ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยพื้นฐานบางประการ ความรุนแรงของอาการพฤติกรรมการดูแลตนเองแบบประคับประคอง กับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุโรคมะเร็งระยะลุกลามที่ได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด
Issued Date
2567
Copyright Date
2560
Resource Type
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
ก-ญ, 167 แผ่น : ภาพประกอบ
Access Rights
open access
Rights
ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
Rights Holder(s)
มหาวิทยาลัยมหิลด
Bibliographic Citation
วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การพยาบาลผู้สูงอายุ))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2560
Suggested Citation
ชุติมา จันทร์สมคอย
ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยพื้นฐานบางประการ ความรุนแรงของอาการพฤติกรรมการดูแลตนเองแบบประคับประคอง กับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุโรคมะเร็งระยะลุกลามที่ได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด
. วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การพยาบาลผู้สูงอายุ))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2560
. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/91837
Title
ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยพื้นฐานบางประการ ความรุนแรงของอาการพฤติกรรมการดูแลตนเองแบบประคับประคอง กับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุโรคมะเร็งระยะลุกลามที่ได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด
Alternative Title(s)
Relationships between basic conditioning factors, symptom severity, palliative self-care behaviors and quality of life in older adults with advanced cancer receiving chemotherapy
Author(s)
Advisor(s)
Abstract
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาวิเคราะห์ความสัมพันธ์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยพื้นฐานบางประการ ความรุนแรงของอาการ พฤติกรรมการดูแลตนเองแบบประคับประคอง คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุโรคมะเร็งระยะลุกลามที่ได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด โดยใช้ทฤษฎีแชร์ (Shared Theory) เป็นกรอบแนวคิดการวิจัย กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าเป็นโรคมะเร็งระยะลุกลาม ได้รับการ รักษาด้วยยาเคมีบำบัด และได้รับการดูแลแบบประคับประคอง มีอายุตังแต่ 60 ปี ขึ้นไป จำนวน 111 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยพื้นฐานบางประการ แบบประเมินความรุนแรงของอาการ แบบประเมินพฤติกรรมการดูแลตนเองแบบประคับประคอง และแบบประเมินคุณภาพชีวิต วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ Chi-square, Eta และสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์สเปียร์แมน ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยพื้นฐานบางประการของกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชายร้อยละ 55.00 จบการศึกษาระดับประถมศึกษา ร้อยละ 35.10 มีรายได้เพียงพอบรายยเหลือบ ร้อยละ 58.60 ความรุนแรงของอาการอยู่ในระดับปานกลาง (Mean=5.01, SD=0.76) พฤติกรรมการดูแลตนเองแบบประคับประคองอยู่ในระดับปานกลาง (Mean=38.33, SD=4.68) และมีคุณภาพชีวิตอยู่ในระดับปานกลาง (Mean=5.09, SD=1.78) วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่ศึกษา ปัจจัยพื้นฐานบางประการ ได้แก่ เพศ และระดับ การศึกษาไม่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิต ขณะที่ความเพียงพอของรายได้มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ความรุนแรงของอาการมีความสัมพันธ์ทางลบกับคุณภาพชีวิต และพฤติกรรมการดูแลตนเองแบบประคับประคอง มีความสัมพันธ์ทางบวกกับคุณภาพชีวิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=-.632, r=.763, p<.01 ตามลำดับ) ผลการศึกษาครั้งนี้พบว่า คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยอยู่ในระดับปานกลาง ดังนั้นพยาบาลควรมีการประเมินความเพียงพอของรายได้ ความรุนแรงของอาการ และพฤติกรรมการดูแลตนเอง เพื่อวางแผนในการช่วยเหลือ ผู้สูงอายุโรคมะเร็งระยะลุกลามที่ได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดให้มีคุณภาพชีวิตดีขึ้น
This descriptive research aimed at investigating the relationship between basic conditioning factors, symptom severity, and palliative self-care behaviors and quality of life of older adults with advanced cancer receiving chemotherapy. The shared theory was employed as the conceptual framework of the study. The study sample consisted of 111 older adults aged 60 years old and older who had been diagnosed with advanced cancer, and who received chemotherapy and palliative care. Data were collected by means of questionnaires, and Chi-square test, Eta test, and Pearson's product moment correlation coefficient were used to analyze the data. The study findings revealed that 55% of the subjects were male 35.10% completed elementary education, and 58.6% had sufficient income with no savings. In addition, symptom severity, palliative self-care behaviors and quality of life were at a moderate level (Mean = 5.01, SD = 0.76 Mean = 38.33, SD = 4.68 Mean = 5.09, SD = 1.78, respectively). It was found that gender and educational background were not related to quality of life, while sufficiency of income was associated with quality of life with statistical significance at .05. Moreover, symptom severity was negatively related to quality of life and palliative self-care behaviors were positively related to quality of life, with statistical significance (r = -.632, r = .763, p < 0.01, respectively). The study findings revealed that quality of life of older adults with advanced cancer receiving chemotherapy was at a moderate level. Therefore, nurses should assess sufficiency of income, symptom severity, and self-care behaviors of patients so as to more effectively devise a plan to assist older patients with advanced cancer receiving chemotherapy to ensure their quality of life
This descriptive research aimed at investigating the relationship between basic conditioning factors, symptom severity, and palliative self-care behaviors and quality of life of older adults with advanced cancer receiving chemotherapy. The shared theory was employed as the conceptual framework of the study. The study sample consisted of 111 older adults aged 60 years old and older who had been diagnosed with advanced cancer, and who received chemotherapy and palliative care. Data were collected by means of questionnaires, and Chi-square test, Eta test, and Pearson's product moment correlation coefficient were used to analyze the data. The study findings revealed that 55% of the subjects were male 35.10% completed elementary education, and 58.6% had sufficient income with no savings. In addition, symptom severity, palliative self-care behaviors and quality of life were at a moderate level (Mean = 5.01, SD = 0.76 Mean = 38.33, SD = 4.68 Mean = 5.09, SD = 1.78, respectively). It was found that gender and educational background were not related to quality of life, while sufficiency of income was associated with quality of life with statistical significance at .05. Moreover, symptom severity was negatively related to quality of life and palliative self-care behaviors were positively related to quality of life, with statistical significance (r = -.632, r = .763, p < 0.01, respectively). The study findings revealed that quality of life of older adults with advanced cancer receiving chemotherapy was at a moderate level. Therefore, nurses should assess sufficiency of income, symptom severity, and self-care behaviors of patients so as to more effectively devise a plan to assist older patients with advanced cancer receiving chemotherapy to ensure their quality of life
Description
การพยาบาลผู้สูงอายุ (มหาวิทยาลัยมหิดล 2560)
Degree Name
พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Department
คณะพยาบาลศาสตร์
Degree Discipline
การพยาบาลผู้สูงอายุ
Degree Grantor(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล