พฤติกรรมการดื่มและแนวโน้มการละเมิดกฎหมาย/วินัยอันเกี่ยวข้องกับการดื่มสุราของข้าราชการตำรวจในกรุงเทพมหานคร
Issued Date
2556
Copyright Date
2556
Resource Type
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
ก-ญ, 165 แผ่น
Access Rights
open access
Rights
ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
Rights Holder(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (สังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2556
Suggested Citation
ศรินญา เพ็งสุก พฤติกรรมการดื่มและแนวโน้มการละเมิดกฎหมาย/วินัยอันเกี่ยวข้องกับการดื่มสุราของข้าราชการตำรวจในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (สังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2556. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/93550
Title
พฤติกรรมการดื่มและแนวโน้มการละเมิดกฎหมาย/วินัยอันเกี่ยวข้องกับการดื่มสุราของข้าราชการตำรวจในกรุงเทพมหานคร
Alternative Title(s)
Drinking behavior and tendency of disobedience to the laws/disciplines concerning alcohol consumption among policemen in Bangkok
Author(s)
Advisor(s)
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาพฤติกรรมการดื่มสุราและแนวโน้มการละเมิดกฎหมาย/วินัยอัน เกี่ยวข้องกับการดื่มสุรา มีวิธีการศึกษาเป็นการสำรวจเชิงปริมาณ (survey quantitative research) ในกลุ่มข้าราชการ ตำรวจนครบาล โดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอนและตามสัดส่วนขนาดประชากร สำหรับการเก็บข้อมูลได้ใช้ แบบสอบถามให้ตำรวจตัวอย่างเขียนตอบเอง ได้แบบสอบถามที่สมบูรณ์สำหรับการวิเคราะห์ 417 ฉบับ การวิจัยครั้งนี้พบว่ากลุ่มตัวอย่างเกือบครึ่งหนึ่งปัจจุบันมีพฤติกรรมการดื่มสุราอยู่เป็นประจำ และเกือบ หนึ่งในสามดื่มเฉพาะโอกาสพิเศษเท่านั้น กลุ่มตัวอย่างยอมรับว่าได้เริ่มลองดื่มสุราเป็นครั้งแรกเมื่ออายุเฉลี่ยประมาณ 19 ปี สามเหตุผลหลักที่ทำให้ดื่มสุราเป็นครั้งแรก คือ เพื่อการเข้าสังคม/การสังสรรค์, อยากทดลองดื่ม และตามอย่าง เพื่อน/เพื่อนชวนดื่ม และเหตุผลที่ทำให้ดื่มสุราในปัจจุบันพบว่าเกือบร้อยละ 90 ดื่มเพื่อการเข้าสังคม/การสังสรรค์ สำหรับเครื่องดื่มที่นิยมมากที่สุดคือ เบียร์และสุราสียี่ห้อต่างประเทศ สถานที่ที่นิยมไปดื่มคือร้านอาหาร/ภัตตาคาร พบ เพียงร้อยละ 5.7 เท่านั้นที่ดื่มในที่ทำงาน ส่วนมากกลุ่มตัวอย่างดื่มในช่วงเย็นและชอบร่วมวงกับเพื่อนที่ทำงานเดียวกัน จากการประเมินภาวะการติดแอลกอฮอล์พบว่ากลุ่มตัวอย่างร้อยละ 37.6 จัดอยู่ในกลุ่มที่ระดับการดื่มมีความเสี่ยงสูง สำหรับแนวโน้มการละเมิดฯ พบว่ากลุ่มตัวอย่างร้อยละ 53.7 มีแนวโน้มการละเมิดฯ ระดับปานกลาง และพบ ความสัมพันธ์ระหว่างแนวโน้มการละเมิดฯ กับระดับการดื่มสุรา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (χ2 = 10.146, P = .038) จากข้อค้นพบชักนำให้เห็นว่าพฤติกรรมการดื่มของตำรวจไทยอาจเป็นข้อจำกัดหนึ่งของการบังคับใช้ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการดื่มสุรา เหตุนี้เองจึงควรมีโครงการเพื่อแก้ปัญหาการดื่มของตำรวจโดยเฉพาะในกลุ่มที่มี ปัญหาการติดสุรา สำหรับการวิจัยในอนาคตเพื่อที่จะตอบคำถามว่า กระบวนการทางความคิดและพฤติกรรมภายนอก ของตำรวจในฐานะปัจเจกได้รับอิทธิพลจากแรงจูงใจภายใน บทบาททางสังคม อัตลักษณ์ของตำรวจ และสถานการณ์ ต่างๆ ทั้งในการดำเนินชีวิตส่วนตัวและในการทำหน้าที่เป็นผู้บังคับใช้กฎหมายหรือไม่อย่างใด
Description
สังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข (มหาวิทยาลัยมหิดล 2556)
Degree Name
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Department
คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
Degree Discipline
สังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข
Degree Grantor(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล