethnic group. Thus, music is used as their symbolic identity to negotiate for their prestige in the society. This study was proposed to analyze and interpret the musical elements of Tai Dam Contemporary Khaen Emsemble at Ban Nong-Prong, Khao Yoi district in Phetchaburi province. The objectives of this study were to describe 1) identity construction and negotiation of the Tai Dam ethnic group in an historical context, 2) Khaen as the Tai Dam cultural symbol in each period, and 3) Contemporary Khaen Ensemble as the symbol of identity negotiation through the concept of ethnomusicology. The researcher found that Tai Dam identity has been shaped by the power of the national - state and the mainstream society discourse for a long time. The identity construction problem that seals marginal people out of the mainstream society can be easily found in Tai Dam ethnic group, thus, they use music for their symbolic identity to negotiate their prestige in society. Tai Dam Contemporary Khean Ensemble has arisen from the acculturation between traditional music and modernized music. In order to negotiate with the mainstream society, the Tai Dam have modernized their culture's value through the Contemporary Khean Ensemble. However, the traditional rhythm also remains to reflect their identity. Besides that, it has emphasized their existence in the mainstream society and it has been accepted as cultural diversity in society.
The identity construction problem, which seals marginal people out of the mainstream society, can be easily found in Tai Dam ethnic group. Thus, music is used as their symbolic identity to negotiate for their prestige in the society. This study was proposed to analyze and interpret the musical elements of Tai Dam Contemporary Khaen Emsemble at Ban Nong-Prong, Khao Yoi district in Phetchaburi province. The objectives of this study were to describe 1) identity construction and negotiation of the Tai Dam ethnic group in an historical context, 2) Khaen as the Tai Dam cultural symbol in each period, and 3) Contemporary Khaen Ensemble as the symbol of identity negotiation through the concept of ethnomusicology. The researcher found that Tai Dam identity has been shaped by the power of the national - state and the mainstream society discourse for a long time. The identity construction problem that seals marginal people out of the mainstream society can be easily found in Tai Dam ethnic group, thus, they use music for their symbolic identity to negotiate their prestige in society. Tai Dam Contemporary Khean Ensemble has arisen from the acculturation between traditional music and modernized music. In order to negotiate with the mainstream society, the Tai Dam have modernized their culture's value through the Contemporary Khean Ensemble. However, the traditional rhythm also remains to reflect their identity. Besides that, it has emphasized their existence in the mainstream society and it has been accepted as cultural diversity in society.
Description
วัฒนธรรมและการพัฒนา (มหาวิทยาลัยมหิดล 2557)
Degree Name
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Department
สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย
Degree Discipline
วัฒนธรรมและการพัฒนา
Degree Grantor(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล