การศึกษารูปแบบทางอนุญาโตตุลาการ : คดีข้อพิพาททางการแพทย์
dc.contributor.advisor | ฉัตรสุมน พฤฒิภิญโญ | |
dc.contributor.advisor | สุธี อยู่สถาพร | |
dc.contributor.advisor | เชษฐ รัชดาพรรณาธิกุล | |
dc.contributor.author | ศรีรุ้ง ทองพรรณ | |
dc.date.accessioned | 2024-01-17T01:57:58Z | |
dc.date.available | 2024-01-17T01:57:58Z | |
dc.date.copyright | 2554 | |
dc.date.created | 2567 | |
dc.date.issued | 2554 | |
dc.description | บริหารกฎหมายการแพทย์และสาธารณสุข (มหาวิทยาลัยมหิดล 2556) | |
dc.description.abstract | การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาดังนี้ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดการนำ กระบวนการอนุญาโตตุลาการมาใช้ในทางการแพทย์ 2) เพื่อเสนอรูปแบบของกระบวนการอนุญาโตตุลาการที่ ควรนำมาใช้ในทางการแพทย์ โดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มตัวอย่างในองค์กร 3 ฝ่ายซึ่งเป็นผู้ที่มีส่วน เกี่ยวข้องเมื่อเกิดกรณีพิพาททางการแพทย์ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้คือ แนวคิดการนำกระบวนการอนุญาโตตุลาการมาใช้ในทางการแพทย์ ของตัวแทนองค์กรผู้บริหารโรงพยาบาลและแพทยสภากับตัวแทนองค์กรนักกฎหมายส่วนใหญ่มีความคิดเห็น ว่าเป็นทางเลือกที่ดีอีกทางหนึ่งที่สามารถนำมาใช้ได้ สำหรับตัวแทนองค์กรผู้บริโภคส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยกับ การที่จะนำการอนุญาโตตุลาการมาใช้ในทางการแพทย์ ต้องให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องของลักษณะ หลักการ และ กฎหมายอนุญาโตตุลาการ ให้กับผู้ให้บริการและผู้รับบริการทางการแพทย์ รวมถึงประชาชนทั่วไปก่อนที่จะ นำมาใช้การระงับข้อพิพาททางการแพทย์โดยใช้กระบวนการอนุญาโตตุลาการควรใช้ในรูปแบบของการมี สถาบันในการช่วยดำเนินการ โดยอาจมีการจัดตั้งสถาบันอนุญาโตตุลาการทางการแพทย์ มีการออกกฎหมาย รองรับ และควรมีการกาหนดข้อบังคับของสถาบันซึ่งควรถูกกากับดูแลโดยสำนักงานศาลยุติธรรมและแพทย สภา คุณสมบัติของอนุญาโตตุลาการทางการแพทย์ควรเป็นผู้ที่ได้รับการยอมรับจากคู่กรณีทั้งสองฝ่าย มีความ เป็นกลาง ไม่มีประวัติเสียทางด้านคุณธรรมและควรเป็นแพทย์ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในสาขาเรื่องที่พิพาท เป็นผู้ที่มีความรู้ทางด้านกฎหมายและในองค์คณะของอนุญาโตตุลาการต้องประกอบด้วยบุคคลที่อยู่นอก วิชาชีพที่มีความเข้าใจในบริบททางการแพทย์และสาธารณสุขรวมถึงเรื่องสิทธิบุคคล ข้อเสนอแนะสำหรับการศึกษาในครั้งนี้คือควรมีการให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องของการ อนุญาโตตุลาการ มีนโยบายที่ชัดเจน มีการจัดตั้งสถาบันอนุญาโตตุลาการทางการแพทย์และพิจารณาออก ข้อบังคับเพื่อใช้กับการอนุญาโตตุลาการทางการแพทย์โดยเฉพาะเพื่อให้เกิดความเหมาะสมในบริบทของทาง การแพทย์และสาธารณสุข | |
dc.format.extent | ก-ฌ, 258 แผ่น : ภาพประกอบ | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.identifier.citation | วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (บริหารกฎหมายการแพทย์และสาธารณสุข))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2556 | |
dc.identifier.uri | https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/92997 | |
dc.language.iso | tha | |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยมหิดล. หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล | |
dc.rights | ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า | |
dc.rights.holder | มหาวิทยาลัยมหิดล | |
dc.subject | การระงับข้อพิพาท | |
dc.subject | อนุญาโตตุลาการ | |
dc.title | การศึกษารูปแบบทางอนุญาโตตุลาการ : คดีข้อพิพาททางการแพทย์ | |
dc.title.alternative | A study on arbitration models : a case of medical dispute | |
dc.type | Master Thesis | |
dcterms.accessRights | open access | |
mods.location.url | http://mulinet11.li.mahidol.ac.th/e-thesis/2555/cd472/5437307.pdf | |
thesis.degree.department | คณะสาธารณสุขศาสตร์ | |
thesis.degree.discipline | บริหารกฎหมายการแพทย์และสาธารณสุข | |
thesis.degree.grantor | มหาวิทยาลัยมหิดล | |
thesis.degree.level | ปริญญาโท | |
thesis.degree.name | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |