มิติทางวัฒนธรรมและสมรรถนะทางวัฒนธรรมที่ส่งผลต่อการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรมของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ : กรณีศึกษาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม

dc.contributor.advisorนันทิยา ดวงภุมเมศ
dc.contributor.advisorสิรินทร พิบูลภานุวัธน์
dc.contributor.authorสุชาวดี พรหมผ่องแผ้ว
dc.date.accessioned2024-07-09T02:07:27Z
dc.date.available2024-07-09T02:07:27Z
dc.date.copyright2563
dc.date.created2563
dc.date.issued2567
dc.descriptionภาษาและการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม (มหาวิทยาลัยมหิดล 2563)
dc.description.abstractงานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามิติทางวัฒนธรรมและสมรรถนะทางวัฒนธรรมที่ส่งผลต่อวิธีการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรมของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ รูปแบบกรณีศึกษา มุ่งศึกษาเฉพาะนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่มีประสบการณ์ในการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่ประเทศไทยและมีปฏิสัมพันธ์กับคนไทยในรูปแบบเผชิญหน้าโดยตรง ซึ่งเป็นการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง ด้วยวิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างตามวัตถุประสงค์และวิธีการบอกต่อจากคนรู้จัก โดยใช้การสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 16 คน แบ่งเป็นนักท่องเที่ยวชาวตะวันตกจำนวน 8 คน และนักท่องเที่ยวชาวตะวันออกจำนวน 8 คน ผลจากการศึกษาด้านมิติทางวัฒนธรรม พบว่า นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่มีลักษณะทางวัฒนธรรมประจำชาติที่แตกต่างกันทั้ง 6 มิติ ได้แก่ มิติที่ 1 ระยะห่างเชิงอำนาจมากหรือน้อย มิติที่ 2 เน้นความเป็นปัจเจกบุคคลหรือเน้นความเป็นกลุ่ม มิติที่ 3 เน้นลักษณะความเป็นชายหรือเน้นลักษณะความเป็นหญิง มิติที่ 4 การหลีกเลี่ยงความไม่แน่นอนสูงหรือต่ำมิติที่ 5 การให้ความสำคัญกับระยะยาวหรือระยะสั้น และมิติที่ 6 การทำตามใจตัวหรือการอยู่ในกรอบของสังคม มีวิธีการปรับรูปแบบการสื่อสารในระหว่างการมีปฏิสัมพันธ์กับคนไทย 2 รูปแบบ คือ 1) การลอกเลียนแบบพฤติกรรมของคู่สื่อสาร พบว่า ได้รับอิทธิพลจากความรู้ทางภาษาไทยและความต้องการลดระยะห่างทางสังคมของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติกับคู่สื่อสารชาวไทย เป็นผลให้นักท่องเที่ยวที่มีลักษณะทางวัฒนธรรมประจำชาติต่างกัน มีวิธีการปรับรูปแบบการสื่อสารในลักษณะเดียวกัน 2) การทำตรงข้ามกับพฤติกรรมของคู่สื่อสาร พบว่า ได้รับอิทธิพลจากอุปสรรคทางด้านภาษา และความต้องการเน้นย้ำอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ เพื่อรักษาระยะห่างทางสังคมกับคู่สื่อสารชาวไทย เป็นผลให้นักท่องเที่ยวที่มีลักษณะทางวัฒนธรรมประจำชาติต่างกัน มีวิธีการปรับรูปแบบการสื่อสารในลักษณะเดียวกัน ผลการศึกษาด้านสมรรถนะทางวัฒนธรรม พบว่า ความรู้ ทัศนคติระหว่างวัฒนธรรม และทักษะการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม เป็นองค์ประกอบสำคัญ 3 ด้าน ที่เป็นปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อการปรับรูปแบบการสื่อสารของนักท่องเที่ยวในลักษณะลอกเลียนแบบพฤติกรรมของคู่สื่อสารชาวไทย ซึ่งจะขาดด้านใดด้านหนึ่งไม่ได้ ทั้งนี้ แม้ว่านักท่องเที่ยวชาวต่างชาติจะมีความรู้ทางวัฒนธรรม ทศั นคติระหว่างวัฒนธรรมเชิงบวก แต่หากขาดความรู้ความเขา้ ใจภาษาไทย จะส่งผลให้นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติต้องปรับรูปแบบการสื่อสารในลักษณะการทำตรงข้ามกับพฤติกรรมของคู่สื่อสารชาวไทย
dc.description.abstractThe objective of this research was to investigate the cultural dimensions and cultural competence affecting intercultural communication of foreign tourists in the context of Thai cultural tourism. It employed a qualitative research approach, using a case study design and semi-structured interviews to collect data from 16 foreign tourists who had experiences in cultural tourism in Thailand and face-to-face interactions with Thai people. The purposive sampling technique using purposeful sampling and snowball sampling methods, was employed to select 8 Western tourists and 8 Eastern tourists. The findings on the cultural dimensions indicate that the foreign tourists who possessed different cultural characteristics in 6 dimensions (Large/Small Power Distance, Individualism/Collectivism, Masculinity/Femininity, High/Low Uncertainty Avoidance, Long/Short Term Orientation, Indulgence/Restraint) employed two strategies of communication accommodation in the course of interactions with Thai people. The "convergence" strategy adopted by both Western and Eastern tourists, was influenced by the tourists' knowledge of Thai language and their desire to reduce social distance between themselves and Thai conversation partners. The "divergence" strategy was caused by language barriers and the tourists' desire to keep a distance from their Thai interlocutors through their emphasis on the distinction of cultural identities. This latter strategy was also adopted by all the tourists regardless their differences in cultural backgrounds. The findings on the aspect of cultural competence show that knowledge, intercultural attitudes, and skills of interaction of the foreign tourists were significant and indispensable elements of the convergence strategy of communication accommodation. Importantly, even though they had knowledge of Thai culture and positive intercultural attitudes, lack of Thai language skills would compel them to use the divergence communication strategy with Thais.
dc.format.extentก-ฌ, 234 แผ่น : ภาพประกอบ
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.identifier.citationสารนิพนธ์ (ศศ.ม. (ภาษาและการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2563
dc.identifier.urihttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/99542
dc.language.isotha
dc.publisherมหาวิทยาลัยมหิดล. หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล
dc.rightsผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
dc.rights.holderมหาวิทยาลัยมหิดล
dc.subjectการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
dc.subjectการสื่อสาร -- แง่วัฒนธรรม
dc.subjectนักท่องเที่ยว -- ทัศนคติ
dc.titleมิติทางวัฒนธรรมและสมรรถนะทางวัฒนธรรมที่ส่งผลต่อการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรมของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ : กรณีศึกษาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
dc.title.alternativeThe cultural dimensions and cultural competence affecting the intercultural communication of the foreign tourists : a case study of cultural tourism
dc.typeMaster Thesis
dcterms.accessRightsopen access
mods.location.urlhttp://mulinet11.li.mahidol.ac.th/e-thesis/2563/564/6136045.pdf
thesis.degree.departmentสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย
thesis.degree.disciplineภาษาและการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม
thesis.degree.grantorมหาวิทยาลัยมหิดล
thesis.degree.levelปริญญาโท
thesis.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

Files