การพัฒนาทางเลือกเชิงนโยบายเพื่อลดวิถีเนือยนิ่งของประชากรวัยทำงาน
Issued Date
2567
Copyright Date
2563
Resource Type
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
ก-ญ, 189 แผ่น : ภาพประกอบ
Access Rights
open access
Rights
ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
Rights Holder(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (วิจัยประชากรและสังคม))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2563
Suggested Citation
จริยา ศรีกลัด การพัฒนาทางเลือกเชิงนโยบายเพื่อลดวิถีเนือยนิ่งของประชากรวัยทำงาน . วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (วิจัยประชากรและสังคม))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2563 . สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/91994
Title
การพัฒนาทางเลือกเชิงนโยบายเพื่อลดวิถีเนือยนิ่งของประชากรวัยทำงาน
Alternative Title(s)
Development of policy options to reduce sedentary lifestyle of working-age population
Author(s)
Advisor(s)
Abstract
การศึกษาครั้งนี้ ผู้วิจัยทำการศึกษาวิถีชีวิตของประชากรวัยทำงานที่มีพฤติกรรมเนือยนิ่งสูง และมีกิจกรรมทางกายไม่เพียงพอ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์ คุณลักษณะทางประชากรและสังคม ที่สะท้อนภาพของกลุ่มผู้ที่มีพฤติกรรมเนือยนิ่ง และวิเคราะห์หาสาเหตุที่เป็นตัวกำหนด สนับสนุน และเป็นอุปสรรคในการมีวิถีชีวิตที่กระฉับกระเฉงของกลุ่มประชากรวัยทำงานแต่ละกลุ่ม เพื่อนำมาพัฒนาและเสนอทางเลือกเชิงนโยบายเพื่อปรับลดวิถีเนือยนิ่งและส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในกลุ่มประชากรวัยทำงาน ที่มีความ เหมาะสมกับบริบทและเงื่อนไขของกลุ่มบุคคลนั้นๆ ในการวิจัยครั้งนี้จะใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสม (Mixed Methods) โดยกลุ่มเป้าหมายในการศึกษาคือ ประชากรวัยทำงานอายุ 25-59 ปี ใน 5 กลุ่ม ได้แก่ ผู้ว่างงาน ผู้ที่ประกอบธุรกิจส่วนตัว ข้าราชการ พนักงานออฟฟิศ พนักงานโรงงาน โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-stages Random Sampling) เพื่อให้ได้มาซึ่งกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเชิงปริมาณจำนวน 586 คน และการสัมภาษณ์ข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพจำนวน 15 คน การจากศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างประชากรวัยทำงาน มีพฤติกรรมเนือยนิ่งเฉลี่ยสูงถึง 12 ชั่วโมงต่อวัน (696 นาทีต่อวัน) โดยพฤติกรรมเนือยนิ่งที่เกิดขึ้นมีสาเหตุจากลักษณะงานที่ทำ ให้ได้เคลื่อนไหวน้อย และการมี พฤติกรรมหน้าจอสะสมเป็นระยะเวลานาน เพื่อความผ่อนคลาย ความบันเทิง และคลายเครียด ซึ่งผู้ที่มีพฤติกรรมเนือยนิ่งสูง และมีกิจกรรมทางกายไม่เพียงพอ กว่าร้อยละ 57.4 มีการตระหนักถึงผลเสียต่อสุขภาพของพฤติกรรมเนือยนิ่ง แต่ยังไม่เคยพยายามปรับเปลี่ยนพฤติกรรมมาก่อน หรือเคยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมมาแล้ว แต่ยังไม่ประสบผลสำเร็จ จากการวิจัยครั้งนี้ ยังได้ข้อเสนอแนะนำที่จะนำ พัฒนา และเป็นเสนอทางเลือกเชิงนโยบายทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ 1. การควบคุมกฎหมายแรงงานให้เข้มงวดมากขึ้น ในเรื่องระยะเวลาการทำงาน และลักษณะของงานที่ต้องคำนึงถึงสุขภาพของพนักงานเป็นหลัก 2.การจัดทำทางเลือกเชิงนโยบายที่กระตุ้นให้ประชากรสามารถเข้าร่วมโครงการ โดยสร้างแรงจูงใจจากการมอบรางวัล เงิน สิ่งของ หรือสิทธิพิเศษต่างๆ 3. การสร้างพื้นที่สุขภาวะที่ตรงตามความต้องการของประชาชนและมีความเหมาะสมในด้านบริบทของชุมชนเช่นกัน โดยผู้วิจัยคาดหวังอย่างยิ่ง ให้เกิดชุดทางเลือกเชิงนโยบายที่สามารถนำไปใช้ประกอบการตัดสินใจ การขับเคลื่อนนโยบายและกิจกรรมด้านการลดวิถีชีวิตแบบเนือยนิ่งในกลุ่มประชากรวัยทำงาน และสนับสนุนยุทธศาสตร์การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างสร้างสรรค์ รวมทั้งเกิดองค์ความรู้ใหม่ที่สามารถใช้เป็นต้นแบบเพื่อการขยายผลในบริบทอื่นๆ
This study focused on sedentary lifestyle and insufficient physical activity of working age population. It aimed to analyze situational, demographic, and social characteristics relating to sedentary lifestyle. In addition, it finds out determining, supporting, and deterring factors associating with active lifestyle. The ultimate goal of this study was to propose some policy options for decreasing sedentary lifestyle, at the same time encouraging sufficient physical activity of working age population. Also the options proposed fit with their context and condition. The mixed methods were used in this study. The population is working age of 25-59 year-old in 5 categories including unemployed people, business owners, civil servants, white, and blue collar workers. The multi-stages random sampling was applied to get samples of 586. Other 15 samples were interviewed for qualitative approach. The results showed that the samples have sedentary lifestyle on average of 12 hours/day (696 minutes/day), as a result of static nature of their work and long screen time for their relaxing period. Nearly 57.4 % of highly sedentary lifestyle and insufficient physical activity realized unhealthy consequence of sedentary lifestyle. However, they neither attempted to adjust their lifestyle, nor succeeded to do it. These results suggest 3 policy options including 1) enforcing the employment law by optimizing the duration of working hour and primarily focusing on employee's health, 2) a program encouraging working age population to participate in by offering them rewards such as cash, in-kind, or benefit, and 3) building healthy space that meets people's needs and fits with a certain community. It is hoped that these options are useful in creating campaign aiming at decreasing sedentary lifestyle of working age population, supporting creative human development strategy, and being a model that is eligible for other contexts.
This study focused on sedentary lifestyle and insufficient physical activity of working age population. It aimed to analyze situational, demographic, and social characteristics relating to sedentary lifestyle. In addition, it finds out determining, supporting, and deterring factors associating with active lifestyle. The ultimate goal of this study was to propose some policy options for decreasing sedentary lifestyle, at the same time encouraging sufficient physical activity of working age population. Also the options proposed fit with their context and condition. The mixed methods were used in this study. The population is working age of 25-59 year-old in 5 categories including unemployed people, business owners, civil servants, white, and blue collar workers. The multi-stages random sampling was applied to get samples of 586. Other 15 samples were interviewed for qualitative approach. The results showed that the samples have sedentary lifestyle on average of 12 hours/day (696 minutes/day), as a result of static nature of their work and long screen time for their relaxing period. Nearly 57.4 % of highly sedentary lifestyle and insufficient physical activity realized unhealthy consequence of sedentary lifestyle. However, they neither attempted to adjust their lifestyle, nor succeeded to do it. These results suggest 3 policy options including 1) enforcing the employment law by optimizing the duration of working hour and primarily focusing on employee's health, 2) a program encouraging working age population to participate in by offering them rewards such as cash, in-kind, or benefit, and 3) building healthy space that meets people's needs and fits with a certain community. It is hoped that these options are useful in creating campaign aiming at decreasing sedentary lifestyle of working age population, supporting creative human development strategy, and being a model that is eligible for other contexts.
Description
วิจัยประชากรและสังคม (มหาวิทยาลัยมหิดล 2563)
Degree Name
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Department
สถาบันวิจัยประชากรและสังคม
Degree Discipline
วิจัยประชากรและสังคม
Degree Grantor(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล