พัฒนาการ ลักษณะเฉพาะ และองค์ความรู้ของการขับร้องเพลงไทยสากล
Issued Date
2559
Copyright Date
2559
Resource Type
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
ก-ย, 475 แผ่น : ภาพประกอบ
Access Rights
open access
Rights
ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
Rights Holder(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
วิทยานิพนธ์ (ปร.ด. (ดนตรี))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2559
Suggested Citation
ณัฐธัญ อินทร์คง พัฒนาการ ลักษณะเฉพาะ และองค์ความรู้ของการขับร้องเพลงไทยสากล. วิทยานิพนธ์ (ปร.ด. (ดนตรี))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2559. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/92239
Title
พัฒนาการ ลักษณะเฉพาะ และองค์ความรู้ของการขับร้องเพลงไทยสากล
Alternative Title(s)
Development, characteristics and knowledge of Thai popular singing
Author(s)
Advisor(s)
Abstract
งานวิจัยเรื่องพัฒนาการ ลักษณะเฉพาะ และองค์ความรู้ของการขับร้องเพลงไทยสากล ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยวิธีด้านมานุษยดนตรีวิทยา เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์บุคคลข้อมูลที่มีความรู้ความสามารถด้านการขับร้องเพลงไทยสากล รวมทั้งศึกษาเอกสารและบทเพลงตัวอย่างที่คัดเลือกจากการกำหนดกลุ่มประชากรบทเพลงโดยนักร้องที่มีชื่อเสียง จากนั้นนำข้อมูลทั้งหมดมาทำการตรวจสอบ วิเคราะห์สังเคราะห์ และเรียบเรียงตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ผลวิจัยเรื่องพัฒนาการการขับร้องเพลงของคนไทยจากยุคสยามประเทศ ถึงยุคประชาธิปไตยแบ่งออกเป็น 2 ช่วงคือ (1) การขับร้องเพลงของคนไทยก่อนปี พ.ศ. 2468 พบว่าเหตุการณ์ต่าง ๆ เกี่ยวกับการขับร้องและดนตรีตะวันตกเริ่มต้นจากการขับร้องบทสวดศาสนาคริสต์ การขับร้องในโรงเรียน เพลงคำนับ เพลงสรรเสริญพระบารมี แตรวง วงเครื่องสายฝรั่ง วงดุริยางค์ขนาดใหญ่ และการขับร้องในละครร้อง เหล่านี้คือปัจจัยสำคัญที่นำไปสู่งานเพลงไทยสากล และ (2) การขับร้องเพลงของคนไทยระหว่างปี พ.ศ. 2468 - 2510 พบว่าการขับร้องเพลงไทยสากลปรากฏขึ้นอย่างชัดเจนครั้งแรกในการแสดงละครร้อง และเป็นองค์ประกอบสำคัญของธุรกิจบันเทิง ได้แก่ ภาพยนตร์ไทย และวงดนตรี ผลวิจัยเรื่องการศึกษาลักษณะเฉพาะของการขับร้องเพลงไทยสากลแบ่งช่วงเวลาออกเป็น 5 ทศวรรษระหว่างปี พ.ศ. 2461 - 2510 โดยวิเคราะห์จากนักร้อง 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มละครร้อง กลุ่มภาพยนตร์ไทย กลุ่มนักร้องวงสุนทราภรณ์ (กรมประชาสัมพันธ์) และกลุ่มนักร้องวงดนตรีอื่น ผลการวิจัยนำเสนอใน 9 หัวข้อ ได้แก่ (1) อวัยวะและการหายใจ สำหรับการขับร้องเพลงไทยสากล (2) พื้นฐานของการเปล่งเสียงขับร้อง (3) ความแม่นยำในการเปล่งเสียงขับร้อง (4) การขับร้องเสียงสั่นสะเทือนหรือเสียงลูกคอ (5) การขับร้องเสียงดัง-เบา (6) การขับร้องหางเสียง (7) การขับร้องเพี้ยนเสียงในคำร้อง (8) การขับร้องเสียงเอื้อนในคำร้อง และ (9) การสื่ออารมณ์ในบทเพลง ลักษณะเฉพาะต่าง ๆ มีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง จนเป็นวิธีการขับร้องที่มีเอกลักษณ์เฉพาะในเพลงไทยสากล และกลายเป็นต้นแบบมาจนถึงปัจจุบัน ผลวิจัยเรื่ององค์ความรู้เกี่ยวกับการขับร้องเพลงไทยสากลแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ (1) ประวัติศาสตร์การขับร้องเพลงไทยสากล แสดงให้เห็นเหตุการณ์และบุคคลสำคัญที่เกี่ยวกับการขับร้องเพลงไทยสากล และ (2) การขับร้อง เพลงไทยสากล แสดงให้เห็นถึงลักษณะเฉพาะ และบริบทที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ขั้นตอนการทำงานของอวัยวะสำหรับการขับร้อง ลมหายใจสำหรับการขับร้อง การปั้นรูปปากเพื่อการออกเสียงคำร้องให้ถูกต้องตามหลักภาษาไทย ปัจจัยที่ทำให้เกิดการเอื้อนเสียงในเพลงไทยสากล และศัพท์สังคีตเพลงไทยสากล
A study of the development, characteristics, and knowledge of Thai popular singing was conducted using qualitative ethnomusicology research methodologies. The data was collected by interviewing the appropriate people (who have knowledge and ability of Thai popular singing), documents, and songs from famous singers. Then, the data was examined, analyzed, synthesized, and compiled according to the objectives. The research results of the development of singing of Thai people from Siam to the democratic era were divided into 2 periods: (1) before the year 1925 there were influences from Western singing and music starting from church songs, singing in Christian schools, salute songs, the Thai royal anthem, brass bands, Western string bands, orchestras, and singing in the musical theater. All of these influenced Thai popular songs. And, (2) between 1925 - 1967 Thai popular singing appeared clearly for the first time in the musical theater. And it was an essential factor of the entertainment business, including Thai films and bands. The research results of the study of characteristics of Thai popular singing were divided into 5 decades between year 1918 - 1967 by analyzing 4 singing groups, which consisted of musical theater, Thai film, singers of Suntharaporn band (PRD), and singers of other bands. The characteristics of Thai popular singing were divided into 9 items, which consisted of (1) anatomy and breathing for singing, (2) utterance for good singing, (3) accuracy of singing, (4) vibration, (5) dynamics of singing, (6) tone of voice (7) a slight difference of text, (8) ad libbing, and (9) interpretation and emotional expression. The characteristics changed continuously in each decade until they became unique in Thai popular songs. And they were the models of how to sing until now. The research results of the knowledge of Thai popular singing were divided into 2 parts: (1) the history of Thai popular singing showed the events and people in Thai popular singing, and (2) Thai popular singing showed characteristics and the relevant context including anatomy for Thai popular singing, the breathing for Thai popular singing, clear and accurate pronunciation from the grammar, ad-lib factors in Thai popular singing, and terminology for describing Thai popular singing.
A study of the development, characteristics, and knowledge of Thai popular singing was conducted using qualitative ethnomusicology research methodologies. The data was collected by interviewing the appropriate people (who have knowledge and ability of Thai popular singing), documents, and songs from famous singers. Then, the data was examined, analyzed, synthesized, and compiled according to the objectives. The research results of the development of singing of Thai people from Siam to the democratic era were divided into 2 periods: (1) before the year 1925 there were influences from Western singing and music starting from church songs, singing in Christian schools, salute songs, the Thai royal anthem, brass bands, Western string bands, orchestras, and singing in the musical theater. All of these influenced Thai popular songs. And, (2) between 1925 - 1967 Thai popular singing appeared clearly for the first time in the musical theater. And it was an essential factor of the entertainment business, including Thai films and bands. The research results of the study of characteristics of Thai popular singing were divided into 5 decades between year 1918 - 1967 by analyzing 4 singing groups, which consisted of musical theater, Thai film, singers of Suntharaporn band (PRD), and singers of other bands. The characteristics of Thai popular singing were divided into 9 items, which consisted of (1) anatomy and breathing for singing, (2) utterance for good singing, (3) accuracy of singing, (4) vibration, (5) dynamics of singing, (6) tone of voice (7) a slight difference of text, (8) ad libbing, and (9) interpretation and emotional expression. The characteristics changed continuously in each decade until they became unique in Thai popular songs. And they were the models of how to sing until now. The research results of the knowledge of Thai popular singing were divided into 2 parts: (1) the history of Thai popular singing showed the events and people in Thai popular singing, and (2) Thai popular singing showed characteristics and the relevant context including anatomy for Thai popular singing, the breathing for Thai popular singing, clear and accurate pronunciation from the grammar, ad-lib factors in Thai popular singing, and terminology for describing Thai popular singing.
Description
ดนตรี (มหาวิทยาลัยมหิดล 2559)
Degree Name
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาเอก
Degree Department
วิทยาลัยดุริยางคศิลป์
Degree Discipline
ดนตรี
Degree Grantor(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล