การพัฒนางานจัดการมูลฝอยโรงพยาบาลปราสาท จังหวัดสุรินทร์
Issued Date
2557
Copyright Date
2557
Resource Type
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
ก-ฌ, 227 แผ่น : ภาพประกอบ
Access Rights
open access
Rights
ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
Rights Holder(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (การบริหารโรงพยาบาล))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2557
Suggested Citation
ดวงรัตน์ ใจโพธิ์ การพัฒนางานจัดการมูลฝอยโรงพยาบาลปราสาท จังหวัดสุรินทร์. วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (การบริหารโรงพยาบาล))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2557. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/92612
Title
การพัฒนางานจัดการมูลฝอยโรงพยาบาลปราสาท จังหวัดสุรินทร์
Alternative Title(s)
Improvement of waste management at Prasat hospital, Surin province
Author(s)
Advisor(s)
Abstract
งานจัดการมูลฝอยโรงพยาบาล ต้องดำเนินการให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยต่อสุขภาพอนามัยและสิ่งแวดล้อม การวิจัยพัฒนาเชิงทดลองแบบสองกลุ่ม วัดผลก่อน-หลังการทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบงานจัดการมูลฝอยให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และเปรียบเทียบผลการดำเนินงาน ระหว่างก่อนกับหลังการนำรูปแบบที่พัฒนาขึ้นไปดำเนินการ ใช้โรงพยาบาลปราสาทเป็นพื้นที่ทดลอง และ โรงพยาบาลรัตนบุรีเป็นพื้นที่ควบคุม ระหว่าง 10 กันยายน 2556 ถึง 20 มกราคม 2557 กลุ่มตัวอย่าง คือ การดำเนินงานจัดการมูลฝอยโรงพยาบาล ในช่วง 1 สัปดาห์ก่อนการทดลอง และในช่วง 1 สัปดาห์หลังการทดลอง ทั้งในพื้นที่ทดลองและพื้นที่ควบคุม รวม 20,776 ครั้ง ผู้ตอบแบบสอบถามรวมทั้งสิ้น 2,102 คน รวม 2,605 ชุด วัดผล การดำเนินงาน 5 ด้าน คือ ปริมาณงาน คุณภาพงาน ความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้อง แรงงานที่ใช้ในการปฏิบัติงาน และด้านเศรษฐศาสตร์ของการดำเนินงาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ ค่าสถิติ Independent t, Mann-Whitney U, Paired t, Wilcoxon Matched-Pairs Signed-Ranks ที่แอลฟ่า 0.05 เครื่องมือที่ใช้ ในการเก็บข้อมูลผลการดำเนินงาน คือ แบบบันทึกข้อมูลพื้นที่วิจัย แบบบันทึกจำนวนผู้มารับบริการโรงพยาบาล แบบบันทึกการเตรียมความพร้อมก่อนเริ่มงานประจำวัน แบบบันทึกการตรวจสอบการแยกทิ้งมูลฝอย แบบบันทึก ปริมาณมูลฝอย สมุดธนาคารมูลฝอยรีไซเคิล แบบบันทึกรายได้จากมูลฝอยรีไซเคิล แบบสอบถามความพึงพอใจ แบบบันทึกเหตุการณ์ที่มีผลต่อการพัฒนารูปแบบและการนำรูปแบบที่พัฒนาขึ้นไปดำเนินการ ผลการวิจัย พบว่า รูปแบบงานจัดการมูลฝอยที่พัฒนาขึ้น ใช้หลักวิชาการด้านการบริหาร มาตรฐาน งานมูลฝอย ทฤษฎีพฤติกรรมของ Fogg's behavior model พ.ร.บ.และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง มีโครงสร้างและ ระบบงาน เป็นลายลักษณ์อักษร มีคู่มือแนวทางวิธีปฏิบัติงานที่ชัดเจน หลังการทดลอง พบว่าความถูกต้องของการคัดแยกมูลฝอยเพิ่มขึ้นทั้งมูลฝอยรีไซเคิล (p<0.001) มูลฝอยอินทรีย์ (p<0.001) และมูลฝอยทั่วไป (p<0.008) อัตราการเกิดมูลฝอยทั่วไปลดลง (p=0.014) มูลฝอยที่สามารถทำประโยชน์ได้เพิ่มขึ้น ความพึงพอใจเพิ่มขึ้น ทั้ง ผู้บริหาร (p<0.001) เจ้าหน้าที่โรงพยาบาล (p<0.001) และผู้ปฏิบัติงานมูลฝอย (p<0.008) แต่ของผู้ป่วยใน ลดลง (p= 0.037) เสนอแนะให้ดำเนินการวิจัยต่อไป จนสามารถเป็น "ตัวแบบ" งานจัดการมูลฝอยโรงพยาบาลแบบบูรณาการสู่ชุมชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งมูลฝอยอันตราย
This experimental development research, two groups, experiment-control pre-test and post-test design aimed to develop a new working model for hospital waste management and to compare the outputs between before and after model implementation. The new model was developed and implemented during the period from August 10, 2013 to January 20, 2014 at Prasat Hospital. The control location was Rattanaburi Hospital. The samples consisted of 20,776 collections of waste that was acquired within a 1 week period of the pre-test and 1 week of post-test. Data were collected from 2,102 persons for analysis, A total of 2,605 questionnaires were distributed to patients and hospital staff. Comparison of the outputs between pre-test and post-test using Descriptive statistics, Independent t, Mann-Whitney U, Paired t, Wilcoxon Matched-Pairs Signed-Ranks at alpha 0.05 were applied. The study found that the new model of hospital waste management was more efficiency. It composes of management principles, waste management standards and principles, a Fogg's behavior model theory, and enquires concerning legal aspects. The structures and systems are documented clearly with an obvious practical manual guideline. After model implementation, the accuracy of waste separation was increased in recycling waste (p<0.001), organic waste (p<0.001), and general waste (p<0.008). General waste decreased (p=0.014), while hospital income revenues increased. The satisfaction increased amongst managers (p<0.001), hospital staffs (p<0.001), providers (p<0.008) but decreased (p=0.037) with customers in IPD. A continuation of this research in an effort to establish it as a prototype for comprehensive integration of hospital waste management into community is recommended, especially regarding hazardous waste.
This experimental development research, two groups, experiment-control pre-test and post-test design aimed to develop a new working model for hospital waste management and to compare the outputs between before and after model implementation. The new model was developed and implemented during the period from August 10, 2013 to January 20, 2014 at Prasat Hospital. The control location was Rattanaburi Hospital. The samples consisted of 20,776 collections of waste that was acquired within a 1 week period of the pre-test and 1 week of post-test. Data were collected from 2,102 persons for analysis, A total of 2,605 questionnaires were distributed to patients and hospital staff. Comparison of the outputs between pre-test and post-test using Descriptive statistics, Independent t, Mann-Whitney U, Paired t, Wilcoxon Matched-Pairs Signed-Ranks at alpha 0.05 were applied. The study found that the new model of hospital waste management was more efficiency. It composes of management principles, waste management standards and principles, a Fogg's behavior model theory, and enquires concerning legal aspects. The structures and systems are documented clearly with an obvious practical manual guideline. After model implementation, the accuracy of waste separation was increased in recycling waste (p<0.001), organic waste (p<0.001), and general waste (p<0.008). General waste decreased (p=0.014), while hospital income revenues increased. The satisfaction increased amongst managers (p<0.001), hospital staffs (p<0.001), providers (p<0.008) but decreased (p=0.037) with customers in IPD. A continuation of this research in an effort to establish it as a prototype for comprehensive integration of hospital waste management into community is recommended, especially regarding hazardous waste.
Description
การบริหารโรงพยาบาล (มหาวิทยาลัยมหิดล 2557)
Degree Name
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Department
คณะสาธารณสุขศาสตร์
Degree Discipline
การบริหารโรงพยาบาล
Degree Grantor(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล