ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความตั้งใจที่จะไม่สูบบุหรี่ของวัยรุ่นตอนต้นในชุมชนเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา

dc.contributor.advisorทัศนีย์ รวิวรกุล
dc.contributor.advisorสุรินธร กลัมพากร
dc.contributor.advisorดุสิต สุจิรารัตน์. ที่ปรึกษา
dc.contributor.authorจิฬาวัจน์ เลิกนอก
dc.date.accessioned2024-01-13T05:17:12Z
dc.date.available2024-01-13T05:17:12Z
dc.date.copyright2558
dc.date.created2567
dc.date.issued2558
dc.descriptionการพยาบาลสาธารณสุข (มหาวิทยาลัยมหิดล 2558)
dc.description.abstractการวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความตั้งใจที่จะไม่สูบบุหรี่ของวัยรุ่นตอนต้นในชุมชนเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา โดยใช้กรอบแนวคิดทฤษฎีพฤติกรรมตามแผน กลุ่มตัวอย่างเป็นวัยรุ่นตอนต้น เพศชายและ เพศหญิง อายุ 10 - 14 ปี จำนวน 242 คน สุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติทดสอบไคแสควร์ สัมประสิทธ์ิสหสัมพันธ์เพียร์สัน การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน และการวิเคราะห์สมการโครงสร้าง ผลการศึกษา พบว่า รายได้, เจตคติต่อการไม่สูบบุหรี่, การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง และการรับรู้ การควบคุมตนเองต่อการไม่สูบบุหรี่ มีความสัมพันธ์กับความตั้งใจที่จะไม่สูบบุหรี่ (r = -.142, .192, .280, และ .548 ตามลำดับ; p < 0.05) และพบว่าการรับรู้การควบคุมตนเองต่อการไม่สูบบุหรี่, เจตคติต่อการไม่สูบบุหรี่, รายได้ และระดับการศึกษา สามารถทำนายความตั้งใจที่จะไม่สูบบุหรี่ของวัยรุ่นตอนต้นได้ร้อยละ 34.3 ( R2 = 0.343 ) ข้อเสนอแนะจากการศึกษาครั้งนี้ ควรนำผลการศึกษาวิจัยมาพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างความรู้ ความตระหนักเกี่ยวกับโทษและพิษภัยของบุหรี่ และเสริมสร้างเจตคติด้านลบต่อพฤติกรรมการสูบบุหรี่ อีกทั้งยังส่งเสริมการพัฒนาทักษะในการหลีกเลี่ยงพฤติกรรมการสูบบุหรี่ เมื่ออยู่ในสถานการณ์ที่สุ่มเสี่ยงต่อการเกิดพฤติกรรม
dc.description.abstractThis research was a cross-sectional descriptive study aimed to examine factors associated with non-smoking intention among early adolescents in the community by applying the theory of planned behavior. There were two hundred and forty two young adolescents, aged 10 - 14 years old, both males and females, selected by multi-stage random sampling. Data were collected through self-administered questionnaire and data analyses were performed using descriptive statistics, Chi-square test, Pearson's product moment correlation coefficient, stepwise multiple regression analysis and Structural Equation Model. The results of the study revealed that income, attitudes towards non-smoking behavior, subjective norms and perceived behavioral control on non-smoking behavior were associated with non-smoking intention (r = -.142, .192, .280, and .548 respectively p < 0.05). It was also found that perceived behavioral control on non-smoking behavior, attitudes towards non-smoking behavior, income and education showed predictability of 34.3% for non-smoking intention among early adolescent (R2= 0.343). The theory of planned behavior could partially explain non-smoking intention among early adolescents. This finding could guide further research in knowledge promoting programs about the harmful smoking, negative attitude towards smoking behavior and behavioral skills that help to avoid smoking.
dc.format.extentก-ญ, 152 แผ่น : ภาพประกอบ
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.identifier.citationวิทยานิพนธ์ (วท.ม. (การพยาบาลสาธารณสุข))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2558
dc.identifier.urihttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/92645
dc.language.isotha
dc.publisherมหาวิทยาลัยมหิดล. หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล
dc.rightsผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
dc.rights.holderมหาวิทยาลัยมหิดล
dc.subjectบุหรี่
dc.subjectบุหรี่ -- การควบคุม -- ไทย -- นครราชสีมา
dc.subjectวัยรุ่น -- ไทย -- นครราชสีมา
dc.titleปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความตั้งใจที่จะไม่สูบบุหรี่ของวัยรุ่นตอนต้นในชุมชนเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา
dc.title.alternativeFactors associated with non-smoking intention among early adolescents in the community, Muang distrct, Nakornratchasima province
dc.typeMaster Thesis
dcterms.accessRightsopen access
mods.location.urlhttp://mulinet11.li.mahidol.ac.th/e-thesis/2559/cd511/5337523.pdf
thesis.degree.departmentคณะสาธารณสุขศาสตร์
thesis.degree.disciplineการพยาบาลสาธารณสุข
thesis.degree.grantorมหาวิทยาลัยมหิดล
thesis.degree.levelปริญญาโท
thesis.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

Files