ความชุกของโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะโรคหัวใจและหลอดเลือด
dc.contributor.author | สมชาย ดุษฎีเวทกุล | en_US |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยมหิดล. ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก | en_US |
dc.date.accessioned | 2018-05-02T15:43:00Z | |
dc.date.available | 2018-05-02T15:43:00Z | |
dc.date.created | 2561-05-02 | |
dc.date.issued | 2557 | |
dc.description | การประชุมวิชาการประจำปีศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษกครั้งที่ 2. ณ ห้องประชุมศุนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก ชั้น G ศุนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก มหาวิทยาลัยมหิดล, นครปฐม. 2 เมษายน 2557. หน้า 57 -67 | en_US |
dc.description.abstract | วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความชุกของโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบ (Peripheral arterial disease) ในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงต่อภาวะโรคหัวใจและหลอดเลือดที่แผนกผู้ป่วยนอก ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก มหาวิทยาลัยมหิดล วิธีการดำเนินงานวิจัย: ตรวจ Ankle-Brachial Index (ABI) ในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงต่อภาวะโรคหัวใจและหลอดเลือดที่แผนกผู้ป่วยนอก ณ ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก มหาวิทยาลัยมหิดล ตั้งแต่ 24 พ.ค. 2555 ถึง 30 พ.ค. 2556 เพื่อประเมินว่ามีโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบหรือไม่มีผู้ป่วยเข้าร่วมงานวิจัยทั้งหมด 323 ราย สามารถตรวจ Ankle-Brachial Index (ABI) ได้ผล 319 ราย ผลการวิจัย: ผู้ป่วยทั้งหมดที่เข้าร่วมงานวิจัยจำนวน 323 ราย อายุเฉลี่ย 68.8 + 9.5 ปี โดยเป็นกลุ่มผู้ป่วยที่ยังไม่เป็นโรคหลอดเลือดแดงตีบตัน แต่มีปัจจัยเสี่ยงตั้งแต่ 3 ข้อขึ้นไป (Primary prevention) จำนวน 265 ราย (82%) และเป็นกลุ่มผู้ป่วยที่มีประวัติเป็นโรคหลอดเลือดแดงตีบตันแล้ว (Secondary prevention) จำนวน 58 ราย (18%) พบว่าผู้ป่วยที่มีค่า Ankle-Brachial Index (ABI) < 0.9 ซึ่งบ่งชี้ว่ามีโรคหลอดเลือดแดงที่ขาตีบมี 38 ราย (11.9%) โดยทั้งหมดยังไม่มีอาการแสดงของโรคผู้ป่วยที่มีค่า Cardio-Ankle Vascular Index (CAVI) >9 ซึ่งบ่งชี้ว่ามีภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง (Arteriosclerosis) จำนวน 152 ราย (47.6%) ข้อสรุป: ความชุกของโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบ (Peripheral arterial disease) ในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงต่อภาวะโรคหัวใจและหลอดเลือด เท่ากับ 11.9 % | en_US |
dc.description.abstract | Objective: To evaluate the prevalence of peripheral arterial disease (PAD) in high-risk patients using the ankle-brachial index (ABI). Method: The ankle-brachial index (ABI) was used to measure in 323 high-risk patients (OPD) at Golden Jubilee Medical Center (May 2012–May 2013). Three hundred and nineteen patients were complete ankle-brachial index (ABI) results. The primary outcome was prevalence of PAD (ABI strictly below Result: Three hundred and twenty three patients were enrolled in the study. Mean age of the patients was 68.8 + 9.5 years old. The group with high cardiovascular risk factors (> 3 risk factors) or primary prevention group had 265 patients (82%) and the group with previous history of cardiovascular events or secondary prevention group had 58 patients (18%). Thirty eight (11.9%) patients had ABI <0.9 indicated peripheral arterial disease. All of these patients had no symptom of peripheral arterial disease. One hundred and fifty two (47.6%) patients had CAVI >9 indicated arteriosclerosis. Conclusion: Prevalence of peripheral arterial disease (PAD) was 11.9% in patient with high risk for cardiovascular events. Diagnosis of PAD in primary care using ABI is easily. Undoubtedly better awareness would help preserving individual cardiovascular health and achieve public health goals. Keywords: peripheral arterial disease, ankle-brachial index, high cardiovascular risk. | en_US |
dc.identifier.uri | https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/11212 | |
dc.language.iso | tha | en_US |
dc.rights | มหาวิทยาลัยมหิดล | en_US |
dc.rights.holder | ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก มหาวิทยาลัยมหิดล | en_US |
dc.subject | ความชุกของโรคหลอดเลือดแดง | en_US |
dc.subject | ความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะโรคหัวใจ | en_US |
dc.subject | ภาวะโรคหัวใจและหลอดเลือด | en_US |
dc.subject | peripheral arterial disease | en_US |
dc.subject | ankle-brachial index | en_US |
dc.subject | high cardiovascular risk | en_US |
dc.title | ความชุกของโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะโรคหัวใจและหลอดเลือด | en_US |
dc.title.alternative | Prevalence of Peripheral Arterial Disease in Patient with High Risk for Cardiovascular Events | en_US |
dc.type | Proceeding Article | en_US |
mods.location.physicalLocation | Central Library | |
mods.location.physicalLocation | Siriraj Medical Library Faculty of Medicine Siriraj Hospital | |
mods.location.physicalLocation | Faculty of Physical Therapy, Surasak Srisuk Library | |
mods.location.physicalLocation | Golden Jubilee Medical Center Library | |
mods.location.physicalLocation | Ratchasuda College Library | |
mods.location.physicalLocation | Faculty of Pharmacy Library | |
mods.location.physicalLocation | Vikul Viranivatti Library, Faculty of Medical Technology | |
mods.location.physicalLocation | Mahidol University International College Library | |
mods.location.physicalLocation | ASEAN Institute for Health Development Library | |
mu.identifier.callno | W3 ก482ห ครั้งที่ 2 2557 ฉ.2 [LICL,LISI,LIPT,LIGJ,LIRS,LIPY, LIMT, LIIC, LIAD] |