ผลของโปรแกรมการควบคุมน้ำหนักต่อพฤติกรรมการบริโภคและพฤติกรรมการทำกิจกรรมทางกายของเด็กวัยเรียนที่มีภาวะโภชนาการเกิน
Issued Date
2567
Copyright Date
2559
Resource Type
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
ก-ญ, 167 แผ่น : ภาพประกอบ
Access Rights
open access
Rights
ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
Rights Holder(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การพยาบาลเด็ก))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2559
Suggested Citation
ธัญลักษณ์วดี ก้อนทองถม
ผลของโปรแกรมการควบคุมน้ำหนักต่อพฤติกรรมการบริโภคและพฤติกรรมการทำกิจกรรมทางกายของเด็กวัยเรียนที่มีภาวะโภชนาการเกิน
. วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การพยาบาลเด็ก))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2559
. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/91819
Title
ผลของโปรแกรมการควบคุมน้ำหนักต่อพฤติกรรมการบริโภคและพฤติกรรมการทำกิจกรรมทางกายของเด็กวัยเรียนที่มีภาวะโภชนาการเกิน
Alternative Title(s)
The effect of weight control program for diet and physical activity behaviors of school-aged children with overweight
Author(s)
Advisor(s)
Abstract
การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการควบคุมน้ำหนักต่อพฤติกรรมการบริโภคและพฤติกรรมการทำกิจกรรมทางกายของเด็กวัยเรียนที่มีภาวะโภชนาการเกิน โดยใช้กรอบแนวคิดวงจรการเรียนรู้จากประสบการณ์ของ Kolb (1984) และแรงสนับสนุนทางสังคมของ House (1985) กลุ่มตัวอย่างคือ เด็กวัยเรียนจำนวน 60 คน ที่มีภาวะโภชนาการเกินและศึกษาชั้นประถมศึกษาปี ที่ 4 จาก 2 โรงเรียน กำหนดให้โรงเรียนหนึ่งเป็นกลุ่มทดลองและอีกโรงเรียนเป็นกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 30 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการควบคุมน้ำหนัก จำนวน 4 ครั้ง ในระยะเวลา 6 สัปดาห์ ประกอบด้วยประสบการณ์เชิงรูปธรรม การให้ความรู้ จากการประเมินภาวะโภชนาการด้วยตนเอง การบันทึกพฤติกรรมการบริโภคและการทำกิจกรรมทางกาย การอภิปรายและสะท้อนความคิด การสรุปแนวทางการควบคุมน้ำหนักและการปฏิบัติจริง ร่วมกับการให้แรงสนับสนุนทางสังคมจากเพื่อน ผู้ปกครอง และครู และผู้วิจัยโทรศัพท์ติดตามผลกับผู้ปกครอง 2 ครั้ง กลุ่มควบคุมได้รับกิจกรรมตามปกติ ประเมินผลด้วยแบบสอบถามพฤติกรรมการบริโภคอาหารและพฤติกรรมการทำกิจกรรมทางกาย วิเคราะห์ความแตกต่างของค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการทำกิจกรรมทางกายระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมด้วยสถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วม (ANCOVA) ผลการทดลองพบว่า คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการบริโภคอาหารและพฤติกรรมการทำกิจกรรมทางกายระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมไม่แตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 แต่พบว่าเด็กวัยเรียนกลุ่มทดลองมีพฤติกรรมการทำกิจกรรมทางกายสูงกว่าก่อนการทดลอง (d = 3.70, SD =1.36) และมีการเปลี่ยนแปลงภาวะโภชนาการในระดับอ้วนลดลงจากร้อยละ 46.70 เป็นร้อยละ 30 ในการจัดโปรแกรมการควบคุมน้ำหนักครั้งต่อไปควรมีระยะเวลานานกว่า 6 สัปดาห์ ควรส่งเสริมให้ครอบครัวและโรงเรียนมีส่วนร่วมในการวางแผนการจัดกิจกรรมสำหรับเด็ก และจัดให้ผู้ปกครองมีกิจกรรมเรียนรู้เกี่ยวกับการควบคุมน้ำหนักร่วมกับเด็กวัยเรียน
The purpose of this quasi experimental research was to study the effect of weight control program for diet and physical activity behaviors of school-aged children with overweight using Kolb's Experiential Learning Theory (1984) and Social Support (House, 1981) as the conceptual framework. The sample consisted 60 overweight children studying at Grade 4 from 2 elementary schools. The sample was divided into experimental and control groups with 30 in each school. The 6-week and 4-times program consisted of learning through experiences with education program, self-evaluation of nutritional status, self-monitoring of diet and physical activity behavior, reflection with the sample, development of the guideline for weight control, active experimentation with social support from friends, parents and teachers, and telephone follow-up with parents 2 times by the researcher. The control group received usual activities. Data were collected using the diet and physical activity behaviors questionnaire, and computed with Analysis of Covariance (ANCOVA). The findings revealed that the mean scores of diet and physical activity behavior between the experimental and control groups were not statistical significance difference at .05 level. However, after the intervention, children in the experimental group had the higher score of physical activity behavior than before the intervention (d = 3.70, SD =1.36), and the percentage of obesity children had been decreased from 46.70 to 30. It was recommended that the weight control programs should be longer than 6 weeks and should involve parents and teachers to design activities for overweight children. Parents and overweight children should have learning experience for weight control together.
The purpose of this quasi experimental research was to study the effect of weight control program for diet and physical activity behaviors of school-aged children with overweight using Kolb's Experiential Learning Theory (1984) and Social Support (House, 1981) as the conceptual framework. The sample consisted 60 overweight children studying at Grade 4 from 2 elementary schools. The sample was divided into experimental and control groups with 30 in each school. The 6-week and 4-times program consisted of learning through experiences with education program, self-evaluation of nutritional status, self-monitoring of diet and physical activity behavior, reflection with the sample, development of the guideline for weight control, active experimentation with social support from friends, parents and teachers, and telephone follow-up with parents 2 times by the researcher. The control group received usual activities. Data were collected using the diet and physical activity behaviors questionnaire, and computed with Analysis of Covariance (ANCOVA). The findings revealed that the mean scores of diet and physical activity behavior between the experimental and control groups were not statistical significance difference at .05 level. However, after the intervention, children in the experimental group had the higher score of physical activity behavior than before the intervention (d = 3.70, SD =1.36), and the percentage of obesity children had been decreased from 46.70 to 30. It was recommended that the weight control programs should be longer than 6 weeks and should involve parents and teachers to design activities for overweight children. Parents and overweight children should have learning experience for weight control together.
Description
การพยาบาลเด็ก (มหาวิทยาลัยมหิดล 2559)
Degree Name
พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Department
คณะพยาบาลศาสตร์
Degree Discipline
การพยาบาลเด็ก
Degree Grantor(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล