ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเข้ารับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในสตรีกลุ่มเป้าหมาย อายุ 30-60 ปี อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี
Issued Date
2559
Copyright Date
2559
Resource Type
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
ก-ญ, 127 แผ่น : ภาพประกอบ
Access Rights
open access
Rights
ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
Rights Holder(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (สาธารณสุขศาสตร์))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2559
Suggested Citation
นันทิดา จันต๊ะวงค์ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเข้ารับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในสตรีกลุ่มเป้าหมาย อายุ 30-60 ปี อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี. วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (สาธารณสุขศาสตร์))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2559. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/92541
Title
ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเข้ารับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในสตรีกลุ่มเป้าหมาย อายุ 30-60 ปี อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี
Alternative Title(s)
Factors related to receive cervical cancer screening services among women aged 30-60 years in Maung district, Pathumtani province
Author(s)
Advisor(s)
Abstract
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ แบบภาคตัดขวาง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ ปัจจัยเสริม กับการเข้ารับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในสตรีกลุ่มเป้าหมาย อายุ 30 - 60 ปี อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี กลุ่มตัวอย่างสำหรับเก็บข้อมูล คือ สตรี อายุ 30 - 60 ปี มีชื่ออยู่ในทะเบียนราษฎร์ของอำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี อย่างน้อย 1 ปี จำนวน 380 คน โดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Pearson' s Chi - square และ Fisher' s exact test ผลการวิจัยพบว่า สตรีกลุ่มเป้าหมาย อายุ 30 - 60 ปี อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี มีความรู้เรื่องโรคมะเร็งปากมดลูกและการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกอยู่ในระดับต่ำ ( x = 14.60) มีการรับรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูกและการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( x = 140.56) รายด้านพบว่า ด้านการรับรู้ประโยชน์ของการตรวจมะเร็งปากมดลูกมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ( x = 3.80) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ การรับรู้อุปสรรคในการตรวจมะเร็งปากมดลูก ( x = 2.50) มีปัจจัยเอื้อต่อการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( x = 28.68) และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเข้ารับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ อายุ สถานภาพสมรส ประวัติการตั้งครรภ์ การคุมกำเนิด การออกกำลังกาย การได้รับข่าวสารการเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งปากมดลูก การรับรู้ประโยชน์ของการตรวจมะเร็งปากมดลูก การรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูกการรับรู้ความรุนแรงของโรคมะเร็งปากมดลูก แรงสนับสนุนจากบุคคลในครอบครัว แรงสนับสนุนจากบุคคลภายนอก ครอบครัว และการได้รับข้อมูลข่าวสารจากแหล่งต่าง ๆ (p-value <0.001, <0.001, 0.002, <0.001, 0.024, 0.001, 0.001, 0.048, <0.001, <0.001, 0.003 และ <0.001 ตามลำดับ) ข้อเสนอแนะจากการวิจัย ควรสร้างความตระหนักให้กับกลุ่มเป้าหมาย และบุคคลที่มีส่วนสนับสนุนกลุ่มเป้าหมาย เช่น สามี บุตร บุคคลในชุมชน ในประเด็นที่สำคัญและใหม่ ๆ เกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูก และการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกอย่างต่อเนื่อง ผ่านเจ้าหน้าที่สาธารณสุข อาสาสมัครสาธารณสุข บุคคลในชุมชน บุคคลในครอบครัว สื่อออนไลน์เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้และการรับรู้ที่เพิ่มขึ้น
The objective of this cross-sectional survey research was to identify factors related to participation in cervical cancer screening among women aged between 30 to 60 years old in Muang District, Pathumthani Province. Research samples in this study comprised of 380 women aged between 30 to 60 years old, who were registered for at least one year in the civil registration of Muang District, Pathumthani Province. This research study is a quantitative study, which used the following statistics for analysis: percentage, average, standard deviation, Pearson's chi-squared test, and Fisher's exact test. The finding in this research indicates a low knowledge (x̄ = 14.60) and moderate perception (x̄ = 140.56) about cervical cancer and cervical cancer screening among the samples. The results of this research also indicates that the perceived benefits of cervical cancer screening has the highest average (x̄ = 3.80) with the lowest being the perceived barriers of cervical cancer screening (x̄ = 2.50). Factors contributing to participation in cervical cancer screening for the study samples is at an average (x̄ = 28.68). Factors relating to participation in cervical cancer screening, which show a statistical significance include age, marital status, pregnancy record, contraception, exercise, news of death from cervical cancer, perceived benefits of cervical cancer screening, perceived susceptibility to cervical cancer, perceived severity of cervical cancer, family reinforcement, external reinforcement, and news of cervical cancer from various sources (p-value <0.001, <0.001, 0.002, <0.001, 0.024, 0.001, 0.001, 0.048, <0.001, <0.001, 0.003 and <0.001 respectively) Recommended actions based on the research results are for public health administrators, volunteers, community and family members to continuously raise awareness of any important and new knowledge relating to cervical cancer and cervical cancer screening amongst the target group as well as all stakeholders such as husbands, children and peo
The objective of this cross-sectional survey research was to identify factors related to participation in cervical cancer screening among women aged between 30 to 60 years old in Muang District, Pathumthani Province. Research samples in this study comprised of 380 women aged between 30 to 60 years old, who were registered for at least one year in the civil registration of Muang District, Pathumthani Province. This research study is a quantitative study, which used the following statistics for analysis: percentage, average, standard deviation, Pearson's chi-squared test, and Fisher's exact test. The finding in this research indicates a low knowledge (x̄ = 14.60) and moderate perception (x̄ = 140.56) about cervical cancer and cervical cancer screening among the samples. The results of this research also indicates that the perceived benefits of cervical cancer screening has the highest average (x̄ = 3.80) with the lowest being the perceived barriers of cervical cancer screening (x̄ = 2.50). Factors contributing to participation in cervical cancer screening for the study samples is at an average (x̄ = 28.68). Factors relating to participation in cervical cancer screening, which show a statistical significance include age, marital status, pregnancy record, contraception, exercise, news of death from cervical cancer, perceived benefits of cervical cancer screening, perceived susceptibility to cervical cancer, perceived severity of cervical cancer, family reinforcement, external reinforcement, and news of cervical cancer from various sources (p-value <0.001, <0.001, 0.002, <0.001, 0.024, 0.001, 0.001, 0.048, <0.001, <0.001, 0.003 and <0.001 respectively) Recommended actions based on the research results are for public health administrators, volunteers, community and family members to continuously raise awareness of any important and new knowledge relating to cervical cancer and cervical cancer screening amongst the target group as well as all stakeholders such as husbands, children and peo
Description
สาธารณสุขศาสตร์ (มหาวิทยาลัยมหิดล 2559)
Degree Name
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Department
คณะสาธารณสุขศาสตร์
Degree Discipline
สาธารณสุขศาสตร์
Degree Grantor(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล